หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV4 copy


การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 จังหวัด

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (คณะกรรมการนโยบายฯ) เสนอการกำหนดให้กรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา*

          สาระสำคัญของเรื่อง

          คณะกรรมการนโยบายฯ รายงานว่า

          1. พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา .. 2562 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการนโยบายฯ มีอำนาจกำหนดให้จังหวัดใดเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา โดยพิจารณาความเหมาะสมของการเป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาโดยคำนึงถึงความพร้อม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และโอกาสที่จะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนประกอบด้วย โดยอย่างน้อยจะต้องคำนึงถึงผลการดำเนินการที่ผ่านมาของพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาอื่นที่มีการจัดตั้งอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งก่อนที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา .. 2562 จะประกาศใช้ ในปี .. 2561 ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ใน 6 พื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล จังหวัดระยอง จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดเชียงใหม่ และสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี และจังหวัดนราธิวาส) มีสถานศึกษานำร่องสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน รวม 539 โรงเรียน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการศึกษารูปแบบใหม่โดยใช้จังหวัดเป็นฐาน ซึ่งภายหลังที่พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา .. 2562 ได้มีผลบังคับใช้ สถานศึกษานำร่องสามารถบริหารจัดการศึกษาได้อย่างอิสระและคล่องตัวมากขึ้น โดยที่ผ่านมามีผลการดำเนินงาน เช่น (1) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดสตูล มีเป้าหมายในการจัดการศึกษา คือพหุวัฒนธรรมนำเทคโนโลยี มีทักษะสื่อสาร รักษ์บ้านถิ่นเกิดเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการศึกษารูปแบบใหม่เป็นเลิศนวัตกรรมโดยมีนวัตกรรมการศึกษาที่โดดเด่น คือ โครงงานฐานวิจัย 14 ขั้นตอน ช่วยให้เด็กมีความสามารถด้านการคิด การสื่อสาร และนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ชุมชนได้และนวัตกรรมครูสามเส้า ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินการควบคู่ไปกับกระบวนการโครงงานฐานวิจัย เนื่องจากจังหวัดเห็นว่า หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของเด็กต้องประกอบไปด้วยครูจากสามส่วนประกอบด้วย ครูในโรงเรียน ครูชุมชน และครูพ่อแม่ (2) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง มีการจัดตั้งสถาบันการเรียนรู้ของคนทุกวัยจังหวัดระยอง (Rayong Inclusive Learning Acadamy : RILA) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีพของชาวระยอง มีการจัดการศึกษาด้วยกรอบหลักสูตรจังหวัดระยองหรือ Rayong MARCO ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้สู่ระยองเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน (3) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดปัตตานี มีกรอบหลักสูตรปัตตานี เฮอริเทจหรือ Pattani Heritage Curriculum Framework : PHCF เป็นนวัตกรรมที่นำมรดกทางวัฒนธรรมของจังหวัดปัตตานีมาจัดการศึกษา เพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์จังหวัด พลเมืองอัจริยะสู่เมืองอัจริยะ และมีกรอบหลักสูตรท้องถิ่นการเสริมสร้างสันติสุขในสังคมพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี หรือหลักสูตรสันติศึกษา” (4) พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดนราธิวาสมีการพัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษาของสถานศึกษานำร่องเพื่อจัดการศึกษาบนความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่กลมกลืน และลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงการศึกษา และมีคู่มือการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เป็นต้น

 

ais 720x100

ธกส 720x100

 

          2. ต่อมาคณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาความพร้อมของจังหวัด จำนวนและคุณสมบัติของคณะผู้เสนอ หลักเกณฑ์และวิธีการเสนอจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา .. 2564 ประกาศ วันที่ 10 กันยายน 2564 และในการประชุมคณะกรรมการนโยบายฯ [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 คณะกรรมการนโยบายฯ ได้มีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร จังหวัดจันทบุรี จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสงขลา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ด้วยเหตุผล ดังนี้ 

 

