หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov แพทองธาร11


ร่างคำมั่นของประเทศไทยสำหรับการประชุมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ ครั้งที่ 34

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างคำมั่นของประเทศไทยสำหรับการประชุมกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Conference of the Red Cross and Red Crescent: ICRCRC) ครั้งที่ 34 (การประชุม ICRCRC) ระหว่างวันที่ 28 – 31 ตุลาคม 2567 ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส (สวิตเซอร์แลนด์) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้ก่อนมีการประกาศคำมั่น ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง รวมทั้งให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ซึ่งเป็นผู้แทนจาก กต. ประกาศคำมั่นดังกล่าวของไทยในการประชุม ICRCRC ครั้งที่ 34 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. ไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1949 และได้ภาคยานุวัติอนุสัญญา 4 ฉบับ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) ซึ่งอนุสัญญาดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อคุ้มครองผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยในสงคราม รวมถึงเชลยศึกและบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม ประกอบด้วย (1) อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น (2) อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเล ซึ่งบาดเจ็บ ป่วยไข้ และเรืออับปาง มีสภาวะดีขึ้น (3) อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก และ (4) อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม (มีพระราชบัญญัติบังคับการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก ลงวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติกาชาด พ.ศ. 2499 เป็นกฎหมายอนุวัติการ)

          2. การประชุม ICRCRC มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามและแลกเปลี่ยนความเห็นและพัฒนาการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและร่วมยืนยันเจตนารมณ์ในการส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ (International Humanitarian Law: IHL) โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุก 4 ปี ซึ่งผู้เข้าร่วมประกอบด้วย (1) รัฐภาคีอนุสัญญาเจนีวา 196 ประเทศ รวมถึงไทย (2) คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross: ICRC) (3) สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of Red Cross and Red Crescent Societies: IFRC) และ (4) สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงของแต่ละประเทศ

          3. การประชุม ICRCRC ครั้งที่ 34 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 – 31 ตุลาคม 2567 ณ นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหัวข้อหลักคือ “Navigate Uncertainty – Strengthen Humanity” (การขับเคลื่อนไปข้างหน้าท่ามกลางความไม่แน่นอน - การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับมวลมนุษยชาติ) โดยมี 3 หัวข้อย่อย ดังนี้

 

หัวข้อย่อย

 

คำแปล

1. Building a Global Culture of Respect for

International Humanitarian Law

 

การสร้างวัฒนธรรมในการเคารพกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศในระดับโลก

2. Standing by our Fundamental Principles

in responding to humanitarian needs and risks

 

การยืนหยัดในหลักการพื้นฐานในการตอบสนองต่อความต้องการและความเสี่ยงทางมนุษยธรรม

3. Enabling sustainable, locally-led action

 

การส่งเสริมการดำเนินการที่นำโดยชุมชนท้องถิ่นที่ยั่งยืน

 

          3. การประชุม ICRCRC ครั้งนี้ เปิดให้ผู้เข้าร่วมประกาศคำมั่นเพื่อสะท้อนความมุ่งมั่นหรือแผนปฏิบัติการของตนเองและไทยจะมีการประกาศคำมั่นฯ เพื่อแสดงจุดยืนและสะท้อนถึงการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยร่างประกาศคำมั่นฯ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ด้านที่ 2 สาธารณสุข ด้านที่ 3 การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และด้านที่ 4 อาสาสมัคร 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 22 ตุลาคม 2567

 

 

10609

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!