หมวดหมู่: กรมสรรพากร

ปิ่นสาย สุรัสวดี


(MNEs)นิติบุคคลข้ามชาติ มีรายได้ไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโร พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ด้วยกระทรวงการคลังโดยกรมสรรพากรได้เสนอร่างพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดดังกล่าวเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2567 บัดนี้ พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

โดยจะมีผลใช้บังคับ แก่นิติบุคคลข้ามชาติ (Multinational Enterprises (MNEs)) ขนาดใหญ่ที่มีรายได้ไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโร สำหรับ รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป

การตราพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรักษาสิทธิในการจัดเก็บภาษี อันเป็นการรักษาประโยชน์แห่งชาติ หากประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่ม จะสูญเสียรายได้ภาษีส่วนเพิ่มที่ควรจัดเก็บได้ให้แก่ประเทศอื่นที่มีกฎหมายจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มจนกว่าประเทศไทยจะมีกฎหมายดังกล่าว

ซึ่งประเทศที่มีกฎหมายดังกล่าวใช้บังคับแล้วตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2567 มี 28 ประเทศ เช่น กรีซ เกาหลีใต้ แคนาดา ญี่ปุ่น เดนมาร์ก ตุรกี เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ ฝรั่งเศส ฟินแลนด์ เยอรมัน สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย อิตาลี ไอร์แลนด์ เวียดนาม

และประเทศที่คาดว่า จะมีกฎหมายใช้บังคับตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2568 เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮ่องกง พระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2567 นี้ใช้บังคับเฉพาะกลุ่ม MNEs ขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยไม่ว่ากลุ่ม MNEs ของไทยที่ลงทุนในต่างประเทศหรือกลุ่ม MNEs ของต่างประเทศที่ลงทุนในประเทศไทย ที่มีรายได้ตามงบการเงินรวม (Consolidated Financial Statements) ของบริษัทแม่ลำดับสูงสุดไม่น้อยกว่า 750 ล้านยูโรอย่างน้อย 2 ใน 4 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนหน้ารอบระยะเวลาบัญชีที่พิจารณาหน้าที่การเสียภาษีส่วนเพิ่ม

โดยให้เสียภาษีขั้นต่ำทั่วโลก (Global Minimum Tax) ในอัตราที่กำหนด เพื่อจำกัดการแข่งขัน ทางภาษี ทั้งนี้ กรมสรรพากรได้ยกร่างพระราชกำหนดภาษีส่วนเพิ่มตามแนวทางมาตรฐานที่ OECD จัดทำขึ้นการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่มของประเทศไทยจึงเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่มของนานาประเทศ อันเป็นการลดภาระการปฏิบัติตามกฎหมายให้แก่กลุ่ม MNEs ที่ลงทุนในประเทศไทย

นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า “การจัดเก็บภาษีส่วนเพิ่มจะเป็นประโยชน์แก่การส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทยบนพื้นฐานของความยั่งยืนทางการคลัง หลังจากนี้กรมสรรพากรจะเสนอกฎหมายลำดับรองกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ตามแนวทางมาตรฐานที่ OECD กำหนด สำหรับวิธีการยื่นแบบแสดงรายการภาษี การชำระภาษี การยื่น GloBE Information Return และการแจ้งข้อมูลนั้น

กรมสรรพากรจะอำนวยความสะดวกให้ดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด และเพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีส่วนเพิ่ม กรมสรรพากรจะจัดสัมมนาและจัดทำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) สร้างความรู้และความเข้าใจให้แก่ผู้เสียภาษีและผู้เกี่ยวข้อง เช่น ที่ปรึกษาภาษีและผู้สอบบัญชี จึงขอให้ติดตามข่าวสารจากเว็บไซต์และสื่อสังคมของกรมสรรพากร”

 หากมีคำถามเพิ่มเติม โปรดติดต่อที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

Click Donate Support Web 

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!