โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ (โครงการฯ) โดยมอบหมาย กค. เป็นผู้ดำเนินโครงการ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการสิทธิและสวัสดิการคนพิการ
2. อนุมัติงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ ในวงเงินไม่เกิน 145,552.40 ล้านบาท โดยใช้แหล่งเงิน ดังนี้
2.1 งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ จำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท
2.2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินไม่เกิน 23,552.40 ล้านบาท
3. เห็นชอบในหลักการการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่กลุ่มเป้าหมายได้รับตามโครงการฯ และมอบหมายให้ กค. โดยกรมสรรพากรพิจารณาดำเนินการยกร่างกฎหมายและเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
4. มอบหมายให้กรมบังคับคดีกำหนดแนวปฏิบัติเพื่ออนุญาตให้บุคคลล้มละลายหรือถูกพิทักษ์ทรัพย์ เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารและถอนเงินเป็นกรณีพิเศษเพื่อรับเงินตามโครงการฯ และเบิกถอนเงินดังกล่าวเพื่อใช้จ่าย
5. มอบหมายให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา รวบรวมและนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องของคนพิการให้แก่กรมบัญชีกลาง เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินให้แก่คนพิการตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการ
6. มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) รวบรวมและนำส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องของผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง เด็ก และคนพิการ ให้แก่กรมบัญชีกลาง เพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินตามโครงการฯ
7. มอบหมายให้ อปท.โดย สถ. กทม. และเมืองพัทยา รวบรวม ตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินการจ่ายเงินโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านคนพิการให้แก่คนพิการในพื้นที่ต่อสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
8. มอบหมายให้ พม. โดยกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการทำบัตรประจำตัวคนพิการหรือต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการให้แก่คนพิการ เพื่อให้กรมบัญชีกลางสามารถจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ภายในกำหนดเวลาการจ่ายเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2567
สาระสำคัญของเรื่อง
กระทรวงการคลังเสนอโครงการสิทธิและสวัสดิการคนพิการ1 เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ และเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2567 โดยมีสาระสำคัญของโครงการสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ |
โครงการฯ |
|||
ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ |
คนพิการ |
|||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพและเพิ่มศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายให้มีโอกาสเข้าถึงการใช้จ่ายที่สามารถสนองตอบต่อความต้องการและความจำเป็นในการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงช่วยเพิ่มการบริโภคที่จะสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบและกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศในช่วงปลายปี 2567 |
|||
กลุ่มเป้าหมาย2 |
ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e - KYC) สำเร็จแล้ว ดังนี้ (1) ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของ กค. และไม่เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. (2) เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. (3) เป็นคนพิการที่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยาแต่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. โดย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 มีผู้ที่ผ่าน คุณสมบัติข้างต้นจำนวนไม่เกิน 12,405,754 ราย |
คนพิการที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) มีบัตรประจำตัวคนพิการที่ยังไม่หมดอายุ ตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. (2) มีบัตรประจำตัวคนพิการที่หมดอายุตามฐานข้อมูลของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. ซึ่งจะต้องต่ออายุบัตรประจำตัวคนพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบจึงจะได้รับสิทธิ (3) ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูล ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา และไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัวพิการภายในวันที่ 3 ธันวาคม 2567 และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ (4) ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการในฐานข้อมูล ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ พม. แต่ได้รับเงินเบี้ยความพิการ ตามฐานข้อมูลของ อปท. กทม. และเมืองพัทยา มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ได้ยืนยันตัวตน (e-KYC) ภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567 ตามฐานข้อมูลโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ของ กค. ซึ่งจะต้องทำบัตรประจำตัวคนพิการภายใน วันที่ 3 ธันวาคม 2567 และกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลางทราบ จึงจะได้รับสิทธิ โดย ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2567 มีผู้ที่ผ่านคุณสมบัติข้างต้นจำนวนไม่เกิน 2,149,286 ราย |
