Global Dialogue Thailand Session ‘จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน’
เอกอัครราชทูตหาน จื้อเฉียง เสวนาหัวข้อ โอกาสของโลกจากการปฏิรูปเชิงลึกในยุคใหม่ของจีน' ในงาน Global Dialogue Thailand Session (บทคัดย่อ)
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาพบกับทุกท่านที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อันสวยงามแห่งนี้ เพื่อเสวนาเกี่ยวกับการพัฒนาของจีนและความสัมพันธ์กับโลก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีนักศึกษากว่า 20,000 คน ข้าพเจ้าคิดว่า เพื่อนชาวจีนที่อยู่ที่นี่คงจะตกใจกับตัวเลขนี้ไม่น้อย
แต่สิ่งที่ข้าพเจ้าอยากจะบอกทุกท่านคือ มหาวิทยาลัยแห่งนี้มีนักศึกษาชาวจีนมากกว่า 2,000 คน เมื่อสักครู่นี้ ข้าพเจ้าได้เดินชมผลงานศิลปะเกี่ยวกับความทันสมัยแบบจีนที่เขียนโดยคนหนุ่มสาวชาวไทย ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจอย่างยิ่ง การจัดงานเสวนาเกี่ยวกับจีนที่นี่
โดยประสานเวลา สถานที่ และผู้คน อย่างลงตัว ถือเป็นทางเลือกที่ถูกต้องอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดีจากใจจริงต่อสถานีวิทยุโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน (China Media Group หรือ CMG) ผู้จัดเสวนาครั้งนี้ และขอขอบคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และหน่วยงานไทยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนในด้านต่างๆสำหรับการเสวนาในครั้งนี้
ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ทั่วโลกได้มุ่งความสนใจไปที่การประชุมสุดพิเศษของจีน คือการประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20 ทุกคนต่างบอกว่านี่เป็นการประชุมครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อ 46 ปีที่แล้วหรือปี 1978 การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 11 ได้เริ่มต้นกระบวนการปฏิรูปและเปิดประเทศครั้งประวัติศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์
ปัจจุบัน จีนได้พัฒนาจนกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ทำให้จีนพลิกโฉมหน้าใหม่ และเริ่มต้นการเดินทางครั้งใหม่ในการสร้างประเทศสังคมนิยมสมัยใหม่อย่างครอบคลุม การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน ชุดที่ 20 ระบุอย่างชัดเจนว่าเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ซับซ้อน การปฏิวัติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรอบใหม่ และการปรับเปลี่ยนทางอุตสาหกรรม
ตลอดจนความคาดหวังใหม่ของประชาชน ทำให้เราจำเป็นต้องผลักดันความก้าวหน้าของการปฏิรูป ที่ประชุมได้รับรองเอกสารยุทธศาสตร์หลักเกี่ยวกับการปฏิรูปและการเปิดกว้าง คือ ‘มติของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนว่าด้วยการปฏิรูปเชิงลึกยิ่งขึ้นและการส่งเสริมความทันสมัยแบบจีนในยุกสมัยใหม่’ ซึ่งมีความสำคัญเชิงประวัติศาสตร์เช่นกัน
มตินี้ มีเป้าหมายหลักในการปรับปรุงและพัฒนาระบบสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีน และส่งเสริมความทันสมัยของระบบธรรมาภิบาลแห่งชาติและขีดความสามารถในการปกครองประเทศ โดยได้เสนอมาตรการการปฏิรูปที่สำคัญกว่า 60 ข้อรวม 300 กว่ารายการ และชี้ชัดว่าการปฏิรูปทั้งหมดนี้จะแล้วเสร็จในปี 2572 เมื่อครบรอบ 80 ปีการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ข้าพเจ้าและเพื่อนร่วมงานได้ศึกษาเนื้อหาของมตินี้อย่างละเอียด พวกเราต่างรู้สึกตื่นเต้นอย่างบอกไม่ถูก เพราะเราได้เห็นวิสัยทัศน์อันยิ่งใหญ่ของผู้นำจีนและพรรครัฐบาลจีนในการนำความสุขมาสู่ประชาชนจีนและสร้างความสามัคคีอันยิ่งใหญ่ให้กับโลก
