หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov แพทองธาร15


ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

          สาระสำคัญ

          ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายการขนส่งทางราง ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการมีหน้าที่ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาการขนส่งทางราง โครงการของหน่วยงานของรัฐในการประกอบกิจการขนส่งทางราง และแนวทางในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สินอื่นที่ได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการขนส่งทางราง กำหนดให้มีการจัดทำโครงการขนส่งทางรางประกอบด้วย 1) การจัดทำแผนพัฒนาการขนส่งทางรางเพื่อประโยชน์ในการกำหนดแนวเส้นทางเพื่อประกอบการจัดทำแผนพัฒนาการขนส่งทางราง 2) การเสนอโครงการการขนส่งทางรางโดยแยกเป็นกรณีรถไฟและรถไฟฟ้าให้จัดทำรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการและรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์โครงการเสนอต่อคณะกรรมการ และกรณีรถรางให้จัดทำรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์โครงการเสนอต่อผู้มีอำนาจกำกับดูแลตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ก่อนเสนอรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้ความเห็นชอบแล้วเสนอต่อคณะกรรมการ โดยโครงการใดที่มีเอกชนร่วมลงทุน ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน และ 3) การดำเนินการโครงการการขนส่งทางราง โดยกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือก่อให้เกิดภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อดำเนินการตามแผนพัฒนาการขนส่งทางราง กำหนดเขตระบบรถขนส่งทางรางและเขตปลอดภัยระบบขนส่งทางรางโดยกำหนดเงื่อนไขการก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นในเขตปลอดภัยระบบรถขนส่งทางราง รวมทั้งกำหนดข้อห้ามกระทำการใดๆ ที่อาจเป็นอันตรายหรือเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งทางราง กำหนดประเภทของใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) ใบอนุญาตประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่ง 2) ใบอนุญาตประกอบกิจการเดินรถขนส่งทางราง และ 3) ใบอนุญาตประกอบกิจการรางเพื่อการขนส่งและการเดินรถขนส่งทางราง กำหนดหน้าที่ให้ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางรางในการจัดให้มีประกันความเสียหาย หน้าที่ในการแจ้งเหตุที่จะทำให้การเดินรถขนส่งทางรางหยุดชะงัก เหตุฉุกเฉินหรืออุปสรรคต่อการขนส่งทางราง กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรเวลาการเดินรถขนส่งทางราง และไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งที่เกี่ยวกับการจัดสรรเวลาการเดินรถขนส่งทางราง กำหนดให้มีคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ของการขนส่งทางรางมีหน้าที่และอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติเหตุร้ายแรง และอุบัติการณ์ กำหนดให้มีผู้ตรวจการขนส่งทางรางมีหน้าที่และอำนาจตรวจสอบการประกอบกิจการขนส่งทางราง กำหนดให้รถขนส่งทางรางที่จะให้ในการประกอบกิจการขนส่งทางรางต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียนและกำหนดประเภทรถขนส่งทางรางที่ไม่ต้องจดทะเบียน ได้แก่ พระราชพาหนะและรถขนส่งทางทหาร กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารและผู้ใช้บริการโดยเฉพาะผู้ทุพพลภาพ ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และเด็ก

          ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการบริหารและการให้บริการระบบการขนส่งทางรางมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถให้บริการด้วยความถี่ที่เหมาะสมต่อความต้องการใช้บริการ ตลอดจนการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่นำไปสู่การเพิ่มสัดส่วนของระบบราง และสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้บริการการส่งเสริมด้านมาตรฐาน การให้บริการ และการซ่อมบำรุง โดยมีเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบการขนส่งทางราง การอำนวยความสะดวกในการขนส่งและมีอัตราค่าบริการต่อหน่วยที่เหมาะสม อันจะจูงใจให้เกิดการพัฒนาคุณภาพของระบบให้ดียิ่งขึ้น และการมีกฎหมายในการกำกับดูแลระบบการขนส่งทางรางจะทำให้เอกชนสามารถเข้ามาประกอบกิจการเดินรถขนส่งทางรางในเส้นทางที่มีความจุทางเหลืออยู่ได้ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันการประกอบกิจการขนส่งทางราง อีกทั้งจะก่อให้เกิดการขยายโครงข่ายทางรถไฟที่ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศเกิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ก่อให้เกิดการพัฒนาเมืองใหม่ ลดความแออัดของประชากรในเขตเมืองทำให้ประชาชนสามารถใช้บริการการขนส่งทางรางที่มีคุณภาพ อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตและภาคธุรกิจการท่องเที่ยว และช่วยลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเนื่องจากการขนส่งทางรางมีอัตราการปล่อยมลพิษน้อยกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล

          กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงบประมาณเห็นชอบในหลักการ โดยสำนักงบประมาณ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ใช้จ่ายในการบังคับใช้กฎหมายที่จะเกิดขึ้นในระยะ 3 ปีแรกจำนวน 427.88 ล้านบาท ซึ่งอาจส่งผลต่อภาระงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เห็นควรให้กรมการขนส่งทางรางเตรียมความพร้อมให้ครบถ้วนในทุกมิติ โดยคำนึงถึงภารกิจความจำเป็นความสามารถในการดำเนินงานความคุ้มค่าของค่าใช้จ่าย ความครอบคลุมของแหล่งเงินอื่นนอกเหนือจากงบประมาณ และจัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นอย่างประหยัดในการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามขั้นตอนต่อไป และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานฯ แล้ว คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้

          กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ และได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 8 ตุลาคม 2567

 

 

10267

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!