หมวดหมู่: การศึกษา

1066 Mahidol ผศดร กิตติพงษ์


ม.มหิดลค้นพบกลไกชีวนิเวศจุลชีพ ‘หวังลดเสี่ยงสัมผัสเชื้อ’ ไข้รากสาดใหญ่ หวังต่อยอด ‘ควบคุมไรอ่อน’

          ในความหลากหลายทางชีวภาพอันอุดมสมบูรณ์ อาจนำมาซึ่งความ “สุขใจ” ในธรรมชาติที่สวยงาม แต่บนพื้นดินอาจต้อง “ทุกข์ใจ” จากการติดเชื้อ “ไข้รากสาดใหญ่” (scrub typhus) จาก “ตัวไรอ่อน” (chiggers) ที่มีขนาดเล็กมากในสิ่งแวดล้อมจนไม่ทันได้ระวังตัว

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ ฉายศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาปรสิตหนอนพยาธิ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ศึกษากลไกแห่ง “ชีวนิเวศจุลชีพ” (Microbiome) ของ “ตัวไรอ่อน” ซึ่งเป็นพาหะก่อโรค “ไข้รากสาดใหญ่” 

          ชีววิทยาของไรอ่อนอาจถูกควบคุมบางส่วนด้วย “เชื้อแบคทีเรียร่วมอาศัย” (symbiont bacteria) โดยเปรียบเทียบจากกรณีตัวอย่างของ “การเป็นหมัน” ของ “ยุงตัวผู้” หรือสาเหตุที่ยุงพัฒนาเป็น “ตัวเมีย” ได้อย่างเดียว เกิดจากกลไกการควบคุมการกำหนดเพศของโฮสต์โดยเชื้อแบคทีเรียชนิดที่เกี่ยวข้อง

 

1066 Mahidol วิจัยไข้รากสาดใหญ่

 

          โดยพาหะก่อโรค “ไข้รากสาดใหญ่” มี 2 ระยะซึ่งต่างบทบาทกัน แบ่งออกเป็น “ระยะแรก” ที่เป็น “ตัวไรอ่อน 6 ขา” โดยนับเป็น “ปรสิตภายนอก” ที่ต้องเกาะอาศัยสิ่งมีชีวิตอื่นเพื่อกินอาหารและเจริญเติบโต ก่อนกลายเป็น “ตัวเต็มวัย 8 ขา” ที่มีลักษณะคล้าย “เห็บ” แต่ขนาดเล็กกว่ามาก ระยะตัวเต็มวัยนี้ไม่พบว่ามีความสำคัญทางการแพทย์

          โดยมากมักพบไรอ่อนในพื้นที่ป่า หรือพื้นที่รอยต่อระหว่างพื้นที่เกษตรกรรมกับพื้นที่ป่า มีการเปิดทางแผ้วถางป่า โดยพาหะมักเกาะอาศัยสัตว์ฟันแทะ จำพวกหนู กระรอก และกระแต รวมถึงมนุษย์ ซึ่งอาจติดเชื้อได้จากการถูกไรอ่อนกัดและปล่อยเชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยตรงได้เช่นกัน 

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ ฉายศิริ กล่าวต่อไปว่า “ตัวไรอ่อน” มีมากกว่า 3,000 ชนิดทั่วโลก แต่มีเพียง 35 ชนิดเท่านั้นที่พบรายงานว่าสามารถนำเชื้อก่อโรค “ไข้รากสาดใหญ่” โดยไรพาหะในกลุ่มนี้มีวงจรชีวิตประมาณ 2 - 3 เดือน ระยะตัวอ่อนเกาะอยู่บนโฮสต์ประมาณ 3 - 5 วัน 

          เมื่อมนุษย์ถูกไรอ่อนพาหะกัดจะมีอาการไข้ บางรายอาจจะมีแผลอักเสบคล้ายบุหรี่จี้ และอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้ในบางราย ซึ่งการศึกษา “ชีวนิเวศจุลชีพ” เป็นการศึกษาเชื้อแบคทีเรียร่วมอาศัยในไรอ่อนพาหะ ซึ่งองค์ความรู้ที่ได้อาจสามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้ในการควบคุมการแพร่พันธุ์ โดยการศึกษาวิจัยได้นำเอา “ตัวไรอ่อน” มาหา “ลำดับพันธุกรรมของชีวนิเวศจุลชีพ” แล้ว “ตรวจวิเคราะห์ในเชิงชีวสารสนเทศ” เพื่อศึกษาว่ามีแบคทีเรียร่วมอาศัยกลุ่มใดอยู่บ้าง

          โดยเป็นงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล (University of Liverpool) สหราชอาณาจักร ที่ได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Animal Microbiome” และ “Trends in Parasitology” พร้อมต่อยอดสู่การพัฒนาองค์ความรู้ในการ “ใช้แบคทีเรียร่วมอาศัยควบคุมไรอ่อน” ควบคู่ไปกับการพัฒนา “วัคซีนป้องกันโรค” ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาที่ลึกซึ้งเพิ่มขึ้น

          ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

 

 

1066

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!