หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov พิชัย ชุณหวชิร

แถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน + 3 ครั้งที่ 27

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน + 3 (Joint Statement of the 27th ASEAN + 3 Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting) (การประชุม AFMGM + 3) ครั้งที่ 27 (แถลงการณ์ร่วมฯ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว กค. จะได้ส่งหนังสือถึงประธานร่วม ในการประชุม AFMGM + 3 ครั้งที่ 27 เพื่อแจ้งรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ ต่อไป

          สาระสําคัญของเรื่อง

          แถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน + 3 ในการเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงิน ผ่านโครงสร้างความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค

          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงินสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ในฐานะประธานร่วมกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเศรษฐกิจสาธารณรัฐเกาหลีในการประชุม AFMGM + 3 ครั้งที่ 27 ได้มีหนังสือเชิญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวในวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ เมืองทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมด้วยแล้ว โดยมีสาระสําคัญ เช่น

          1) การพัฒนาและแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค

              (1) เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน + 3 ในปี 2566 เติบโตขึ้น ร้อยละ 4.3 (ในปี 2565 เติบโตขึ้นร้อยละ 3.2) โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศ และเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งในปี 2567 คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 4.5 ก่อนที่จะชะลอตัวลง เป็นร้อยละ 4.2 ในปี 2568

              (2) ในส่วนของแนวโน้มระยะสั้นสําหรับอาเซียน + 3 อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงต่างๆ เช่น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์โลกที่สูงขึ้น และการชะลอตัว ของการเติบโตของคู่ค้ารายใหญ่

              (3) นโยบายการเงินของอาเซียน + 3 ควรคงความเข้มงวดไว้โดยคํานึงถึงความเสี่ยงด้านบวกของอัตราเงินเฟ้อที่ยังคงมีอยู่ รวมถึงการปฏิรูปโครงสร้างการลงทุนด้านการเพิ่มผลผลิตและความยืดหยุ่นจะมีความสําคัญในการปลดล็อกศักยภาพการเติบโตและตอบสนองต่อความท้าทายเชิงโครงสร้างที่รออยู่ข้างหน้า

          2) การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาค อาทิ (1) ทิศทางการดําเนินการในอนาคตของโครงสร้างความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค (2) มาตรการ CMIM* (3) สํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน + 3 พัฒนากลยุทธ์ความช่วยเหลือทางวิชาการและกลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อให้การดำเนินงานและการจัดการเชิงสถาบันสอดคล้องกับการดำเนินการตามทิศทางเชิงยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573 ได้ดียิ่งขึ้น (4) มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (5) การจัดหาเงินทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ 

          3) ข้อริเริ่มภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียน +3 อาทิ เสริมสร้างและขยายความร่วมมือทางการเงินของอาเซียน+3 รวมถึงความก้าวหน้าของการดำเนินการโดยคณะทำงาน เช่น รายงานร่วมระหว่างประธานธนาคารพัฒนาเอเชียและอาเซียน +3 เรื่องการฟื้นฟูวิธีการทางการเงินสำหรับโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและทนทานในอาเซียน + 3 และการจัดคลินิกการเงินนวัตกรรมของอาเซียนเพื่อสิ่งแวดล้อมในหัวข้อ อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและทนทานในอาเซียน รวมถึงกรอบการกำกับดูแลเทคโนโลยีทางด้านการเงิน [Financial Technology (Fintech)] ระดับภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างการรวมการเงินผ่านการกระจายเทคโนโลยีทางด้านการเงินในภูมิภาค

–––––––––––––––––––––––––

* มาตรการ CMIM เป็นความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน +3 ในการพัฒนากลไกความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาคเพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากปัญหาดุลการชำระเงินและการขาดสภาพคล่องของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศในระยะสั้น และเป็นส่วนเสริมความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund (IMF)

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 29 ตุลาคม 2567

 

 

10765

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX


TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!