หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 09


ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขยายโอกาสการมีงานทำและส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา

          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขยายโอกาสการมีงานทำและส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอและแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป 

          เรื่องเดิม

          1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขยายโอกาสการมีงานทำและส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาสภาพปัญหาและสถานการณ์การจ้างแรงงานผู้สูงอายุในประเทศไทย รวมถึงกฎหมายผู้สูงอายุของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการขยายโอกาสการมีงานทำและส่งเสริมการจ้างงานภายใต้เจตนารมณ์สำคัญในการที่มุ่งให้ประเทศไทยมีกำลังแรงงานจากกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อเสริมตลาดแรงงานให้มีแรงงานหลากหลายประเภทมากขึ้น สอดคล้องกับความต้องการจ้างแรงงานประเภทต่างๆ โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 

              1.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendations) ควรกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ที่สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งในภาพรวมระดับประเทศ กำหนดและดำเนินนโยบายการวิเคราะห์วางกำลังคน (Human Resource Planning: HRP) ของประเทศในภาพรวมระยะยาว วิเคราะห์ กำหนดแผนการ และส่งเสริมนโยบายการเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศ กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังพล หรือทุนมนุษย์ของประเทศไทยที่สอดคล้องกับแผนกำลังคน สร้างความตระหนักรู้แก่ผู้นำองค์กรนายจ้าง ให้ความสำคัญในการผลักดันการพัฒนาระบบ และการจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศ (MIS) ผู้สูงอายุในทุกระดับและการมุ่งขับเคลื่อนนโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุขยายโอกาสการประกอบอาชีพนอกระบบ

              1.2 ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ ควรมุ่งเน้นการบูรณาการของหน่วยงานรัฐเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริมการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ควรให้หน่วยงานภาครัฐใช้กลไกภาคเอกชนมาเป็นเครือข่ายและเพิ่มมาตรการจูงใจนอกเหนือจากมาตรการทางภาษี การส่งเสริมให้ทุกกระทรวงดำเนินนโนบายและการดำเนินการในการจ้างผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรม ควรเร่งพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แรงงานสูงอายุเป็นส่วนเสริมในอุตสาหกรรม และธุรกิจการท่องเที่ยว ควรพัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุเพื่อเชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลเดียวกันทั้งประเทศ และ ควรขับเคลื่อนการจ้างงานผู้สูงอายุในรูปแบบ และวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมตามแต่บริบทจากทุกภาคส่วน

              1.3 ข้อเสนอแนะด้านกฎหมายในประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ การกำหนดอัตราส่วนในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533

          2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ในขณะนั้น สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ รง. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ข้อเท็จจริง

          รง. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความ เห็นสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา และได้มีความเห็นเพิ่มเติมโดยสรุปได้ดังนี้ 

 

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ

 

ผลการพิจารณา

1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (Policy Recommendations)

 

 