เราได้เห็นประเทศจีนสร้างนวัตกรรมอย่างซื่อตรง สร้างการพัฒนาและความก้าวหน้าตามแนวทางของสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีน เรายังได้เห็นอนาคตที่สดในจากความร่วมมือระหว่างจีนและประเทศอื่นๆ ในโลกด้วยรูปแบบที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน (win-win) และการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ
ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอแบ่งปันสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้มากับทุกท่าน หวังว่า จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน เพื่อการทำความเข้าใจประเทศจีนอย่างครอบคลุม และลึกซึ้งยิ่งขึ้น
1. สร้างระบบเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมระดับสูง
ระบอบสังคมนิยมในฐานะระบบสังคมรูปแบบหนึ่งได้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนมาเป็นเวลานาน ซึ่งแตกต่างจากระบบทุนนิยมที่ใช้ระบบเศรษฐกิจตลาด ในการปฏิรูปของจีน เราได้ผสมผสานการเมืองแบบสังคมนิยมที่ประชาชนเป็นเจ้าของประเทศเข้ากับระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ซึ่งเป็นการบุกเบิกเส้นทางที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของจีน
จนบรรลุความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล บนจุดเริ่มต้นใหม่ของประวัติศาสตร์นี้ การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ได้เสนอให้สร้างระบบเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมระดับสูง ใช้กลไกตลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างสภาพแวดล้อมของตลาดที่ยุติธรรมและมีพลวัตมากขึ้น จัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อการบรรลุความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
ในโลกปัจจุบัน การค้าเสรีบนพื้นบานของเศรษฐกิจตลาดกำลังถูกทำลายอย่างหนัก ลัทธิเอกภาคีและลัทธิกีดกันกำลังแพร่กระจาย บางประเทศอ้างความมั่นคงและทำลายห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานระดับโลก สร้างความเสียหายแก่การแลกเปลี่ยนสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก และการแบ่งงานระหว่างประเทศ บ่อนทำลายกฎเกณฑ์ของตลาดระหว่างประเทศและระเบียบทางเศรษฐกิจและการค้า ประเทศจีนจะไม่เพียงแต่สร้างเศรษฐกิจตลาดในระดับที่สูงขึ้นเท่านั้น
แต่ยังทำงานอย่างหนักเพื่อปกป้องระบบการค้าพหุภาคี โดยมีองค์การการค้าโลกเป็นแกนหลัก ปกป้องและส่งเสริมโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ปฏิบัติตามหลักของพหุภาคีอย่างแท้จริง และต่อต้านลัทธิเอกภาคี ลัทธิกีดกันการค้า และต่อต้านการเบี่ยงเบนประเด็นเศรษฐกิจและการค้าให้เป็นประเด็นการเมือง อาวุธ และความมั่นคง
ในฐานะประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก จีนมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมากกว่า 30% เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน การปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องของระบบเศรษฐกิจตลาดแบบสังคมนิยมของจีนจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการกำกับดูแลเศรษฐกิจโลกและความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจโลก
2. ปรับปรุงระบบและกลไกนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่มีคุณภาพสูงอย่างรอบด้าน
การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ได้ทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนากำลังการผลิตใหม่ที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น และการสร้างระบบและกลไกเพื่อสนับสนุนนวัตกรรม ปัญหาหลักประการหนึ่งของ ‘กับดักรายได้ปานกลาง’ คือการขาดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง
