หมวดหมู่: พาณิชย์

APIL


ส่งออก เม.ย.67 พลิกกลับมาบวก 6.8% รวมยอด 4 เดือน โต 1.4%

          พาณิชย์ เผยส่งออก เม.ย.67 มีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 6.8% กลับมาเป็นบวก หลัง มี.ค. ติดลบ รวม 4 เดือน มูลค่า 94,273.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 1.4% ยันขาดดุลการค้าไม่น่าห่วง เหตุเป็นการนำเข้าพลังงาน ที่ราคาสูงขึ้น และส่วนใหญ่นำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบ คาด พ.ค. ยังเป็นบวก ได้แรงส่งจากการส่งออกสินค้าเกษตร และผลไม้ ส่วนเป้าทั้งปี ยังคงเดิม 1-2%

         นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกเดือน เม.ย.2567 มีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.8% กลับมาเป็นบวก หลังจากเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ติดลบครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ซึ่งเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 834,018 ล้านบาท การนำเข้ามีมูลค่า 24,920.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.3% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 903,194 ล้านบาท

ขาดดุลการค้า 1,641.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 69,176 ล้านบาท รวม 4 เดือน ของปี 2567 (ม.ค.-เม.ย.) การส่งออก มูลค่า 94,273.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.4% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 3,338,028 ล้านบาท การนำเข้า มูลค่า 100,390.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.9% คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 3,595,217 ล้านบาท ขาดดุลการค้า 6,116.9 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท มูลค่า 257,190 ล้านบาท

APIL

         สำหรับ การส่งออกที่เพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 2% โดยสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 12.7% แต่สินค้าเกษตร ลด 3.8% โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ ข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง ไก่แปรรูป เครื่องดื่ม ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และสิ่งปรุงรสอาหาร ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ทั้งนี้ 4 เดือนของปี 2567 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เพิ่ม 0.8%

         ส่วนสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 9.2% สินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนสินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ทั้งนี้ 4 เดือนของปี 2567 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม เพิ่ม 1.8%

            ทางด้านตลาดส่งออกสำคัญ ส่วนใหญ่กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ตลาดหลัก เพิ่ม 6.7% โดยสหรัฐฯ เพิ่ม 26.1% CLMV เพิ่ม 5.1% อาเซียน (5) เพิ่ม 3.7% และสหภาพยุโรป (27) เพิ่ม 20.2% แต่จีน ลด 7.8% และญี่ปุ่น ลด 4.1% ตลาดรอง เพิ่ม 14.4% โดยตลาดทวีปออสเตรเลีย เพิ่ม 18.6% เอเชียใต้ เพิ่ม 13% ตะวันออกกลาง เพิ่ม 17.8% แอฟริกา เพิ่ม 32.1% ลาตินอเมริกา เพิ่ม 41.9% รัสเซียและกลุ่ม CIS เพิ่ม 8.6% แต่สหราชอาณาจักร ลด 33.7% ตลาดอื่น ๆ ลด 68.5% อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ลด 79.3%

         นายพูนพงษ์กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออก เดือน พ.ค.2567 คาดว่าจะยังคงขยายตัวเป็นบวกได้ต่อเนื่อง โดยสินค้าเกษตรสำคัญ ทั้งข้าว ยางพารา จะยังส่งออกได้ดี และผลไม้ จะเป็นเดือนที่ส่งออกได้เพิ่มขึ้น หลังผลผลิตออกสู่ตลาดมาก และไตรมาส 2 ทั้งไตรมาส น่าจะเป็นบวกได้ 0.8-1% มีปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว เงินเฟ้อเริ่มเบาลง ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของหลายประเทศ มีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตร เพื่อความมั่นคงด้านอาหาร

แต่ยังต้องจับตาปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ต่อไป เพราะอาจจะมีผลกระทบต่อการส่งออกได้ ส่วนการขาดดุลการค้า เจาะลึกดูแล้ว เป็นการขาดดุลจากการนำเข้าสินค้าพลังงานที่ราคาสูงขึ้น แต่มีข้อดี คือ การนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบ รวมกันถึง 66% ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการผลิตและส่งออกในอนาคต และเป้าหมายทั้งปี ยังคงยืนยันที่ 1-2% เหมือนเดิม ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง

         นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งออกเดือน พ.ค.2567 คาดว่า จะยังคงขยายตัวได้ดี เพราะสินค้าเกษตรสำคัญ ทั้งข้าว ยางพารา และผลไม้ ที่จะกลับมาส่งออกได้ดีขึ้น จะช่วยผลักดันมูลค่าการส่งออก และสินค้ากลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน ก็จะยังเติบโตได้ดี โอกาสที่การส่งออกของเดือน พ.ค.และ มิ.ย. น่าจะทำได้ 24,500 ล้านเหรียญสหรัฐ มีโอกาสเป็นไปได้ และไตรมาส 2 จะขยายตัวได้ที่ 1% แต่ก็ต้องจับตาปัญหาความตึงเครียดในทะเลแดง และค่าระวางเรือ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นต้นทุนต่อการส่งออก

 

ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนเมษายน และ 4 เดือนแรกของปี 2567 🚢✈️🌏📊

การส่งออกของไทยในเดือนเมษายน 2567 มีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ (834,018 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 6.8 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 11.4 การส่งออกของไทยพลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง

สอดคล้องกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ที่มีมุมมองว่า เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวที่ดีจากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อภาคการผลิตทั่วโลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นหลายรายการ

ขณะที่ผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง แต่อานิสงส์ด้านราคาตามความต้องการของตลาดโลก ส่งผลให้การส่งออกสินค้าเกษตรบางรายการยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ การส่งออกไทย 4 เดือนแรกของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.4 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 3.7

 

📊 มูลค่าการค้ารวม

💰มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ

เดือนเมษายน 2567 การส่งออก มีมูลค่า 23,278.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.8 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 24,920.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.3 ดุลการค้า ขาดดุล 1,641.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 94,273.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 1.4 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 100,390.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.9 ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 6,116.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

💰มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท

เดือนเมษายน 2567 การส่งออก มีมูลค่า 834,018 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 903,194 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 14.2 ดุลการค้า ขาดดุล 69,176 ล้านบาท ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 3,338,028 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.2 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 3,595,217 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 9.7 ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 257,190 ล้านบาท

 

📊 การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนเมษายน อาทิ

1 - การส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร การบรรลุข้อตกลงขายข้าวล็อตแรก ในรูปแบบรัฐต่อรัฐกับอินโดนีเซีย ปริมาณ 55,000 ตัน โดยเริ่มส่งมอบตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป ตามนโยบาย “รักษาตลาดเดิม เพิ่มตลาดใหม่ ในการส่งออกไปต่างประเทศ” นอกจากนี้มีการผลักดันให้ผู้ส่งออกกล้วยหอมทองจากจังหวัดนครราชสีมา ใช้สิทธิ์ตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ให้มากขึ้น มีเป้าหมายการส่งออกจำนวน 120 ตันต่อเดือน และมีแผนที่จะส่งออกให้ได้ถึง 8,000 ตันต่อปี ในอนาคต

2 - การเจรจาความตกลงเพื่อเปิดตลาดสินค้าใหม่ ไทย-บังกลาเทศ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ทั้งสองประเทศร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเริ่มการเจรจา FTA ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยบังกลาเทศสนใจจะนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร อาทิ น้ำตาลทราย น้ำมันพืช และถั่วต่าง ๆ

3 - การอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคการส่งออกผลไม้ไปจีน การหารือกับผู้ว่าการมณฑลยูนนาน เพื่อขอให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่าน 3 เส้นทาง คือ ทางรถ ทางราง และทางเรือ ในช่วงฤดูการส่งออกผลไม้ของไทย

.

📊 แนวโน้มการส่งออกในปี 2567

กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะยังสามารถเติบโตได้ดีจากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และปัญหาเงินเฟ้อที่เริ่มบรรเทาลง ส่งผลดีต่อกำลังซื้อในหลายประเทศ ขณะที่สภาพอากาศแปรปรวนสร้างแรงผลักดันต่อราคาสินค้าเกษตรและความต้องการนำเข้าเพื่อความมั่นคงทางอาหาร แต่กดดันปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดโลก

นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีแนวโน้มขยายวงกว้าง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามประเมินสถานการณ์เป็นระยะ และจะทำงานร่วมกับทูตพาณิชย์ในแต่ละประเทศเพื่อแสวงหาแนวทางสร้างโอกาสและลดอุปสรรคในการส่งออกต่อไป

.

💾 ข้อมูลฉบับเต็ม: ในคอมเมนต์ด้านล่าง

.ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจการค้าก่อนใครที่

📌 LINE: @TPSO.tradeinsights

📌 Website : tpso.go.th

 

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!