     1.1 กำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนที่สามารถขับเคลื่อนได้ทั้งในภาพรวมระดับประเทศ เช่น นโยบายสนับสนุนการจ้างงานผู้สูงอายุโดยหน่วยงานราชการในทุกระดับของประเทศให้จ้างผู้สูงอายุเข้าทำงานในลักษณะหนึ่งหน่วยงานหนึ่งผู้สูงอายุเป็นต้น   - กรมการจัดหางานดำเนินกิจกรรมสร้างโอกาสการมีงานทำให้ผู้สูงอายุ โดยได้มีผู้สูงอายุมาใช้บริการจัดหางาน จำนวน 21 คน และได้รับการบรรจุงาน จำนวน 20 คน ก่อให้เกิดรายได้ 2,160,000 บาท และ พม. ได้มีการจ้างงานผู้สูงอายุ ตำแหน่งช่วยปฏิบัติการเงินและบัญชี เงินเดือน 12,000 บาท ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ช่วยปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศเงินเดือน 15,000 บาท ตำแหน่งพนักงานขับรถยนต์ เงินเดือน 12,000 บาท และตำแหน่งพี่เลี้ยง เงินเดือน 8,690 บาท
    1.2 กำหนดและดำเนินนโยบายการวิเคราะห์วางกำลังคน (Human Resource Planning HRP) ของประเทศในภาพรวมระยะยาว เพื่อให้เห็นแนวโน้มและข้อมูลจากการศึกษาคาดการณ์เชิงอนาคต (Future Study)   - กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการดำเนินนโยบายวางแผนการพัฒนากำลังคนให้แก่คนทุกช่วงวัยที่สอดคล้องยุทธศาสตร์ 20 ปี (.. 2561 - 2580) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันและด้านความมั่นคง โดยการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน New – Skill Up – Skill และ Re – skill ให้แก่แรงงานใหม่แรงงานในระบบจ้างงานแรงงานนอกระบบ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านเชิงของประชากร และรองรับสังคม ผู้สูงอายุ มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมพัฒนาฝีมือแรงงานให้แก่กำลังแรงงานทุกกลุ่มวัย ประจำปีงบประมาณ .. 2566 เช่น โครงการฝึกอบรมฝีมือแรงงานในพื้นที่ชายแดนใต้ โครงการพัฒนาฝีมือแรงงานนานาชาติรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง เป็นต้น
    1.3 วิเคราะห์ กำหนดแผนการ และส่งเสริมนโยบายการเพิ่มจำนวนประชากรของประเทศที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับแผนกำลังคนของประเทศเพื่อบรรเทาสถานการณ์สังคมสูงวัยและสภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาพรวม   - พม. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ โดยเห็นว่าการบรรเทาสถานการณ์สังคมสูงวัย ส่งเสริมการเพิ่มประชากร สภาวะการขาดแคลนแรงงานในภาพรวมเป็นสถานการณ์ที่มีความสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์กำหนดแผนให้สอดคล้องกัน มีระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว
    1.4 กำหนดแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนากำลังพล หรือทุนมนุษย์ของประเทศไทยที่สอดคล้องกับแผนกำลังคน ซึ่งอาจดำเนินการในรูปแบบของการกำหนดพิมพ์เขียวการพัฒนาทุนมนุษย์” (Human Capital Development Blueprint) อันจะเป็นการกำหนดแนวทางการพัฒนาทุนมนุษย์ในภาพรวมอย่างชัดเจน   - กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ดำเนินการส่งเสริมแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้สูงอายุภายใต้โครงการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงระบบการคุ้มครองทางสังคม กิจกรรมหลักส่งเสริมสิทธิหน้าที่แก่แรงงานสูงอายุและแรงงานนอกระบบกลุ่มผู้สูงอายุ จากแผนงานบูรณาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยกรมกิจการผู้สูงอายุ พม. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการพัฒนาศักยภาพอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีส่วนร่วมกิจกรรมทางสังคมและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี เท่ากับจะเป็นการผ่อนภาระพึ่งพาครอบครัวและรัฐ ซึ่งการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างคนในชุมชนจะสร้างความสามัคคี ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถต่อยอดการพัฒนาด้านอื่นๆ ในแบบองค์รวม