การพัฒนาที่มีคุณภาพสูงทำให้การเติบโตของจีนอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยีของตนเอง และช่วยให้แน่ใจได้ว่าการพัฒนาของจีนจะมีโมเมนตัมเพื่อความก้าวหน้าอย่างไม่สิ้นสุด อุตสาหกรรมเกิดใหม่เชิงยุทธศาสตร์ของจีนมีสัดส่วนมากกว่า 13% ของ GDP
ประเทศจีนมีสถานีฐาน 5G จำนวน 3.837 ล้านสถานี คิดเป็นมากกว่า 60% ของทั่วโลก ฐานประกอบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมของจีนมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของทั่วโลก พลังงานหมุนเวียนของจีนเพิ่มขึ้น 300 ล้านกิโลวัตต์ในปี 2566 คิดเป็นประมาณ 50% ของกำลังการผลิตใหม่ของโลก
จีนจะใช้ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศผ่านวิทยาศาสตร์และการศึกษา เสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศผ่านทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และสร้างการพัฒนาที่ขับเคลื่อนผ่านนวัตกรรม ปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของระบบนวัตกรรมแห่งชาติอย่างต่อเนื่อง
และส่งเสริมปัจจัยการผลิตขั้นสูงต่างๆ ให้รวมศูนย์ที่การพัฒนากำลังการผลิตใหม่ นวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการพัฒนาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของจีนไม่เพียงแต่เป็นหลักประกันให้กับการพัฒนาที่ยั่งยืนและมีคุณภาพสูงของเศรษฐกิจจีนเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกอีกด้วย
ปัจจุบัน บางประเทศใช้วิธีการปิดกั้นทางเทคโนโลยี สร้าง 'กีดกันการค้า' และ 'กีดกันทางเทคโนโลยี' ซึ่งขัดขวางความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกอย่างรุนแรง จีนมุ่งมั่นอย่างแข็งขันในความร่วมมือระหว่างประเทศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเห็นว่าทุกประเทศในโลกควรร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เพื่อให้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกิดประโยชน์ต่อประชากรโลก นวัตกรรมและการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนจะช่วยสร้างรูปแบบความร่วมมือระหว่างประเทศแบบด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน
3. ปรับปรุงระดับการเปิดกว้างสู่โลกภายนอกยิ่งขึ้น
การเปิดกว้างเป็นสัญลักษณ์ที่เด่นชัดของความทันสมัยแบบจีน จีนยึดมั่นในนโยบายขั้นพื้นฐานเรื่องการเปิดกว้าง ยืนหยัดส่งเสริมการปฏิรูปผ่านการเปิดกว้าง ปรับปรุงความสามารถในการเปิดกว้างพร้อมขยายความร่วมมือระหว่างประเทศ และสร้างระบบใหม่ด้านเศรษฐกิจแบบเปิดกว้างระดับสูง ระดับภาษี
โดยภาพรวมของจีนลดลงเหลือใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่เป็นสมาชิก WTO รายการข้อจำกัด และข้อห้ามสำหรับทุนต่างชาติที่ลงทุนในจีน (negative list) ลดลงจาก 93 รายการเหลือ 31 รายการ จีนนำเข้าผลิตภัณฑ์และบริการ 2.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อปี
เราจะขยายการเปิดกว้างเชิงระบบอย่างต่อเนื่อง สอดรับกับกฎระเบียบทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีมาตรฐานสูงในระดับนานาชาติ ยกเลิกข้อจำกัดในการเข้าถึงภาคการผลิตของทุนต่างชาติ ส่งเสริมการขยายการเปิดกว้างอย่างเป็นระเบียบในด้านการศึกษา วัฒนธรรม การแพทย์ และภาคบริการอื่นๆ สร้างสภาพแวดล้อมเชิงระบบที่โปร่งใส มีเสถียรภาพ
และคาดการณ์ได้ สร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่สอดคล้องกับระบบตลาด มีหลักนิติธรรมและมีความเป็นสากล ให้หลักประกันด้านความยุติธรรมแก่บริษัทต่างชาติในแง่ของการได้มาซึ่งปัจจัยการผลิต การออกใบอนุญาต และการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาล
