หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 7


ผลการประชุม Mekong-Korea International Water Forum ครั้งที่ 1 สาธารณรัฐเกาหลี

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุม Mekong-Korea International Water Forum ครั้งที่ 11 รวมทั้งมอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ติดตามผลการประชุมฯ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สทนช. รายงานว่า

          1. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เข้าร่วมการประชุม Mekong-Korea International Water Forum ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 5 – 6 ตุลาคม 2565 กรุงโซล เกาหลีใต้ ร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อม เกาหลีใต้ นายบัน คีมูน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำเกาหลี นายปาร์ค แจฮยอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ K-Water2 และผู้แทนประเทศสมาชิกประเทศลุ่มน้ำโขง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

                    1) การกล่าวถ้อยแถลงแสดงความยินดีในพิธีเปิดการประชุมฯ โดยไทยแสดงความยินดีที่ประเทศสมาชิกลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ ได้ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นอย่างดีมาโดยตลอด ซึ่งการประชุมในครั้งนี้จะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนในการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศใน อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกและความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน

                    2) การเข้าร่วมการอภิปรายในการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง (Panelist for the High-Level Dialogue) ในประเด็นเรื่องความร่วมมือด้านน้ำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและธรรมาภิบาลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขงภายใต้ความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ กล่าวถึงแนวทางในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เป็นความท้าทายสำคัญในการบริหารจัดการน้ำโดยมุ่งเน้นการกำหนดยุทธศาสตร์การศึกษาวิจัยร่วมกันเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการปรับตัว และเสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและการลงทุนของทุกประเทศในภูมิภาค

                    3) การประชุมหารือทวิภาคี ฝ่ายไทยได้เข้าร่วมประชุมหารือกับนายปาร์ค แจฮยอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ K-water เกี่ยวกับกรอบแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างไทย โดย สทนช. กับ K-water เกาหลีใต้ ซึ่งฝ่ายไทยแสดงความประสงค์เสริมสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่ง โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัยในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำที่ผนวกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้แนวคิด Bio-Circular-Green Economy (BCG) การดำเนินโครงการร่วมด้านน้ำการสนับสนุนและเข้าร่วมการประชุมของสภาน้ำแห่งเอเชีย (Asia Water Council: AWC) และการขยายผลความสำเร็จของโครงการที่มีการดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

AXA 720 x100

 

                    4) การหารือกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อสนับสนุนการจัดทำและลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำระหว่างไทย (โดย สทนช.) และลาว

                    5) การหารือกับเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำเกาหลีใต้ เพื่อแสดงความขอบคุณความร่วมมือที่ประเทศออสเตรเลียให้การสนับสนุนไทยในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรน้ำ ซึ่งเอกอัครราชทูตเครือรัฐออสเตรเลียประจำเกาหลีใต้ได้ขอให้ไทย โดย สทนช. สนับสนุนการดำเนินงานตามแผ่นงานในบันทึกความเข้าใจด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่าง สทนช. แห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลียเพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

                    6) การเยี่ยมชมโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของเกาหลีใต้ ได้แก่ โครงการสถานีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงซีฮวา ซึ่งเป็นสถานีโรงงานผลิตไฟฟ้าจากน้ำขึ้นน้ำลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก สามารถผลิตกระแสไฟฟ้ารองรับความต้องการการใช้ไฟฟ้าให้กับประชากรที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองได้ ในขณะเดียวกันยังใช้เป็นเขื่อนกั้นน้ำเพื่อผลิตน้ำเพื่อเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม และใช้เป็นแนวป้องกันพายุไต้ฝุ่นและสึนามิ รวมถึงบูรณาการการพัฒนาไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมบริเวณพื้นที่โครงการอีกด้วย และการเยี่ยมชมสถานีผลิตน้ำสะอาดฮวาซอง ซึ่งเป็นสถานีแห่งแรกในเกาหลีใต้ที่นำเทคโนโลยีปัญญาประติษฐ์มาใช้ในการผลิตน้ำสะอาด โดยสถานีดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ในการจัดหาน้ำประปาให้มีความเพียงพอต่อความต้องการในอนาคต

 

BANPU 720x100

 

          2. ผลลัพธ์ของการประชุม ที่ประชุมฯ ยินดีที่จะร่วมกันขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ ในด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้เป็นไปตามปฏิญญาแม่น้ำโขง-แม่น้ำฮัน เพื่อสถาปนาความเป็นหุ้นส่วนที่ครอบคลุม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของลุ่มน้ำโขงกับเกาหลีใต้ รวมถึงการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการบริหารจัดการน้ำโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเสริมสร้างเครือข่ายและการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างประเทศลุ่มน้ำโขงกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา การกำหนดวาระเกี่ยวกับการแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติสำหรับประเด็นด้านน้ำที่สำคัญในอนุภูมิภาค การระดมทุนสำหรับการดำเนินโครงการด้านน้ำ และการส่งเสริมขีดความสามารถของอนุภูมิภาคในการบริหารจัดการน้ำและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

________________________

1เป็นผลสืบเนื่องจากการประชุมกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับสาธารณรัฐเกาหลี (Mekong-ROK Summit) ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 นครปูชาน เกาหลีใต้ ซึ่งจัดประชุมคู่ขนานกับการประชุมสุดยอดอาเซียน-เกาหลีใต้ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 3 โดยประเทศไทยและเกาหลีใต้ได้มีการพัฒนาความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และได้มีการรับรองปฏิญญาแม่น้ำโขง-แม่น้ำฮันเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมซึ่งกำหนดทิศทางความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ในอนาคต

2K-water (The Korea Water Resources Corporation) เป็นหน่วยงานของรัฐในการพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างครอบคลุมและจัดหาน้ำสาธารณะและน้ำอุตสาหกรรมในเกาหลีใต้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12206

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!