    1.5 สร้างความตระหนักรู้แก่ผู้นำองค์กรนายจ้างและผู้ประกอบการให้เห็นถึงความสำคัญของพนักงานลูกจ้างสูงอายุ ด้วยการประชาสัมพันธ์เชิงรุก พร้อมทั้งศึกษาเพื่อพิจารณาและกำหนดลักษณะงานที่เหมาะสมกับลักษณะของแรงงานสูงอายุ (Job Description)   - รง. ได้ออกประกาศ รง.เรื่อง ขอความร่วมมือส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีงานทำ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม .. 2562 เนื่องจากเล็งเห็นความสำคัญของสถานการณ์ผู้สูงอายุ จึงได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนการส่งเสริมและขยายโอกาสด้านอาชีพ และการทำงานของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างงานผู้สูงอายุมากขึ้น และกรมการจัดหางาน ดำเนินกิจกรรมสานพลังประชารัฐจัดหางานให้ผู้สูงอายุ (Civil State Project for Elderly) โดยดำเนินการลงพื้นที่สำรวจและรวบรวมข้อมูลผู้สูงอายุที่ต้องการประกอบอาชีพหรือทำงาน และจัดประชุมเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจแก่นายจ้าง/สถานประกอบการเกี่ยวกับสถานการณ์การก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยและนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง
    1.6 ให้ความสำคัญในการผลักดันการพัฒนาระบบและการจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศ (MIS) ผู้สูงอายุในทุกระดับ เพื่อเป็นข้อมูลสารสนเทศสำคัญในการวิเคราะห์และกำหนดแผนกำลังคน หรือพิมพ์เขียวการพัฒนาทุนมนุษย์ รวมทั้งเป็นข้อมูลสำคัญในการประกอบการตัดสินใจ และการบริหารจัดการปัญหาได้อย่างถูกต้อง   - การมีระบบสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งระบบสารสนเทศควรมีการเชื่อมโยงกัน สามารถให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ร่วมกันได้
    1.7 มุ่งขับเคลื่อนนโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุที่ต้องครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน และขยายโอกาสการประกอบอาชีพนอกระบบ ทั้งการขยายการเกษียณอายุ และส่งเสริมการสร้างและประกอบอาชีพที่ทำงานนอกระบบ   - กรมการจัดหางานได้ดำเนินการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระให้ผู้สูงอายุ ให้ได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ตรงตามความต้องการนำไปสู่การมีอาชีพ มีรายได้ ลดภาระการเลี้ยงดูของครอบครัว และมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุสู่การเป็นวิทยากรถ่ายทอดภูมิปัญญาและพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของผู้สูงอายุ สู่ตลาดออนไลน์ โดยผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและพัฒนาศักยภาพ จำนวน 1,441 คน ได้ประกอบอาชีพมีรายได้ จำนวน 1,286 คน ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น 6,258,611 บาท
    1.8 ส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการภาคเอกชนให้จ้างงานผู้สูงอายุและกำหนดแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินการในการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในภาคเอกชนเพิ่มเติมในด้านต่างๆ   - กรมกิจการผู้สูงอายุได้ร่วมมือกับบริษัท เอกชัยดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด สนับสนุนโครงการส่งเสริมความร่วมมือภาคธุรกิจเอกชนเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุสร้างสุขวัยเก๋าเพื่อขยายโอกาสให้กลุ่มผู้สูงอายุทั่วประเทศได้ฝึกอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว จำนวน 200 คน