แม้ว่า ลัทธิกีดกันทางการค้าจะแพร่หลายไปทั่วโลก แต่ประตูแห่งการเปิดกว้างของจีนก็ยังคงเปิดกว้าง และมีแต่จะกว้างขึ้นเรื่อยๆ จีนจะทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างเศรษฐกิจโลกที่เปิดกว้างเพื่อประโยชน์สำหรับผู้คนจากทุกประเทศ
4. สืบทอดวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามและกระตุ้นนวัตกรรมการสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรม
การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ได้ทำการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบและกลไกวัฒนธรรมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการบูรณาการระหว่างวัฒนธรรมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนารูปแบบใหม่ทางวัฒนธรรม สร้างกลไกการดำเนินงานสำหรับข้อริเริ่มด้านอารยธรรมระดับโลก และขยายความร่วมมมือและการแลกเปลี่ยนระดับนานาชาติ
อารยธรรมของโลกอยู่ในกระบวนการปฏิรูปและการสร้างสรรค์ตลอดเวลา อารยธรรมโลกได้รับการพัฒนาจากการปฏิบัติจริงของมนุษย์ และต้องสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของมนุษย์ บางประเทศเชื่อใน ‘กฎแห่งป่า’ มานาน
โดยยึดถือแนวคิดที่ล้าสมัยเรื่องการแพ้ชนะ และผู้ชนะกินเรียบ มองการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาเป็นภัยคุกคาม ดำเนินกลยุทธ์การสกัดกั้น สร้างความแตกแยกและการเผชิญหน้า ทำลายความสงบสุขของโลก อารยธรรมดั้งเดิมของตะวันออกเน้นเรื่อง ‘ทั่วโลกกลมเกลียวกัน’ ‘ความปรองดองระหว่างทุกประเทศ’ ’การอยู่ร่วมกันอย่างมีเมตตาธรรมและเป็นมิตรที่ดี’
และ’การพัฒนาร่วมกันอย่างกลมเกลียว’ เน้นความปรองดอง การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ความร่วมมือ และการไม่แบ่งแยก อารยธรรมดั้งเดิมของตะวันออกเช่นนี้เป็นทางออกที่ดีที่สุดในโลกที่วุ่นวายในปัจจุบัน เราต้องชูจุดเด่นของภูมิปัญญาด้านอารยธรรมเอเชียตะวันออก ยึดมั่นในหลักการเคารพซึ่งกันและกันและการหารือความร่วมมือระหว่างกัน
เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ได้ประโยชน์ร่วมกัน ช่วยกันต่อต้านแนวคิดสงครามเย็นและการเผชิญหน้าระหว่างกลุ่มก้อน คัดค้านความพยายามและการกระทำใดๆ ที่จะก่อให้เกิดปัญหาและการเผชิญหน้า และรักษาสันติภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกซึ่งเป็นโอเอซิสแห่งการพัฒนา
5. ชูธงการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ
การประชุมเต็มคณะครั้งที่ 3 ได้ชี้ว่า ความทันสมัยแบบจีนคือความทันสมัยบนเส้นทางแห่งการพัฒนาอย่างสันติ จีนดำเนินนโยบายสันติภาพด้านการทูตอย่างเป็นอิสระและส่งเสริมการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ กระบวนการพัฒนาทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์เต็มไปด้วยความพลิกผันอยู่เสมอ
ปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในรอบศตวรรษ และอยู่ในยุคการเปลี่ยนแปลงที่มีความปั่นป่วนวุ่นวาย ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ได้เดินทางมาถึงทางแยกระหว่างสันติภาพหรือสงคราม ความร่วมมือหรือการเผชิญหน้า การพัฒนาหรือการถดถอย
เรากำลังเผชิญกับคำถามที่ว่า โลกควรเดินไปทางไหน เมื่อปี 2556 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เสนอแนวคิดที่สำคัญในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันของมนุษยชาติ ซึ่ง นี่ คือ คำตอบของจีนต่อคำถามของโลกและคำถามของยุคสมัย
จีนกระตือรือร้นในการแสวงหาแนวทางแก้ปัญหาระหว่างประเทศที่สำคัญด้วยวิธีการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจีน เมื่อปีที่แล้ว จีนเป็นกาวใจในการเชื่อมสัมพันธ์ครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างซาอุดีอาระเบียกับอิหร่าน นอกจากนี้ เมื่อไม่กี่วันก่อน จีนก็ได้ผลักดันให้ 14 กลุ่มในปาเลสไตน์ร่วมกันลงนามใน ‘ปฏิญญาปักกิ่งว่าด้วยการยุติการแบ่งแยกดินแดนและการเสริมสร้างเอกภาพแห่งชาติปาเลสไตน์’ ซึ่งเป็นการช่วยแก้ปัญหาปาเลสไตน์ผ่านวิธีการทางการเมืองด้วยภูมิปัญญาของจีน
