รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติ ตามที่สํานักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้
1. รับทราบรายงานผลการดําเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
2. เห็นชอบผลการพิจารณากลั่นกรองการขอยกเว้นการดําเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
3. อนุมัติหลักการ
3.1 ร่างกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2525 พ.ศ. ....
3.2 ร่างกฎกระทรวงกําหนดการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 7 พ.ศ. ....
3.3 ร่างกฎกระทรวงกําหนดเอกสารสําคัญที่ไม่อาจแสดงเป็น ภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น พ.ศ. ....
และให้ส่งสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของ กระทรวงกลาโหมและความเห็นของสํานักงานตํารวจแห่งชาติเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้ไขข้อความในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงกําหนดการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 7 พ.ศ. .... ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดําเนินการต่อไปได้
3.4 ให้สํานักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดําเนินการต่อไปด้วย
ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 20 วรรคหนึ่งซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐประกาศช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนติดต่อราชการตามมาตรา 10 และกำหนดระบบสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 16 นั้น จากข้อมูลการสำรวจสถานะของการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ในระยะแรก ข้อมูล ณ วันที่ 15 มีนาคม 2567 สามารถสรุปสถานะในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐซึ่งจำแนกตามประเภทหน่วยงานของรัฐได้ ดังนี้
ประเภทหน่วยงาน |
จำนวน หน่วยงาน ทั้งหมด |
ข้อมูลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ตามข้อ 2.4 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566) |
ข้อมูลที่รายงานในครั้งนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2567) |
||||
ดำเนินการแล้ว(หน่วยงาน) |
ร้อยละ |
ยังไม่ดำเนินการ (หน่วยงาน) |
ดำเนินการแล้ว (หน่วยงาน) |
ร้อยละ |
ยังไม่ดำเนินการ (หน่วยงาน) |
||
ประกาศช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับประชาชนติดต่อราชการตามมาตรา 10 แล้ว |
|||||||
1. ส่วนราชการ |
160 |
160 |
100 |
- |
160 |
100 |
- |
2. จังหวัด |
76 |
76 |
100 |
- |
76 |
100 |
- |
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
7,850 |
6,351 |
81 |
1,499 |
6,662 |
85 |
1,188 |
4. องค์การมหาชน |
61 |
61 |
100 |
- |
61 |
100 |
- |
5. รัฐวิสาหกิจ (ยกเว้นที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด) |
41 |
41 |
100 |
- |
41 |
100 |
- |
6. มหาวิทยาลัยรัฐ |
88 |
77 |
88 |
11 |
78 |
89 |
10 |
7. หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ |
13 |
11 |
85 |
2 |
12 |
92 |
1 |
8. หน่วยงานอื่นของรัฐ |
5 |
5 |
100 |
- |
5 |
100 |
- |
รวม |
8,294 |
6,782 |
82 |
1,512 |
7,095 |
85 |
1,199 |
ประเภทหน่วยงาน |
จำนวน หน่วยงาน ทั้งหมด |
ข้อมูลตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 ตามข้อ 2.4 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2566) |
ข้อมูลที่รายงานในครั้งนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2567) |
||||
ดำเนินการแล้ว(หน่วยงาน) |
ร้อยละ |
ยังไม่ดำเนินการ (หน่วยงาน) |
ดำเนินการแล้ว (หน่วยงาน) |
ร้อยละ |
ยังไม่ดำเนินการ (หน่วยงาน) |
||
กำหนดระบบการปฏิบัติหน้าที่โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 16 แล้ว |
|||||||
1. ส่วนราชการ |
160 |
160 |
100 |
- |
160 |
100 |
- |
2. จังหวัด |
76 |
76 |
100 |
- |
76 |
100 |
- |
3. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
7,850 |
6,210 |
79 |
1,640 |
6,542 |
83 |
1,308 |
4. องค์การมหาชน |
61 |
61 |
100 |
- |
61 |
100 |
- |
5. รัฐวิสาหกิจ (ยกเว้นที่เป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด) |
41 |
41 |
100 |
- |
41 |
100 |
- |
6. มหาวิทยาลัยรัฐ |
88 |
67 |
76 |
21 |
69 |
79 |
19 |
7. หน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ |
13 |
11 |
85 |
2 |
12 |
92 |
1 |
8. หน่วยงานอื่นของรัฐ |
5 |
5 |
100 |
- |
5 |
100 |
- |
รวม |
8,294 |
6,631 |
80 |
1,663 |
6,966 |
84 |
1,328 |
นอกจากนี้ การเผยแพร่ทะเบียนที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานในเว็บไซต์ของ สํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ณ วันที่ 18 มีนาคม 2567 พบว่า ส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ ได้ลงทะเบียนที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ครบแล้วทุกหน่วยงาน ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นลงทะเบียนแล้วจํานวน 5,749 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 73 ของจํานวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด
1.2 การขอยกเว้นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
(1) พระราชบัญญัติการทางการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 เป็นกฎหมายกลางที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการลดปัญหาและอุปสรรคทางข้อกฎหมาย และกฎระเบียบต่างๆ ให้ประชาชนสามารถยื่นคําขอหรือติดต่อใดๆ การติดต่อราชการระหว่างหน่วยงานของรัฐให้สามารถทําโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ตั้งแต่การยื่นเรื่อง/รับเรื่อง การติดต่อราชการ การส่ง/รับเอกสาร การแสดงเอกสารหลักฐาน การจัดทํา/ตรวจสอบฐานข้อมูลใบอนุญาต และการจัดเก็บเอกสารราชการ อย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กําหนดให้หน่วยงานของรัฐสามารถขอยกเว้นการดําเนินการ ดังกล่าวได้ใน 3 มาตรา” ได้แก่ (1) มาตรา 4 การขอยกเว้นไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฯ (2) มาตรา 7 การขอยกเว้นการยื่นคําขอรับบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ขอรับบริการ ต้องดําเนินการเองเฉพาะตัว และ (3) มาตรา 14 การขอยกเว้นการแสดงใบอนุญาตหรือเอกสาร หลักฐานเป็นภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น
(2) ภายหลังจากที่พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ ได้มีหน่วยงานเสนอขอยกเว้นการดําเนินการตาม พระราชบัญญัติดังกล่าว จํานวน 4 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการกงสุล กรมการปกครอง สํานักงาน ปลัดกระทรวงกลาโหม สํานักงานตํารวจแห่งชาติ กรมสรรพากร กรมที่ดิน ธนาคารแห่งประเทศไทย และสํานักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม รวม 355 เรื่อง ซึ่งนายกรัฐมนตรี (ในขณะนั้น) ได้มีคําสั่งเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 มอบหมายให้สํานักงาน ก.พ.ร. ร่วมกับ สคก. สํานักงานพัฒนา ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และ สพร. ร่วมกลั่นกรองและพิจารณาการขอยกเว้นดังกล่าว ซึ่งสํานักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานดังกล่าวได้พิจารณาการขอยกเว้นดังกล่าวแล้ว โดยเห็นควร ยกเว้น 51 เรื่อง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบผลการพิจารณาดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วยงานของรัฐ |
จำนวนที่ ข้อยกเว้น |
ผลการพิจารณา |
|
เห็นควรยกเว้น |
ไม่เห็นควร/ไม่เข้าข่ายยกเว้น |
||
1. กรมการกงสุล |
2 |
2 |
- |
2. กรมการปกครอง |
71 |
15 |
56 |
3. สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สำนักงานอัยการทหาร) |
1 |
1 |
- |
4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ |
191 |
2 |
189 |
5. กรมสรรพากร |
18 |
- |
18 |
6. กรมที่ดิน |
66 |
27 |
39 |
7. ธนาคารแห่งประเทศไทย |
5 |
4 |
1 |
8. สำนักงานปลัดกระทรวงงวัฒนธรรม |
1 |
- |
1 |
รวม |
355 |
51 |
304 |
ทั้งนี้ ผลการพิจารณาดังกล่าวเห็นควรยกเว้น เช่น การตรวจอนุญาตผู้โดยสารเดินทางเข้า-ออก ราชอาณาจักร เนื่องจากการดําเนินการดังกล่าวไม่สามารถยื่นคําขอล่วงหน้าได้ และเมื่อยื่นคําขอแล้วจะต้องมีการพิสูจน์หรือยืนยันตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ โดยผู้ยื่นคําขอสามารถรอรับการอนุญาตได้เลย และมีระยะเวลาการให้บริการตลอดทั้งกระบวนการไม่เกิน 1 วัน เป็นต้น และไม่เห็นควรยกเว้น เช่น งานตรวจลงตราและงานใบสําคัญถิ่นที่อยู่ เนื่องจากเป็นกระบวนการภายหลังการยื่นคําขอแล้ว การอุทธรณ์ เนื่องจากมีระยะเวลาการให้บริการเกิน 1 วัน และไม่สามารถรอรับการอนุญาตได้ เป็นต้น
(3) สคก. ได้จัดทําร่างกฎกระทรวงตามผลการพิจารณา การขอยกเว้นการดําเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ในข้อ 1.2 (2) แล้ว จํานวน 3 ฉบับ ได้แก่
(3.1) ร่างกฎกระทรวงกําหนดหน่วยงานของรัฐที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... มีสาระสําคัญเป็นการกําหนดให้พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ไม่ใช้บังคับแก่อัยการทหาร ในสังกัดกระทรวงกลาโหม (กห.)
(3.2) ร่างกฎกระทรวงกําหนดการอื่นที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 7 พ.ศ. .... มีสาระสําคัญเป็นการกําหนดการดําเนินการ ที่ประชาชนจะต้องดําเนินการด้วยตนเอง โดยไม่อาจดําเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ จํานวน 38 รายการ
(3.3) ร่างกฎกระทรวงกําหนดเอกสารสําคัญที่ไม่อาจแสดงมีสาระสําคัญเป็นการกําหนดให้หนังสือเดินทางเป็นเอกสารสําคัญที่ไม่อาจแสดงเป็นภาพทางอิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อื่น
2. การดำเนินการในระยะต่อไป
2.1 สํานักงาน ก.พ.ร. จะติดตามเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐดําเนินการ ตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 โดยประกาศช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับติดต่อราชการ และกําหนดระบบสําหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ครบถ้วนโดยเร็ว
2.2 สํานักงาน ก.พ.ร. และ สพร. ได้สื่อสาร สร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่อง ให้หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดําเนินการตามมาตรา 20 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ผ่านระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (www.info.go.th) เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลของภาครัฐได้อย่างเบ็ดเสร็จ ครบวงจร และเป็นช่องทางสําหรับหน่วยงานของรัฐในการรายงานผลการดําเนินการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบทุก 60 วัน
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 13 สิงหาคม 2567
8363