2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ

    2.1 มุ่งเน้นการบูรณาการของหน่วยงานรัฐโดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติกำหนดนโยบายยุทธศาสตร์เพื่อให้หน่วยงานหลัก

 

 

- กรมการจัดหางานได้เป็นหน่วยงานเจ้าภาพเสริมสร้างทักษะด้านอาชีพในการดำรงชีวิตอย่างมั่นคง ซึ่งเป็นการดำเนินการร่วมกับสถาบันวิทยาลัยชุมชนและกรมกิจการผู้สูงอายุ

    2.2 หน่วยงานภาครัฐใช้กลไกภาคเอกชนมาเป็นเครือข่าย และเพิ่มมาตรการจูงใจนอกเหนือจากมาตรการทางภาษี   - กค. มีมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ ซึ่งอนุญาตให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จ้างผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเข้าทำงานสามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่า สำหรับการจ้างผู้สูงอายุที่มีค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท และยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีบริบูรณ์สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาท
    2.3 ส่งเสริมให้ทุกกระทรวงดำเนินโนบายและการดำเนินการในการจ้างผู้สูงอายุอย่างเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพเป็นที่ปรึกษาหรือวิทยากรแก่ผู้ปฏิบัติงานใหม่   - กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีนโยบายการจ้างข้าราชการเกษียณอายุที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้าน ต่างๆ ให้เข้ามาทำงาน เช่น กองคุ้มครองแรงงานจ้างข้าราชการเกษียณอายุ จำนวน 4 คนและมีผู้สูงอายุเข้าทำงานกับสำนักงานประกันสังคมจำนวน 504 คน คิดเป็นร้อยละ 99.41
    2.4 เร่งพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้แรงงานสูงอายุเป็นส่วนเสริมในอุตสาหกรรมและธุรกิจการท่องเที่ยวซึ่งมีความขาดแคลนในปัจจุบันในลักษณะงานและรูปแบบการจ้างที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วน   - อุตสาหกรรมธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีความจำเป็นต้องใช้แรงงานมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มโอกาสการมีงานทำของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะงานบริการต่างๆ ได้แก่ พนักงานต้อนรับ มัคคุเทศก์ พนักงานนวด พนักงานทำความสะอาด เป็นต้น หากเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ก็จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดรายได้กับชุมชนเพิ่มอีกด้วย
    2.5 สร้างเสริมศักยภาพและสมรรถนะแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในรูปแบบของ Up – Skills Re – Skills และ New – Skills ด้วยรูปแบบและวิธีการเรียนรู้ (Learning Methods) ที่เหมาะสมกับช่วงวัย ให้สอดคล้องกับพิมพ์เขียวการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศ   - กรมกิจการผู้สูงอายุ ดำเนินโครงการส่งเสริมความร่วมมือภาคเอกชนเพื่อพัฒนาผู้สูงอายุต่อยอดอาชีพสู่เทรนด์ธุรกิจออนไลน์ประกอบด้วย 2 หลักสูตร (1) หลักสูตร Senior Entrepreneur ผู้ประกอบการวัยเก๋า LAZADA (2) หลักสูตรติดปีกทักษะดิจิทัลกับโครงการเน็ตทำกิน โดยมีผู้สูงอายุที่ได้รับการพัฒนารวม 700 คน
    2.6 พัฒนาและจัดทำฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ประกอบไปด้วยข้อมูลที่จำเป็นในการบ่งชี้สถานการณ์ผู้สูงอายุ อันจะนำไปสู่การจัดการกับปัญหาอย่างถูกต้อง ประกอบกับต้องทบทวนวิธีการ รูปแบบ หรือชุดข้อมูล (data template) ที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติให้สามารถเชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลเดียวกันทั้งประเทศ   - กรมกิจการผู้สูงอายุ มีฐานข้อมูลผู้สูงอายุ ได้แก่ฐานข้อมูลผู้กู้ยืมเงินประกอบอาชีพ, ฐานข้อมูลองค์กรที่ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนผู้สูงอายุ, ฐานข้อมูลค่าจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี, ฐานข้อมูลเงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก, ฐานข้อมูลโครงการการปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย
    2.7 ขับเคลื่อนการจ้างงานผู้สูงอายุในรูปแบบและวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสมตามแต่ละบริบทจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภาครัฐที่เป็นหน่วยเชิงนโยบายและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา และสนับสนุนทุกภาคส่วนในการดำเนินการแก้ไขปัญหา   - พม. มีโครงการกู้ยืมเงินทุนเพื่อประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุทั้งรายบุคคลรายละ 30,000 บาทและรายกลุ่ม กลุ่มไม่น้อยกว่า 5 คน ได้กลุ่มละ 100,000 บาท ผ่อนชำระเป็นรายงวด ไม่คิดดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยสามารถยื่นขอรับเงินทุนประกอบอาชีพได้ที่กองทุนผู้สูงอายุต่างจังหวัดที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด หรือเว็บไซต์กองทุนผู้สูงอายุ และกรมกิจการผู้สูงอายุมีกลไกระดับพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนผู้สูงอายุ 2,456 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ, ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ 2,082 แห่ง กระจายอยู่ ทั่วประเทศ, ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ 12 แห่ง และศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมด้านผู้สูงอายุจังหวัดชลบุรี 1 แห่ง

3. ข้อเสนอแนะด้านกฎหมาย

    3.1 ประเด็นเรื่องการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุ

 

 