แขกผู้มีเกียรติ อาจารย์ และนักศึกษาทุกท่าน
การพัฒนาของจีนไม่สามารถแยกออกจากโลกได้ การพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของโลกก็ต้องอาศัยจีนเช่นกัน ในฐานะประเทศกำลังพัฒนาที่ใหญ่ที่สุด จีนวางการพัฒนาของตนไว้ในพิกัดการพัฒนาของมนุษย์มาโดยตลอด และใช้การพัฒนาของตนสร้างโอกาสใหม่ ๆ แก่การพัฒนาของโลก ในปี 2566 GDP ของจีนทะลุ 18 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ มีขนาดตลาดภายในประเทศอยู่ที่ 6.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (47 ล้านล้านหยวน)
โดยเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของ 140 กว่าประเทศและภูมิภาค เมื่อมองไปสู่อนาคต การมุ่งสู่ความทันสมัยของประชากรจีนกว่า 1.4 พันล้านคน จะทำให้จีนมีส่วนร่วมต่อสันติภาพ การพัฒนา และความก้าวหน้าของโลกมากขึ้นอย่างแน่นอน ประสบการณ์ความสำเร็จในการพัฒนาความทันสมัยแบบจีนจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์สาธารณะระดับนานาชาติที่จีนมอบให้แก่ประเทศต่างๆทั่วโลก
จีนและไทย เป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่เชื่อมโยงกันด้วยภูเขาและแม่น้ำ เป็นญาติที่ดีที่เชื่อมโยงกันด้วยสายเลือด และเป็นพันธมิตรที่ดีที่มีอนาคตร่วมกัน ในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เยือนประเทศไทยครั้งประวัติศาสตร์ ผู้นำของทั้งสองประเทศได้ตั้งเป้าหมายใหม่ในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-ไทย ความสัมพันธ์จีน-ไทยเข้าสู่ยุคใหม่ของการร่วมสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกัน
จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทยและเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของไทย เป็นแหล่งเงินทุนต่างชาติหลักของไทย และเป็นประเทศต้นทางหลักของนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย ในฐานะเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย
ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นความร่วมมือ win-win ระหว่างจีน-ไทยนำประโยชน์มาสู่ประชาชนทั้งสองประเทศ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนทั้งสองประเทศ บริษัทจีนในนิคมอุตสาหกรรมระยองเพียงแห่งเดียว ก็ได้จ้างงานในท้องถิ่นมากกว่า 50,000 ตำแหน่ง บริษัทหัวเหวยเพียงแห่งเดียวก็ได้ฝึกอบรมบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัลในท้องถิ่นมากกว่า 70,000 คน
ปัจจุบัน โมเมนตัมของความร่วมมือจีน-ไทยกำลังแข็งแกร่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน และมิตรภาพระหว่างประชาชนทั้งสองก็สูงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนเช่นกัน ปีหน้าจะครบรอบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างจีน-ไทย และความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศจะก้าวสู่จุดเริ่มต้นใหม่ในประวัติศาสตร์
เรายินดีที่จะทำงานร่วมกับเพื่อนจากทุกสาขาอาชีพในประเทศไทยเพื่อปฏิบัติตามเป้าหมายในการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันระหว่างจีน-ไทยซึ่งผู้นำของทั้งสองประเทศได้บรรลุร่วมกัน เราจะสนับสนุนซึ่งกันและกัน และทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดบนเส้นทางสู่ความทันสมัยของแต่ละฝ่าย ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์จีน-ไทยให้ดียิ่งขึ้น และเขียนบทใหม่ของความสัมพันธ์จีน-ไทยที่เรียกว่า ‘จีน-ไทยใช่อื่นไกล พี่น้องกัน’
https://www.facebook.com/ChineseEmbassyinBangkok/