ขอความเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสาร ค.ศ. 1988 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (Protocol of 1988 relating to the International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974) และพิธีสาร ค.ศ. 1988 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแนวน้ำบรรทุก ค.ศ. 1966 (Protocol of 1988 relating to the International Convention on Load Lines, 1966)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีพิธีสาร ค.ศ. 1988 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (Protocol of 1988 relating to the International Convention for the Safety of Life at Sea (SOLAS) 1974] และพิธีสาร ค.ศ. 1988 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแนวน้ำบรรทุก ค.ศ. 1966 (Protocol of 1988 relating to the International Convention on Load Lines, 1966)
2. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการจัดทำภาคยานุวัติสาร (Instrument of Accession) เพื่อเข้าเป็นภาคีพิธีสารทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ยื่นต่อเลขาธิการองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization: IMO) (เลขาธิการ IMO) ต่อไป
สาระสำคัญ
1. เดิมประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (อนุสัญญา SOLAS 1974) เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2528 และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแนวน้ำบรรทุก ค.ศ. 1966 (อนุสัญญา Load Lines 1966) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536 ซึ่งมีสาระสำคัญครอบคลุม
(1) การตรวจเรือและอุปกรณ์ประจำเรือ (2) การออกใบสำคัญรับรอง และ (3) ข้อกำหนดเชิงเทคนิคที่เกี่ยวกับมาตรฐานโครงสร้างของเรือและอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเรือ (อนุสัญญา SOLAS 1974) และหลักเกณฑ์การกำหนดเส้นแนวน้ำบรรทุกและการบรรทุกของเรือ (อนุสัญญา Load Lines 1966) และต่อมาอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพิธีสาร ค.ศ. 1988 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 (พิธีสาร SOLAS 1988) และพิธีสาร ค.ศ. 1988 ของอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแนวน้ำบรรทุก ค.ศ. 1966 (พิธีสาร Load Lines 1988) ซึ่งการปรับปรุงแก้ไขดังกล่าวมุ่งเน้นการปรับปรุงกฎเกณฑ์ในส่วนของการตรวจเรือและอุปกรณ์ประจำเรือ รวมถึงใบสำคัญรับรองให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นและเป็นการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของรัฐเจ้าของธง โดยมีการปรับปรุงในส่วนที่สำคัญ เช่น
อนุสัญญา |
อนุสัญญาฉบับก่อนปรับปรุงแก้ไข |
อนุสัญญาฉบับปรับปรุงแก้ไข โดยพิธีสาร ค.ศ. 1988 |
||
อนุสัญญา SOLAS 1974 |
ชนิดของใบสำคัญรับรอง ปรับปรุงชนิดของใบสำคัญรับรองให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน |
|||
ใบสำคัญรับรอง มีดังนี้ (1) ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยเรือโดยสาร (2) ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของโครงสร้างเรือบรรทุกสินค้า (3) ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของอุปกรณ์เรือบรรทุกสินค้า (4) ใบสำคัญรับรองวิทยุโทรเลขของเรือสินค้าเพื่อความปลอดภัย (5) ใบสำคัญรับรองวิทยุโทรศัพท์ของเรือสินค้าเพื่อความปลอดภัย (6) ใบสำคัญรับรองการยกเว้น |