||
วิธีดำเนินการ |
(1) กรมบัญชีกลางดำเนินการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10,000 บาทต่อคน โดยจะเริ่มทยอยจ่ายเงินตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2567 เป็นต้นไป ผ่านช่องทาง ดังนี้ |
|||
ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของกลุ่มเป้าหมาย สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกรณีผู้ป่วย ติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปที่ไม่สามารถผูกพร้อมเพย์ได้ ให้จ่ายเงินผ่านบัญชีเงินฝากธนาคารตามที่ได้แจ้งความประสงค์ในหนังสือให้ความยินยอมโอนเงินสวัสดิการเข้าบัญชีร่วมกับบุคคลอื่นหรือบุคคลอื่นไว้แล้ว ณ สำนักงานคลังจังหวัดหรือกรมบัญชีกลาง ตามแนวทางการจ่ายเงินของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม(กองทุนฯ) |
(1) ผ่านช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการที่ได้รับข้อมูลจาก อปท. กทม. และเมืองพัทยา (2) ผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของคนพิการกลุ่มดังกล่าว สำหรับคนพิการที่ไม่ปรากฏข้อมูลช่องทางการรับเงินเบี้ยความพิการตามข้อ (1) |
|||
(2) ในกรณีที่กรมบัญชีกลางจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรกให้ดำเนินการ ติดตามเพื่อจ่ายเงิน (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าว จำนวน 3 ครั้ง ดังนี้ (2.1) ครั้งที่ 1 ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2569 (2.2) ครั้งที่ 2 ภายในวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 (2.3) ครั้งที่ 3 ภายในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว รัฐจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการ |
||||
ประโยชน์ |
ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจโดยจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการถือเป็นผู้มีรายได้น้อยที่มีความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค (Marginal Propensity to Consume: MPC) สูงกว่ากลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงกว่า ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่จะใช้จ่ายเงินหมดทั้งจำนวน ทั้งนี้ คาดว่าการดำเนินโครงการฯ จะส่งผลให้ GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.3 (ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ) และ 0.05 (ผ่านคนพิการ) ต่อปี เมื่อเทียบกับกรณีไม่มีโครงการ |
|||
งบประมาณ |
จำนวนไม่เกิน 124,059.54 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ จำนวน 122,000 ล้านบาท และ (2) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,059.54 ล้านบาทโดยจัดสรรให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังสำหรับกองทุนฯ และให้นำเงินที่เหลือดังกล่าวไปใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ต่อไป |
จำนวนไม่เกิน 21,492.86 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยจัดสรรให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง และให้นำเงินเหลือจ่ายดังกล่าวส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป |
________________
1สิทธิและสวัสดิการคนพิการ เช่น (1) เบี้ยความพิการ 800-1,000 บาทต่อเดือน (2) สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับคนพิการ (บัตรทองคนพิการ ท. 74) ได้ที่สถานพยาบาลของรัฐทุกแห่ง (3) สิทธิด้านการศึกษา โดยสามารถเข้ารับการศึกษาขั้นพื้นฐานพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือเมื่อพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนถึงปริญญาตรี (4) สิทธิด้านอาชีพ โดยสามารถเข้ารับการฝึกอาชีพจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (5) คนพิการสามารถขอกู้ยืมเงินเพื่อทุนประกอบอาชีพได้ไม่เกิน 120,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ย (ผ่อนชำระภายใน 5 ปี) (6) การลดหย่อนค่าโดยสารขนส่งสาธารณะสำหรับคนพิการ และ (7) สิทธิการปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ เช่น ปรับปรุงห้องน้ำ ติดตั้งราวจับ ปรับทางเดิน ในอัตราเหมาจ่ายไม่เกินรายละ 40,000 บาท เป็นต้น
2ไม่รวมถึงผู้ที่ผ่านคุณสมบัติโครงการลงทะเบียนฯ ปี 2565 ที่ได้ยืนยันตัวตน (e - KYC) สำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัด พม. ที่ พม. แจ้งยืนยันข้อมูลดังกล่าวให้กรมบัญชีกลาง
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 17 กันยายน 2567
9474