หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV8 copy


การประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS) ครั้งที่ 25

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้

          1. เห็นชอบเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (Greater Mekong Subregion economic cooperation program: GMS) (แผนงาน GMS) ครั้งที่ 25 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ได้แก่

                    1.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 25

                    1.2 ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS

                    1.3 กรอบการประเมินผลลัพธ์สำหรับกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS .. 2573

                    1.4 ข้อริเริ่มความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล GMS

                    1.5 กรอบการลงทุนของภูมิภาค ฉบับใหม่ .. 2568

และเห็นชอบให้ สศช. สามารถปรับปรุงถ้อยคำในแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีก

          2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และปฏิบัติหน้าที่เป็นรัฐมนตรีประจำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (GMS Minister หรือรัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS) ในการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 25 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 เมืองหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

          3. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายได้ร่วมกับรัฐมนตรีของประเทศลุ่มแม่น้ำโขงให้การรับรองเอกสารตามข้อ 1.1 – 1.5 โดยไม่มีการลงนาม

 

sme 720x100

 

          สาระสำคัญ

          สปป.ลาว โดยกระทรวงแผนการและการลงทุน ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง 6 ประเทศ (ไทย เมียนมา สปป.ลาว กัมพูชา จีน และเวียดนาม) ครั้งที่ 25 (The 25th GMS Ministerial Conference) ในระหว่างวันที่ 6 - 8 ธันวาคม 2565 โรงแรมพูลแมน หลวงพระบาง เมืองหลวง พระบาง ภายใต้หัวข้อหลักการเร่งรัดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเพื่อต่อยอด 30 ปี แห่งความสำเร็จของแผนงาน GMS ไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน” 

          ทั้งนี้ ในการประชุมข้างต้น รัฐมนตรีประจำแผนงาน GMS ของทั้ง 6 ประเทศจะร่วมรับรองเอกสารทั้งหมด 5 ฉบับ ได้แก่

          1) ร่างแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีแผนงาน GMS ครั้งที่ 25 โดยมีสาระสำคัญ เช่น รับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินงานสาขาความร่วมมือต่างๆ อาทิ ด้านคมนาคม ด้านพลังงาน ด้านการเกษตร ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการท่องเที่ยว ด้านสาธารณสุข และอื่นๆ รวมถึงรับทราบและให้การรับรองแผนและการดำเนินงานที่มีความก้าวหน้าในประเด็นเชิงบูรณาการ อาทิ การจัดตั้งเครือข่ายองค์ความรู้ของอนุภูมิภาค GMS ความร่วมมือด้านดิจิทัล และการใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจดิจิทัล ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS การย้ายถิ่นของแรงงาน ตลอดจนการดำเนินการในระยะต่อไป โดยเน้นย้ำการสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของอนุภูมิภาคอย่างมั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุมภายในปี 2573 และการดำเนินการตามแผนและกรอบการดำเนินงานที่สำคัญสำหรับอนาคต อาทิ กรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS .. 2573 แผนการฟื้นฟูและตอบสนองต่อโควิด-19 .. 2564 – 2566 

          2) ยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศ GMS โดยมีสาระสำคัญ เน้นย้ำการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ผ่านการสร้างโอกาสให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมในโครงการรายสาขาต่างๆ ภายใต้แผนงาน GMS ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงมุ่งสร้างทัศนคติที่ดีต่อเพศหญิงอันจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานภายในของประเทศสมาชิกแผนงาน GMS รวมถึงเป็นการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 5 ความเสมอภาคระหว่างเพศและเสริมพลังแก่สตรีและเด็กหญิงทุกคน โดยได้ระบุประเด็นเชิงบูรณการ อาทิ การประสานเศรษฐกิจมหาภาค การเคลื่นย้ายแรงงานและการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างปลอดภัย การศึกษาและทักษะ เขตเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล

          3) กรอบการประเมินผลลัพธ์สำหรับกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS .. 2573 โดยสาระสำคัญ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการติดตามและประเมินผลในการบรรลุวิสัยทัศน์ GMS 2030 คืออนุภูมิภาคที่มีการบูรณาการ มั่งคั่ง ยั่งยืน และครอบคลุมมากขึ้นโดยได้กำหนดตัวชี้วัดใน 3 ระดับ คือ (1) ระดับที่ 1 ความก้าวหน้าในการบรรดุวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการประเมินผลการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในภาพรวม ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะผลลัพธ์การดำเนินงานของแผนงาน GMS ที่มีต่ออนุภูมิภาคเพียงแผนงานเดียว (2) ระดับที่ 2 ประเมินผลระดับโครงการภายใต้สามเสาหลักของวิสัยทัศน์แผนงาน GMS.. 2573 [การเชื่อมต่อ (connectivity) ความสามารถในการแข่งขัน (competitiveness) และชุมชน (community)] และ (3) ระดับที่ 3 ประเมินปัจจัยนำเข้าในมิติด้านงบประมาณ การสนับสนุนองค์ความรู้ และกลไกเชิงสถาบันที่ ADB ได้ให้ความร่วมมือในระดับโครงการภายใต้แผนงาน GMS

 

QIC 720x100

 

          4) ข้อริเริ่มความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล GMS สาระสำคัญ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า เร่งการเชื่อมต่อด้านดิจิทัล ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัล เร่งการพัฒนาระบบการเงินดิจิทัล ปรับปรุงความครอบคลุมทางดิจิทัล และพัฒนาการกำกับดูแลด้านดิจิทัลขั้นสูง โดยได้ระบุถึงแนวทางการดำเนินการต่อไป คือ การจัดทำโครงการวิจัยเรื่องการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน GMS เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน แสวงหาโอกาส และระบุถึงความท้าทายของการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน GMS และได้นำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน GMS อย่างครอบคลุม การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลให้เกิดประโยชน์สูงสุด และส่งเสริมการนำดิจิทัลไปใช้เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนและครอบคลุมทั้งในระดับชาติและระดับอนุภูมิภาค

          5) กรอบการลงทุนของภูมิภาค ฉบับใหม่ .. 2568 (RIF 2025) โดยสาระสำคัญได้ดำเนินการพัฒนาเกณฑ์ของกรอบการลงทุนอนุภูมิภาคฉบับใหม่โดยให้ความสำคัญกับการคัดเลือกโครงการที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีแหล่งเงินทุนที่ชัดเจน ตลอดจนมีความสอดคล้องกับลำดับความสำคัญเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานของกรอบยุทธศาสตร์แผนงาน GMS .. 2573 โดยอ้างอิงตามหลักเกณฑ์การจัดทำโครงการแบบใหม่ (หลักเกณฑ์ที่คาดหวัง หรือ Aspirational Criteria) เช่น เป็นโครงการที่สนับสนุนการพัฒนาเชิงพื้นที่ เป็นโครงการที่มุ่งบรรเทาหรือขจัดความยากจน เป็นโครงการที่ส่งเสริมความเป็นดิจิทัล ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความสนใจให้และนำไปสู่การให้เงินทุนร่วมในการพัฒนโครงการจากภาคส่วนต่างๆ โดยผลการดำเนินงานตามกรอบการลงทุนของภูมิภาค .. 2565 (RIF2022) มีโครงการ จำนวนกว่า 130 โครงการ (จากโครงการทั้งหมด 205 โครงการ) และมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 5.9 หมื่นล้านดอลลาร์ สรอ. (ร้อยละ 76ของเงินลงทุนรวมในโครงการ RIF2022) ได้ดำเนินการแล้วเสร็จหรือได้เริ่มมีการลงทุนแล้ว ทั้งนี้ โครงการมูลค่าลงทุนสูงของไทยที่ได้เริ่มดำเนินการและเข้าสู่กลไกงบประมาณแล้ว ได้แก่ โครงการพัฒนารถไฟทางคู่ในประเทศ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ

          ทั้งนี้ การเข้าร่วมประชุมตามที่ สศช. เสนอในครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในด้านต่างๆ อาทิ (1) สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาลงทุนในสาขาที่มีศักยภาพเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่ากับประเทศเพื่อนบ้าน (2) เป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะนำเสนอความก้าวหน้าของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมเพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางด้านโลจิติกส์ของอนุภูมิภาค และ (3) เป็นโอกาสในการหารือแนวทางการแก้ปัญหาและขจัดข้อจำกัดในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น ปัญหาทางด้านสาธารณสุข การศึกษา และการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามพรมแดน เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 6 ธันวาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12135

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!