ใบสำคัญรับรอง มีดังนี้ (1) ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยเรือโดยสาร (2) ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของโครงสร้างเรือบรรทุกสินค้า (3) ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของอุปกรณ์เรือบรรทุกสินค้า (4) ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของอุปกรณ์วิทยุเรือบรรทุกสินค้า (5) ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยเรือบรรทุกสินค้า (6) ใบสำคัญรับรองการยกเว้น |
|||
อายุของใบสำคัญรับรองสำหรับเรือบรรทุกสินค้า เดิมใบสำคัญรับรองของเรือบรรทุกสินค้าแต่ละชนิดมีระยะเวลาที่สั้นและมีอายุการใช้งานที่แตกต่างกันส่งผลให้เจ้าของเรือต้องออกใบสำคัญรับรองใหม่หลายครั้ง จึงมีการขยายอายุของใบสำคัญรับรองของเรือบรรทุกสินค้าดังกล่าวและกำหนดให้มีอายุเท่ากันทุกชนิด เพื่อให้เจ้าของเรือสามารถดำเนินการออกใบสำคัญรับรองทั้งหมดได้ในคราวเดียวและสามารถใช้งานได้นานขึ้น |
||||
● ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยเรือโดยสารมีอายุไม่เกิน 12 เดือน |
คงเดิม |
|||
● ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของโครงสร้างเรือบรรทุกสินค้า มีอายุไม่เกิน 24 เดือน | ● ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของโครงสร้างเรือบรรทุกสินค้า มีอายุตามที่ทางการกำหนดซึ่งไม่เกิน 5 ปี | |||
● ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของอุปกรณ์เรือบรรทุกสินค้า มีอายุไม่เกิน 24 เดือน | ● ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของอุปกรณ์เรือบรรทุกสินค้า มีอายุตามที่ทางการกำหนดซึ่งไม่เกิน 5 ปี | |||
● ใบสำคัญรับรองวิทยุโทรเลขของเรือสินค้าเพื่อความปลอดภัย และใบสำคัญรับรองวิทยุโทรศัพท์ของเรือสินค้าเพื่อความปลอดภัยมีอายุไม่เกิน 12 เดือน | ● ใบสำคัญรับรองความปลอดภัยของอุปกรณ์วิทยุเรือบรรทุกสินค้า มีอายุตามที่ทางการกำหนดซึ่งไม่เกิน 5 ปี | |||
รอบการตรวจเรือและอุปกรณ์ต่างๆ ของเรือบรรทุกสินค้า กำหนดรอบการตรวจให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และเหมาะสมกับอายุของใบรับรอง |
||||
ไม่ได้ระบุ (เดิมไม่ได้ระบุรอบการตรวจเรือที่ชัดเจนโดยให้รัฐเจ้าของธงเป็นผู้กำหนดเอง) |
กำหนดการตรวจ 5 รูปแบบ ได้แก่ การตรวจครั้งแรก การตรวจเพื่อออกใบสำคัญรับรองใหม่ การตรวจตามรอบระยะเวลา การตรวจประจำปี และการตรวจเพิ่มเติม |
|||
การสลักหลังใบสำคัญรับรองเพื่อยืนยันว่าเรือลำนั้นได้รับการตรวจแล้ว เพิ่มให้มีการสลักหลังใบสำคัญรับรองได้ในกรณีการตรวจตามรอบระยะเวลาหรือการตรวจประจำปี |
||||
ไม่ได้ระบุ (เดิมไม่มีการตรวจตามรอบระยะเวลาและการตรวจประจำปี จึงไม่มีการสลักหลังใบสำคัญรับรอง) |
รัฐเจ้าของธงและรัฐภาคีสลักหลังใบสำคัญรับรองได้สำหรับกรณีการตรวจตามรอบระยะเวลาหรือการตรวจประจำปี |
|||
อนุสัญญา Load Lines 1966 |
การตรวจเรือ มีการกำหนดมาตรฐานของเส้นแนวน้ำบรรทุก โดยห้ามไม่ให้เส้นนี้เลือนหายไป |
|||
ไม่ได้ระบุ |
เครื่องหมายเส้นแนวน้ำบรรทุกได้ถูกจัดให้มีอย่างถูกต้องและถาวร |
|||
การสลักหลังใบสำคัญรับรองเพื่อยืนยันว่าเรือลำนั้นได้รับการตรวจแล้ว กำหนดเพิ่มให้รัฐภาคีสามารถสลักหลังใบสำคัญรับรองได้ในกรณีการตรวจประจำปี |
||||
ให้รัฐเจ้าของธงสามารถสลักหลังใบสำคัญรับรองได้เมื่อดำเนินการตรวจประจำปีเสร็จสิ้นแล้ว |
ให้รัฐเจ้าของธงและรัฐภาคีสามารถสลักหลังใบสำคัญรับรองได้เมื่อดำเนินการตรวจประจำปีเสร็จสิ้นแล้ว |
ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการภายในประเทศเป็นไปตามข้อกำหนดตามพิธีสารทั้งสองฉบับข้างต้น กระทรวงคมนาคม (คค.) จึงได้จัดทำกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการดังกล่าว (เช่น ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 19/2562 เรื่อง แบบใบสำคัญรับรองและแบบบันทึกรายการอุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ข้อบังคับกรมเจ้าท่าว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าธรรมเนียมการตรวจและการออกใบสำคัญรับรองแนวน้ำบรรทุก พ.ศ. 2565) โดยดำเนินการแล้วเสร็จในปี 2565 ดังนั้น คค. จึงเห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีความพร้อม ที่จะเข้าร่วมเป็นภาคีพิธีสารทั้งสองฉบับแล้ว
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าเป็นภาคีพิธีสารทั้ง 2 ฉบับ มีดังนี้
1. ทำให้ประเทศไทยสามารถกำหนดมาตรฐานและกลไกสำคัญในการตรวจเรือและการออกใบสำคัญรับรองของเรือไทย เพื่อยกระดับมาตรฐานและคุ้มครองความปลอดภัยของเรือไทยให้เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ รวมถึงสามารถควบคุมเรือต่างชาติที่เข้ามาในน่านน้ำของประเทศไทยได้อย่างสมบูรณ์
2. เพื่อให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์การดำเนินการตามข้อกำหนดของ MMO ในด้านการส่งเสริมความปลอดภัยของชีวิตในทะเลในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐชายฝั่งและรัฐเมืองท่า
3. เป็นการสร้างกรอบความร่วมมือด้านการตรวจเรือระหว่างประเทศ โดยในพิธีสารทั้ง 2 ฉบับ ได้มีบทบัญญัติให้รัฐภาคีสามารถดำเนินการตรวจเรือ ออกหรือสลักหลังในใบสำคัญรับรองได้ ถือเป็นการแก้ไขปัญหากรณีที่รัฐหนึ่งอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ไม่เพียงพอในการตรวจเรือ โดยให้สามารถร้องขอรัฐบาลของรัฐภาคีอื่นให้สามารถดำเนินการตรวจเรือได้
4. เป็นการสร้างความยืดหยุ่นในการตรวจเรือ และออกใบสำคัญรับรองมากขึ้น อันจะส่งผลดีต่อกิจการให้บริการของรัฐและกิจการเดินเรือของประเทศ โดยพิธีสารทั้ง 2 ฉบับ มีการกำหนดหลักการเรื่องช่วงเวลาการตรวจเรือ (Window Period) ในกรอบระยะเวลาที่กว้างมากขึ้น ซึ่งทำให้เรือสามารถสรรหาช่วงเวลา ที่เหมาะสมในการตรวจเรือได้มากขึ้น ช่วยให้กิจการการเดินเรือเป็นไปอย่างคล่องตัว ส่งผลดีต่อระบบทางทะเลและระบบเศรษฐกิจการขนส่งทางทะเลของประเทศในภาพรวม
5. ช่วยลดภาระของรัฐจากการมอบอำนาจให้องค์กรที่ได้รับการยอมรับ ให้สามารถดำเนินการตรวจเรือ ออกหรือสลักหลังในใบสำคัญรับรองได้ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหากรณีที่รัฐใดรัฐหนึ่งอาจมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ไม่เพียงพอในการตรวจเรือ
6. สามารถควบคุมมาตรฐานด้านการตรวจเรือของเรือต่างชาติที่เข้ามาในน่านน้ำไทย โดยเรือต่างชาติที่มีข้อบ่งชี้ชัดแจ้งว่า สภาพเรือ เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ใดไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบสำคัญรับรอง ก็สามารถกักเรือหรือให้เรือดำเนินการแก้ไขก่อนออกเดินทางได้ รวมทั้งสามารถแจ้งให้เมืองท่าถัดไปทราบถึงสภาพของเรือนั้นและอาจร้องขอให้เมืองท่าของรัฐอื่นๆ ดำเนินมาตรการควบคุมได้
7. พิธีสารทั้ง 2 ฉบับ อยู่ภายใต้หลักการไม่เลือกปฏิบัติ (No more favorable treatment) ซึ่งจะช่วยขจัดข้อได้เปรียบของประเทศที่ไม่เป็นรัฐภาคีโดยต้องบังคับใช้ข้อกำหนดของพิธีสารกับทุกรัฐอย่างเท่าเทียมกัน แม้มิได้เป็นภาคีพิธีสารก็ตาม
8. ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะสมาชิก IMO เนื่องจากการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความร่วมมือกับ IMO ในการส่งเสริมความปลอดภัยและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากการเดินเรือระหว่างประเทศ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 8 ตุลาคม 2567
10280