ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. .... ตามที่ กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. 2548 เพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยกลิ่น ให้มีความถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมมากขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากโรงงานผลิตยาง ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562 อีกทั้งเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ
1. อก. จึงจำเป็นต้องยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. 2548 และยกร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. ... โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1.1 แก้ไขรายละเอียดถ้อยคำในส่วนของบทนิยาม ให้มีความชัดเจน และเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
1.2 เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "โรงงาน" เพื่อให้ครอบคลุมการประกอบกิจการโรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ครบถ้วน
1.3 เพิ่มประเภทของโรงงานที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายกฎกระทรวง รายการที่ 23 “โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยางอย่างหนึ่งอย่างใด หรือหลายอย่าง เฉพาะที่ใช้ยางธรรมชาติ” เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากโรงงานผลิตยาง ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ที่มีการกำหนดมาตรฐานค่าความเข้มกลิ่นของอากาศเสียที่ปล่อยทิ้งจากโรงงานผลิตยางออกสู่บรรยากาศ
1.4 แก้ไขวิธีการตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่น จากเดิมใช้วิธีการตามที่ American Society for Testing and Materials (ASTM) หรือ Japanese Industrial Standard (JIS) กำหนดไว้ เป็น วิธีการตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นโดยการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (sensory tests) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกฎกระทรวงเดิม และร่างกฎกระทรวงฯ ที่เสนอ มีความแตกต่างกันสรุปได้ ดังนี้
กฎกระทรวงเดิม |
ร่างกฎกระทรวงที่เสนอ |
|||||||||||||
|
ข้อ 1 ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานและวิธีการตรวจสอบกลิ่นในอากาศจากโรงงาน พ.ศ. 2548 |
|||||||||||||
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้ “กลิ่น” หมายความว่า สิ่งเจือปนในอากาศที่รู้ได้จมูกของคนหรือเครื่องมือวิเคราะห์ |
ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้ “กลิ่น” หมายความว่า สิ่งเจือปนในอากาศที่รู้ได้ด้วยจมูกของคนหรือวัดได้จากเครื่องมือวิเคราะห์ |
|||||||||||||
“ตัวอย่างกลิ่น” หมายความว่า ตัวอย่างอากาศที่มีกลิ่น บริเวณแหล่งกำเนิดกลิ่น ซึ่งได้จากการเก็บตัวอย่างอากาศขณะที่ได้รับกลิ่นตามวิธีการที่กำหนดในข้อ 4 หรือข้อ 7 แล้วแต่กรณี |
“ตัวอย่างกลิ่น” หมายความว่า ตัวอย่างอากาศที่มีกลิ่น บริเวณแหล่งกำเนิดกลิ่น ซึ่งได้จากการเก็บตัวอย่างอากาศขณะที่ได้รับกลิ่น |
|||||||||||||
“ค่าความเข้มกลิ่น” (odour concentration) หมายความว่า ค่าแสดงสภาพกลิ่นซึ่งเป็นอัตราส่วนการเจือจางตัวอย่างอากาศที่มีกลิ่นด้วยอากาศบริสุทธิ์จนเกือบจะไม่สามารถรับกลิ่นได้ กลิ่นที่แรงกว่าจะมีค่าความเข้มกลิ่นมากกว่า เพราะต้องเจือจางด้วยอากาศบริสุทธิ์ปริมาตรมากกว่า โดยทำการวิเคราะห์กลิ่นด้วยการดม (sensory test) ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ 7 |
“ค่าความเข้มกลิ่น” (odour concentration) หมายความว่า ค่าแสดงสภาพกลิ่นซึ่งเป็นอัตราส่วนการเจือจางตัวอย่างอากาศที่มีกลิ่นด้วยอากาศบริสุทธิ์ที่รู้ได้ด้วยจมูกของคนหรือค่าที่วัดได้จากเครื่องมือวิเคราะห์ |
|||||||||||||
-ไม่มี- |
“โรงงาน” หมายความว่า โรงงานในประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงานตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 (เพิ่มเติมประเภทโรงงาน) |
|||||||||||||
“เขตอุตสาหกรรม” หมายความว่า เขตพื้นที่ที่มีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการการผังเมือง หรือนิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเขตประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน |
“เขตอุตสาหกรรม” หมายความว่า พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือเขตประกอบการอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วย ว่าด้วยโรงงาน หรือโครงการจัดสรรที่ดินเพื่ออุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน |
|||||||||||||
“นอกเขตอุตสาหกรรม” หมายความว่า พื้นที่อื่น นอกเหนือจากพื้นที่เขตอุตสาหกรรม |
“นอกเขตอุตสาหกรรม” หมายความว่า พื้นที่อื่น นอกเหนือจากพื้นที่เขตอุตสาหกรรม |
|||||||||||||
ข้อ 2 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับกับโรงงานตามที่ระบุไว้ ในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ |
ข้อ 3 กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับกับโรงงานในประเภท ชนิด หรือขนาดของโรงงาน ตามกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 7 ตามที่ระบุในบัญชีแนบท้ายกฎกระทรวงนี้ (เพิ่มประเภทโรงงาน รายการที่ 23 โรงผลิตยางที่ใช้ยางธรรมชาติ) |
|||||||||||||
ข้อ 4 ตัวอย่างกลิ่นจากโรงงานต้องมีค่าความเข้มกลิ่นไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
การตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นที่บริเวณรั้วหรือขอบเขตภายในโรงงาน ให้เก็บตัวอย่างกลิ่นที่จุดห่างรั้วโรงงานหรือขอบเขตโรงงาน 1 เมตรในตำแหน่งใต้ทิศทางลมซึ่งพัดผ่านจุดที่เป็นแหล่งกำเนิดกลิ่น สำหรับการตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นที่ปล่องระบายอากาศของโรงงานให้เก็บตัวอย่างกลิ่น ตามวิธีการที่กำหนดในข้อ 7 |
ข้อ 5 อากาศที่ระบายออกจากโรงงานตามบัญชีในข้อ 3 ต้องมีค่าความเข้มของกลิ่นตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 5.1 กลิ่นจากโรงงานในรายการที่ 1 - 22 และ 24 ต้องมีค่าความเข้มกลิ่น ดังนี้ 5.1.1 กรณีในเขตอุตสาหกรรม ต้องมี (1) ค่าความเข้มกลิ่นที่บริเวณรั้วหรือขอบเขต อุตสาหกรรม ภายในโรงงานไม่เกิน 30 (2) ค่าความเข้มกลิ่นที่ปล่องระบายอากาศของโรงงานไม่เกิน 1,000 5.1.2 กรณีนอกเขตอุตสาหกรรม ต้องมี (1) ค่าความเข้มกลิ่นที่บริเวณรั้วหรือขอบเขตโรงงาน (2) ค่าความเข้มกลิ่นที่ปล่องระบายอากาศของโรงงาน 5.2 โรงงานในรายการที่ 23 ต้องมีค่าความเข้มกลิ่นที่บริเวณรั้วหรือขอบเขตภายในโรงงานไม่เกิน 30 ค่าความเข้มกลิ่นที่ปล่องระบายอากาศของโรงงาน ไม่เกิน 2,500 (เป็นไปตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2562) |
|||||||||||||
ข้อ 5 ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมจัดให้มีการตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นจากโรงงานเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียน จากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกลิ่นในอากาศจากโรงงานนั้น หรือกรมโรงงานอุตสาหกรรมสงสัยว่าเป็นโรงงาน ที่ระบายอากาศที่มีกลิ่นเกินมาตรฐานที่กำหนดในข้อ 4 เว้นแต่ในกรณีที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม เห็นว่าการดำเนินการดังกล่าวสำหรับโรงงานใด อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ทดสอบหรือในกรณีที่ไม่มีผู้ทดสอบ |
(นำไปกำหนดในกฎหมายลำดับรอง) |
|||||||||||||
ข้อ 6 ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมมีอำนาจแต่งตั้งคณะกรรมการทดสอบกลิ่นขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะ เพื่อดำเนินการตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นในอากาศจากโรงงาน ตามวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ ให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการทดสอบกลิ่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง |
(นำไปกำหนดในกฎหมายลำดับรอง) |
|||||||||||||
ข้อ 7 การตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นตามข้อ 4 ให้ใช้วิธีการตามที่ American Society for Testing and Materials (ASTM) หรือ Japanese Industrial Standard (JIS) ที่ได้กำหนดไว้ หรือวิธีการอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
ข้อ 6 การตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นตามกฎกระทรวงนี้ ให้ใช้วิธี sensory tests ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา การตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นด้วยวิธีอื่นนอกเหนือจากวิธีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 13 สิงหาคม 2567
8366