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา

เหตุผล/แนวทางการดำเนินการ

กรุงเทพมหานคร

มีการกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน เช่น 1) การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ โดยโรงเรียนดำเนินการปรับกรอบหลักสูตร มีพี่เลี้ยงทางวิชาการสนับสนุน มีการอบรมพัฒนาครู การเพิ่มทักษะการใช้นวัตกรรมการศึกษารูปแบบต่างๆ หรือเทคนิคการสอนใหม่ๆ และปรับกลไกการติดตามเพื่อความคล่องตัว เช่น กำหนดแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 2) การให้อิสระกับสถานศึกษาในการบริหารจัดการโดยวางแนวทางการบริหารด้านบุคลากรและงบประมาณที่สนับสนุนงานด้านวิชาการ ศึกษากฎระเบียบที่เอื้อให้เกิดความอิสระและเพิ่มความคล่องตัวเพื่อให้เกิดการปลดล็อกเพิ่มเติมและ 3) มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่และจัดตั้งภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาเพื่อระดมพลังพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของเด็กกรุงเทพมหานครโดยมีผู้แทนทำหน้าที่ในการประสานความร่วมมือเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนต่อไป

จังหวัดจันทบุรี

มีแนวทางการยกระดับคุณภาพการศึกษาในรูปแบบ Chan Education Shift Model (C = Change, H = Happiness, A = Agreement for Action, N = Network Instruction) 

Change คือ ยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน โดยมุ่งการลด ละ เลิก โครงการที่ไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งการปลดล็อกกฎ ระเบียบต่างๆ และมุ่งเน้นที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

Happiness คือ ผู้เรียนได้พัฒนาองค์รวมความรู้ ทักษะ สมรรถนะตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข สอดคล้องกับวิถีชีวิตสุขทุกวันที่จันทบุรี

Agreement for Action คือ จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ในระยะเวลา 3 ปี โดยกำหนดให้มีนวัตกรรมในการจัดการศึกษาพัฒนาผู้เรียนให้มีความสอดคล้องกับบริบทของตนเอง เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

Network Instruction คือ สถานศึกษาจัดการศึกษาด้วยตนเอง โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน อปท. และภาคประชาสังคม

จังหวัดภูเก็ต

มีแผนที่จะสร้างระบบการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของพื้นที่และความต้องการของประชาชน โดยมุ่งเน้นการสร้างคนและการศึกษา เช่น มุ่งเน้นให้เด็กภูเก็ตทุกคนต้องพูดได้มากกว่า 2 ภาษา รวมทั้งให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในโรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมในการบริหารทรัพยากรต่างๆ เพื่อนำจังหวัดภูเก็ตไปสู่ความก้าวหน้าและความเจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลกและในอนาคตจะต้องแข่งกับประเทศอื่นในเรื่องเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

จังหวัดสงขลา

มีแนวทางการเนินการที่ชัดเจน เช่น (1) การคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศเป็นฐานในการขับเคลื่อนการพัฒนาสถานศึกษา (2) มุ่งส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อปท. สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัด และ (3) มีสถานศึกษาในจังหวัดเข้าร่วมโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาซึ่งเป็นสถานศึกษาที่มีผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก

จังหวัดสุราษฎร์ธานี

มีเป้าหมายสำคัญที่จะยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยเป็นคนดีมีการศึกษาอย่างเท่าเทียมและมีสมรรถนะที่จำเป็นรองรับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต รวมทั้งให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือเด็กตกหล่นและเด็กที่มีปัญหาให้ได้เข้าสู่ระบบการศึกษาอย่างเสมอภาค

จังหวัดอุบลราชธานี

ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาการเข้าถึงบริการด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียม รวมทั้งมีการส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาจัดหลักสูตรที่ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนตามสมรรถนะและบริบท

 

          3. ประมาณการค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของกรุงเทพมหานคร และ 5 จังหวัด ตั้งแต่ปีงบประมาณ .. 2567 – 2569 รวมทั้งสิ้น จำนวน 124,500,000 บาท โดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะขอรับการจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

_________________________

พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา คือ พื้นที่ปฏิรูปการบริหารและการจัดการการศึกษาเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมการศึกษา ซึ่งเป็นพื้นที่ระดับจังหวัดที่สถานศึกษานำร่องสามารถจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่โดยสามารถบริหารจัดการได้อย่างอิสระ ยืดหยุ่น และคล่องตัว ไม่ต้องอิงกับกฎระเบียบที่ไม่จำเป็นหรือไม่เอื้อจากส่วนกลาง เช่น การเลือกใช้หลักสูตร/สื่อการเรียนการสอน การเลือกดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน เป็นต้น รวมทั้งมีกลไกการจัดการศึกษาระหว่างภาครัฐ อปท. ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12222

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

 

ใจฟู720x100px

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!