ไทยถกสมาชิกอาเซียน วางกรอบทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ปี 69-73
กรมทรัพย์สินทางปัญญานำทีมประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน (AWGIPC) ครั้งที่ 74 ที่ สปป.ลาว เดินหน้าหารือสมาชิกอาเซียนจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน ปี 69-73 แทนฉบับเดิมจะหมดอายุในปี 68 ที่จะถึงนี้ เผยจะให้ความสำคัญกับการสร้างกฎระเบียบทันการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกัน ส่งเสริมใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เคารพสิทธิ์ และส่งเสริมการใช้เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
น.ส.นุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้นำทีมประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน (ASEAN Working Group on Intellectual Property Cooperation : AWGIPC) ครั้งที่ 74 ณ เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว เพื่อหารือประเทศสมาชิกอาเซียนวางแนวทางการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน พ.ศ.2569–2573 ให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการในอาเซียนและนอกอาเซียน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันพัฒนาการดำเนินการยกระดับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาคมาโดยตลอดมา ตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียนฉบับเก่า ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2568 ที่จะถึงนี้
สำหรับ แผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน พ.ศ.2569-2573 คณะทำงาน AWGIPC ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการเชิงกลยุทธ์ จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1.เสริมสร้างประสิทธิภาพกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 2.ประสานกรอบกฎเกณฑ์ให้มีความสอดคล้องกัน และผลักดันแพลตฟอร์มและสถาบันด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในระดับภูมิภาค 3.ส่งเสริมการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ 4.ส่งเสริมการเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา 5.ส่งเสริมการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
โดยประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการผลักดันงานด้านลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปกรรม วรรณกรรม ดนตรีกรรม สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการนำซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศมากระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนภายในประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ AWGIPC ร่วมมีบทบาทเพิ่มเติมในเวทีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเวทีความปลอดภัยด้านอาหาร การแพทย์แผนโบราณ ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์และความหลากหลายทางชีวภาพ
นอกจากนี้ สมาชิกอาเซียนยังได้ประชุมหารือกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) ในการพัฒนา IP Portal และ IP Register ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมความคืบหน้าการดำเนินการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน และสถิติการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศต่างๆ
รวมไปถึงได้หารือกับคู่เจรจาของอาเซียน อาทิ สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสหภาพยุโรป (EUIPO) ถึงแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตรออกแบบ และการส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในเวทีโลก ทั้งนี้ ไทยจะได้เป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงาน AWGIPC ครั้งที่ 76 ในช่วงเดือน ส.ค.2568 ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการแสดงศักยภาพของวัฒนธรรมไทยไปสู่สายตานานาชาติ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา นำทีมวางแผนยกระดับความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน พร้อมผลักดันนโยบายสร้างมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
เมื่อวันที่ 16 – 18 ธันวาคม 2567 นางสาวนุสรา กาญจนกูล อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา นำทีมประเทศไทยร่วมประชุมคณะทำงานว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน (ASEAN Working Group on Intellectual Property Cooperation: AWGIPC) ครั้งที่ 74 ณ เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อหารือประเทศสมาชิกอาเซียนวางแนวทางการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ ด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน พ.ศ. 2569 – 2573
นางสาวนุสรา กาญจนกูล เปิดเผยว่า “การประชุม AWGIPC เป็นการประชุมระดับหัวหน้าสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน เพื่อร่วมพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาคอาเซียนให้ตอบโจทย์ความต้อการของผู้ประกอบการไทย อาเซียนและต่างชาตินอกอาเซียน
โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันพัฒนาการดำเนินการยกระดับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในภูมิภาคตลอดมา ซึ่งแผนปฏิบั
นางสาวนุสรา กล่าวเพิ่มเติมว่า “สำหรับแผนปฏิบัติการด้านทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน พ.ศ. 2569 – 2573 คณะทำงาน AWGIPC ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการเชิงกลยุทธ์ จำนวน 5 ด้าน ดังนี้ (1) เสริมสร้างประสิทธิภาพกฎระเบียบด้านทรัพย์สินทางปัญญาให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (2) ประสานกรอบกฎเกณฑ์ให้มีความสอดคล้องกัน
และผลักดันแพลตฟอร์มและสถาบันด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในระดับภูมิภาค(3) ส่งเสริมการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (4) ส่งเสริมการเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (5) ส่งเสริมการใช้สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
โดยประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการนำทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการผลักดันงานด้านลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นผลงานศิลปกรรม วรรณกรรม ดนตรีกรรม สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการนำซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศมากระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียนภายในประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนให้ AWGIPC ร่วมมีบทบาทเพิ่มเติมในเวทีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเวทีความปลอดภัยด้านอาหาร การแพทย์แผนโบราณ ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์และความหลากหลายทางชีวภาพ”
“ในโอกาสนี้ยังได้ประชุมหารือกับองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization: WIPO) ในการพัฒนา IP Portal และ IP Register ซึ่งเป็นเว็บไซต์รวบรวมความคืบหน้าการดำเนินการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน และสถิติการรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศต่างๆ
รวมไปถึงได้หารือกับคู่เจรจาของอาเซียน อาทิ สำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาสหภาพยุโรป (European Union Intellectual Property Office: EUIPO) ถึงแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้าและสิทธิบัตรออกแบบ และการส่งเสริมสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคอาเซียนให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในเวทีโลก
นอกจากนี้ เป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพการประชุมคณะทำงาน AWGIPC ครั้งที่ 76 ในช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2568 ซึ่งเป็นโอกาสอันดีในการแสดงศักยภาพของวัฒนธรรมไทยไปสู่สายตานานาชาติ” นางสาวนุสรา กล่าวทิ้งท้าย