วว. รับรางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี 2567
พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ประกาศรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567” พร้อมมอบรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชน ประจำปี 2567 (Human Rights Awards 2024) ให้แก่ ดร.พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริหาร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้แทนรับมอบรางวัลองค์กรต้นแบบต้นสิทธิมนุษยชน ประเภทองค์กรรัฐวิสาหกิจ ระดับดีเด่น โดยมีคณะผู้บริหารและบุคลากร วว. ร่วมแสดงความยินดีด้วย ในวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ
ทั้งนี้ วว. ได้รับรางวัลดีเด่นองค์กรต้นแบบสิทธิมนุษยชน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และเป็น 1 ใน 10 รัฐวิสาหกิจที่ได้รับรางวัลดังกล่าว โดยเป็นรางวัลที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มอบให้องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคธุรกิจ วิสาหกิจเพื่อสังคม และภาคประชาสังคม ที่ดำเนินการตามภารกิจ โดยเคารพในหลักการสิทธิมนุษยชน มีผลการดำเนินงานโดดเด่น ในด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนให้กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกมิติ รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับองค์กรอื่นๆ ในการเสริมสร้างสังคมแห่งการเคารพในหลักการสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน โดยในปี 2567 มีหน่วยงานได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 97 องค์กร ได้แก่ องค์กรภาครัฐ จำนวน 45 องค์กร องค์กรรัฐวิสาหกิจ จำนวน 10 องค์กร องค์กร ภาคธุรกิจ จำนวน 40 องค์กร และองค์กรภาคประชาสังคม จำนวน 2 องค์กร
อนึ่ง สถาบันวิจัยวิหยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย มีอุดมการณ์ในการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยในด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน วว. ได้ปฏิบัติตามกฎหมายและหลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษชซน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights : UNGPs) อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนขึ้น เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในทุกกิจกรรมการดำเนินงานของ วว. ตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ดังนี้
คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และลูกจ้าง วว. ต้องหนักถึงความสำคัญและเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในทุกด้านของบุคคลทุกคน ตลอดจนสังคมและชุมชน ตามกฎหมายและหลักการชี้แนะขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน โดยรวมถึง
1) การสนับสนุนส่งเสริมสิทธิมนุษยชนเพื่อให้เกิดการปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชน
2) การหลีกเลี่ยงการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการคุกคามทางเพศ
3) การเฝ้าระวังเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน ไม่ละเลย หรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน
4) การสื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงกำหนดแนวทางการดำเนินงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน ประกอบด้วย ลูกค้า พนักงาน ผู้ส่งมอบสินค้าและบริการ (Suppier) คู่ค้า และคู่ความร่วมมือ (Partner) เพื่อให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรม เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและปฏิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชน
12044