ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้
สาระสำคัญ
ร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 (เช่น มอร์ฟีน โคคาอีน โคเดอีน หรือฝิ่นยา) หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 (เช่น Phentermine Zolpidem Ketamine) กำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การออกใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การแก้ไขรายการในใบอนุญาต และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 และวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
รายละเอียด |
|
1. นิยาม |
||
หน่วยกระจายยา |
● หมายความว่า หน่วยงานของรัฐ หรือสภากาชาดไทยที่ได้รับอนุญาตเป็นหน่วยกระจายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ให้สถานพยาบาลอื่นที่เป็นผู้รับอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ในเครือข่ายเดียวกันและสังกัดส่วนราชการเดียวกัน หรือในสังกัดสภากาชาดไทย |
|
2. ผู้มีสิทธิขออนุญาต |
||
2.1 วัตถุประสงค์ในการขออนุญาต |
● การรักษาหรือป้องกันโรคให้แก่ผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยในทางการแพทย์ ● การเป็นหน่วยกระจายยา ● การวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ ● การป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด |
|
2.2 คุณสมบัติผู้ขออนุญาต |
● เป็นหน่วยงานของรัฐ ● เป็นสภากาชาดไทย ● เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล หรือเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานพยาบาลสัตว์ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ โดยต้องจัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งที่เป็นผู้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล หรือกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ เป็นผู้ดำเนินการตามใบอนุญาต ● ผู้มีหน้าที่ในการตรวจวิเคราะห์หรือการศึกษาวิจัยทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ |
|
3. กระบวนการขออนุญาต |
||
3.1 การยื่นคำขออนุญาต |
● การยื่นคำขออนุญาตจะใช้ข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานที่แตกต่างกันไปตามประเภทของบุคคลที่เป็นผู้ขอรับใบอนุญาต โดยให้ดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก |
|
3.2 ระยะเวลาการพิจารณาคำขออนุญาต |
● ให้ผู้อนุญาตตรวจสอบคำขอรับใบอนุญาต หากไม่ถูกต้องหรือขาดข้อมูลเอกสาร หรือหลักฐานใด ให้แจ้งผู้ขออนุญาตทราบทันทีเพื่อให้แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด และหากเอกสารครบถ้วนถูกต้องแล้วให้ออกหลักฐานการรับคำขอให้แก่ผู้ขออนุญาต และแจ้งให้ผู้นั้นชำระค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนภายในเวลาที่กำหนด (เป็นค่าธรรมเนียมสำหรับการดำเนินการพิจารณาคำขอ ไม่ใช่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต) ● ผู้ขออนุญาตชำระค่าธรรมเนียมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหรือค่าตอบแทนแล้วให้ผู้อนุญาตพิจารณาคำขอดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวครบถ้วน (กรณีพิจารณาออกใบอนุญาตให้จำหน่ายเกินปริมาณ จะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวครบถ้วน) ● ในกรณีที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งอนุญาต ให้ผู้อนุญาตแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งอนุญาต เมื่อผู้ขออนุญาตได้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตแล้ว ให้ผู้อนุญาตออกใบอนุญาตให้ผู้ขออนุญาต ● ในกรณีที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต พร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ |
|
4. สิทธิและหน้าที่ของผู้รับอนุญาต |
||
4.1 การขอใบแทนใบอนุญาตการต่ออายุใบอนุญาตและการแก้ไขรายการในใบอนุญาต |
● ในกรณีที่ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 สูญหาย ถูกทำลาย หรือเสียหายในสาระสำคัญ ให้ผู้รับอนุญาต ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามแบบคำขอรับใบแทนใบอนุญาต ● ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือใบอนุญาตจำหน่าย วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่สอง นับจากปีที่ออกใบอนุญาต หากผู้รับอนุญาตประสงค์จะขอต่อใบอนุญาตให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ พร้อมเอกสารตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอ ต่อใบอนุญาต เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่า ผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่อใบอนุญาตนั้น ● ผู้รับอนุญาตประสงค์จะแก้ไขรายการในใบอนุญาตให้ยื่นคำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้น พร้อมด้วยข้อมูล เอกสารหรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในแบบคำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาต |
|
4.2 หน้าที่ของผู้รับอนุญาต |
● จัดให้มีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบ วิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง แล้วแต่กรณี เพื่อสั่งจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ให้เฉพาะผู้ป่วยหรือสัตว์ป่วยซึ่งตนให้การรักษา ● จำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามที่ได้รับอนุญาต และเป็นยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้า ● ดูแลให้มีฉลากและเอกสารกำกับยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือ วัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ซึ่งมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ผู้รับอนุญาตผลิตหรือนำเข้าจัดไว้ ● จัดให้มีการเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 แยกจากยาหรือวัตถุอื่น ● จัดให้มีการทำบัญชีเกี่ยวกับการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 แยกจากยาหรือวัตถุอื่น ● เสนอรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่ได้รับอนุญาตต่อผู้อนุญาตเป็นรายเดือนภายในระยะเวลา 1 เดือนนับแต่วันสิ้นเดือน ● จัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 สูญหายหรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบ ● กระจายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ตามที่ได้รับอนุญาต และเป็นยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตหรือนำเข้า |
|
5. อัตราค่าธรรมเนียม |
||
● กำหนดให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ดังนี้ (1) ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 ฉบับละ 2,000 บาท (2) ใบอนุญาตจำหน่ายวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ฉบับละ 2,000 บาท (3) ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 เกินปริมาณที่รัฐมนตรีกำหนด ฉบับละ 500 บาท (4) การต่ออายุใบอนุญาต เท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้น ● กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมกรณีผู้ขออนุญาตเป็นราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นและสภากาชาดไทย รวมทั้งองค์การมหาชนและหน่วยงานในกำกับของรัฐที่ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข |
||
6. บทเฉพาะกาล |
||
● กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกตามกฎกระทรวงเดิมใช้ได้ต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่สอง ที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤศจิกายน 2567
11115