           3.1.1 เพื่อให้สามารถคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพควรมีการพิจารณาเพิ่มคำนิยาม ความหมายของนิยามคำว่าแรงงานผู้สูงอายุหมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไป ลงในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541   - กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีความเห็นว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 บัญญัติให้ นายจ้างหมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรจะเห็นได้ว่าเป็นการเปิดกว้างสำหรับการจ้างงานเว้นแต่กำหนดห้ามไม่ให้ลูกจ้างอายุต่ำกว่า 15 ปีเข้าทำงานเป็นลูกจ้างตามมาตรา 4
          3.1.2 ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องการกำหนดเวลาทำงานของผู้สูงอายุที่เหมาะสมเป็นมาตรฐานกลางในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 ให้ชัดเจน สถานประกอบการและแรงงานผู้สูงอายุสามารถกำหนดระยะเวลาทำงานได้ตามความพึงพอใจของทั้งสองฝ่าย   - พม. เห็นด้วยกับข้อเสนอ โดยเห็นว่าเพื่อให้สามารถคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุมีการบริหารจัดการสถานประกอบการ ให้มีความเหมาะสม ปลอดภัยแก่ผู้สูงอายุ มีการกำหนดระยะเวลาการทำงานในลักษณะต่างๆ อย่างชัดเจน ได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรมสามารถยึดเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกันได้
          3.1.3 ควรกำหนดประเภทงานที่แรงงานผู้สูงอายุสามารทำได้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541    - สำนักงาน .. เห็นด้วยว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุในประเด็นต่างๆ อย่างรอบครอบ รวมถึงการกำหนดประเภทงานที่แรงงานผู้สูงอายุสามารถทำได้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ
    3.2 ควรกำหนดอัตราส่วนในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.. 2541 โดยเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550   - กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีความเห็นว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 มีเหตุผลในการประกาศใช้เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ซึ่งบางส่วนอยู่ในวัยทำงานต่างจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นการคุ้มครองแรงงานให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย ซึ่งได้กำหนดในมาตรา 118/1 ไว้ว่า กรณีที่นายจ้างและลูกจ้างมิได้มีการตกลงหรือกำหนดเกษียณอายุไว้ หรือตกลงกำหนดการเกษียณไว้เกินกว่า 60 ปี ให้ลูกจ้างอายุครบ 60 ปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจตนาเกษียณอายุต่อนายจ้าง และมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชย จะเห็นได้ว่าลูกจ้างที่เกษียณอายุแล้วจะอยู่ในช่วงเวลาพักผ่อนและบางรายอาจไม่พร้อมทำงาน จึงไม่อาจเทียบเคียงกับการกำหนดอัตราส่วนในการจ้างผู้สูงอายุกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ .. 2550 
    3.3 ควรพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคุ้มครองแรงงานห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือให้ลูกจ้างลาออก ก่อนเกษียณอายุ เพราะเหตุเรื่องอายุ   - กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีความเห็นว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คุ้มครองแรงงานทุกประเภทหากนายจ้างเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างมิได้กระทำความผิดตามมาตรา 119 นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย
    3.4 ควรมีมาตรการจูงใจให้ผู้ประกอบการรับผู้สูงอายุเข้าทำงาน เช่น มาตรการด้านภาษีอากร การให้เงินอุดหนุน การยกเว้นค่าธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น   - กรมการจัดหางาน มีความเห็นว่า สำหรับมาตรการสร้างแรงจูงใจให้แก่ภาคเอกชน ปัจจุบันมีมาตรการลดหย่อนภาษี 2 เท่า จากค่าจ้างผู้สูงอายุ ซึ่งให้การตอบรับจากภาคเอกชนค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ภาคเอกชนมีความสนใจในการจ้างแรงงานผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นควรพิจารณาออกมาตรการจูงใจเพิ่มเติม เช่น ขยายอัตราค่าจ้างผู้สูงอายุที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีให้สูงขึ้น การให้สิทธิพิเศษแก่สถานประกอบการที่จ้างงานผู้สูงอายุในการใช้บริการของภาครัฐและการให้โล่รางวัลต่างๆ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สถานประกอบการ
    3.5 ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 โดยการให้สิทธิประโยชน์ด้านบำนาญชราภาพให้กับผู้สูงอายุมาเป็นแรงงานในระบบครั้งแรกสามารถรับบำนาญชราภาพได้เมื่อทำงานครบระยะเวลา 120 เดือน ทั้งนี้ ควรมีการศึกษาถึงระยะเวลาที่เหมาะสมในการรับบำนาญชราภาพของผู้สูงอายุที่เข้ามาเป็นแรงงานในระบบ  

- สำนักงานประกันสังคมได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดระยะการส่งเงินสมทบเพื่อให้เกิดสิทธิรับบำนาญดังกล่าว โดยมีผลการศึกษารายงานคณิตศาสตร์ประกันร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แนะแนวทางปฏิรูประบบบำนาญชราภาพ ซึ่งรวมถึงการลดระยะเวลาการส่งเงินสมทบเพื่อให้เกิดสิทธิบำนาญลงเหลือ 5 ปี เนื่องจากประเทศไทยมีการทำงานในระบบที่ไม่ต่อเนื่องทำให้ผู้ประกันตนจำนวนมากส่งเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี จึงได้รับบำเหน็จแทนบำนาญ ซึ่ง ILO มองว่าไม่ได้เป็นหลักประกันรายได้ระยะยาวตลอดชีวิตให้กับผู้สูงอายุ และจากการศึกษาข้อมูลการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนพบว่า มีผู้ประกันตนที่เคยส่งเงินสมทบกรณีชราภาพมากกว่า 30 ล้านคน มีการเปลี่ยนงานระหว่างงานในระบบและงานนอกระบบ และยังพบว่าในแต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงของผู้ประกันตนมาตรา 33 ถึง 2 ล้านคน ซึ่งทำให้การส่งเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตนจำนวนมากไม่ต่อเนื่อง

        สำหรับแนวทางการแก้ไขพระราชบัญญัติประกันสังคม .. 2533 การลดระยะเวลานำเงินสมทบและแก้ไขกฎกระทรวงสูตรบำเหน็จชราภาพสำนักงานประกันสังคมจะต้องมีการศึกษาข้อมูลรอบด้านเพื่อสนับสนุนรายละเอียดในการขอแก้ไข

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 18 เมษายน 2567

 

 

4549

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!