การลงนามข้อตกลงอาร์เทมิส (Artemis Accords) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบข้อตกลง Artemis Accords) ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย (ข้อตกลงฯ)
2. เห็นชอบการลงนามข้อตกลงฯ โดยให้ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงฯ และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทําหนังสือมอบอํานาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม
3. มอบหมายให้สํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) เป็นหน่วยงานปฏิบัติ (Implementor) และหน่วยงานหลักแห่งชาติ (National Focal Point) ของประเทศไทยในการดําเนินการใดๆ ในข้อตกลงฯ และกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง และให้ สทอภ. พิจารณากลั่นกรองโครงการของหน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงานที่จะดําเนินการในโครงการอาร์เทมิส (Artemis Program) ในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ค้นคว้า วิจัย และดําเนินการอื่นที่เกี่ยวข้อง เสนอคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) พิจารณาก่อนการดําเนินการต่อไป
สาระสำคัญ
ข้อตกลงอาร์เทมิสมีวัตถุประสงค์และขอบเขตเพื่อสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันผ่านชุดหลักการ แนวปฏิบัติ และแนวทางปฏิบัติเพื่อยกระดับการกํากับดูแลการสํารวจและการใช้อวกาศ โดยพลเรือนด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาโปรแกรมอาร์เทมิส แนวปฏิบัติในการดําเนินกิจกรรมในอวกาศ และส่งเสริมการใช้อวกาศอย่างยั่งยืนและเป็นประโยชน์สําหรับมวลมนุษยชาติ ทั้งนี้ การลงนามในข้อตกลงอาร์เทมิส จะช่วยยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอวกาศในประเทศไทยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานด้านเศรษฐกิจอวกาศ และสามารถดําเนินธุรกิจอวกาศ กับหน่วยงานและภาคเอกชนในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งยกระดับความร่วมมือด้านอวกาศ ระหว่างสหรัฐอเมริกากับประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และเป็นการแสดงออกว่าประเทศไทยยึดมั่นในหลักการสํารวจอวกาศอย่างปลอดภัยและโปร่งใส โดยมีเป้าหมายทางสันติและเป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศด้านอวกาศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับบทบาทของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศและเครือข่ายพหุภาคีต่างๆ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 29 ตุลาคม 2567
10763