หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov แพทองธาร10

ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลางรายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 7,125.63 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (มาตรการ EV3) ต่อไป ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ 

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          1. มาตรการ EV3 เป็นมาตรการที่กำหนดอยู่ในประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับสิทธิมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (ประกาศกรมสรรพสามิตฯ) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นการให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

เงินอุดหนุนสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภท

(1) กรณีรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท Battery Electric Vehicle (BEV) ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท จะได้รับ

          - เงินอุดหนุน 70,000 บาท สำหรับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์ชั่วโมง แต่น้อยกว่า 30 กิโลวัตต์ชั่วโมง

          - เงินอุดหนุน 150,000 บาท สำหรับรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่มีขนาดความจุของแบตเตอรี่ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป

(2) กรณีรถยนต์กระบะ ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 2 ล้านบาท จะได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท/คัน เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศและมีขนาดความจุของแบตเตอรี่ ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ชั่วโมงขึ้นไป (เฉพาะรถยนต์กระบะที่ผลิตในประเทศเท่านั้น)

(3) กรณีรถจักรยานยนต์ ประเภท BEV ที่มีราคาขายปลีกแนะนำไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับเงินอุดหนุน 18,000 บาท/คัน สำหรับรถจักรยานยนต์ประเภท BEV

ขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ ที่ผู้ขอเข้าร่วมมาตรการจะต้องดำเนินการเพื่อขอรับเงินอุดหนุน

(1) ผู้ขอเข้าร่วมมาตรการต้องเป็นบุคคลตามประกาศกรมสรรพสามิตฯ กำหนด และต้องเข้ามาทำข้อตกลงร่วมกับกรมสรรพสามิต เพื่อรับทราบและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กรมสรรพสามิตกำหนดและยอมรับบทลงโทษหากไม่สามารถดำเนินการได้

(2) ผู้เข้าร่วมโครงการจะต้องยื่นขอรับสิทธิตามมาตรการ EV3 สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าของตนเองเป็นรายรุ่น เพื่อให้กรมสรรพสามิตพิจารณาโครงสร้างราคาขายปลีกแนะนำก่อนและหลังรับสิทธิตามมาตรการ EV เพื่อให้ราคาขายปลีกแนะนำสำหรับยานยนต์รุ่นดังกล่าวสะท้อนถึงส่วนลดต่างๆ ที่ภาครัฐมอบให้ตามมาตรการดังกล่าว

(3) เมื่อผู้เข้าร่วมมาตรการ EV3 จำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่ได้รับสิทธิให้แก่ผู้บริโภคเรียบร้อยแล้ว จะต้องดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานการจำหน่ายและการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าคันดังกล่าว เพื่อส่งให้กรมสรรพสามิตเป็นรายไตรมาส เพื่อให้กรมสรรพสามิตดำเนินการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินอุดหนุนต่อไป

(4) กรมสรรพสามิตดำเนินการรวบรวมเอกสารหลักฐานพร้อมประเมินเงินอุดหนุนทั้งหมดในไตรมาสนั้นๆ เพื่อดำเนินการอนุมัติเบิกจ่ายเงินงบประมาณ หากได้รับการอนุมัติก็จะดำเนินการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้รับสิทธิต่อไป

 

          2. รถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่มีการจดทะเบียนภายในวันที่ 31 มกราคม 2567 ซึ่งได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3 จำนวน 90,380 คัน คิดเป็นเงินอุดหนุนทั้งสิ้น 11,917.34 ล้านบาท มีรายละเอียด ดังนี้

 

ประเภท

ช่วงระหว่างปี 2565 ถึงมกราคม 2567

จำนวน (คัน)

เงินอุดหนุน (ล้านบาท)

รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 70,000 บาท

1,166

81.62

รถยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 150,000 บาท

77,499

11,624.85

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับเงินอุดหนุน 18,000 บาท

11,715

210.87

รวม

90,380

11,917.34

 

          3. กค. (กรมสรรพสามิต) ได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับมาตรการ EV3 รวมทั้งสิ้น 6,947.78 ล้านบาท ดังนี้

 

แหล่งงบ

จำนวนเงิน (ล้านบาท)

(1) งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (ตามข้อ 2)

          - ปี 2565

          - ปี 2566

3,947.79

2,923.39

1,024.40

(2) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ .. 2567 แผนงานบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต (ตามข้อ 2.3)

3,000.00

รวม

6,947.78

เบิกจ่ายไปแล้ว แบ่งเป็น

(1) ค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามมาตรการ EV3

(2) ค่าใช้จ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV3

5,951.16

49.97

5,901.19

คงเหลือยังไม่ได้เบิกจ่าย

996.62

*กค. (กรมสรรพสามิต) แจ้งว่า ปัจจุบันเบิกจ่ายครบถ้วนแล้ว

 

 

          4. กค. แจ้งว่า ในการดำเนินการตามมาตรการ EV3 จะต้องใช้เงินอุดหนุน รวมทั้งสิ้น 11,917.34 ล้านบาท ซึ่ง กค. ได้รับงบประมาณไปแล้ว 6,947.78 ล้านบาท โดยได้เบิกจ่ายไปแล้ว 5,901.19 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการตามมาตรการ EV3) และต่อมาได้เบิกจ่ายเพิ่มเติมอีก จำนวน 996.62 ล้านบาท ทำให้ปัจจุบันยังคงเหลือที่ได้ไม่รับการจัดสรรรงบประมาณอีก จำนวน 5,019.53 ล้านบาท (11,917.34 – 6,897.81) ประกอบกับ กค. คาดว่าจะสามารถจำหน่ายและจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งผู้เข้าร่วมมาตรการ EV3 แจ้งข้อมูลต่อกรมสรรพสามิตว่ามีความพร้อมสำหรับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าประเภทรถยนต์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2567 เป็นต้นไป และหากสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศได้แล้วก็จะขอรับสิทธิตามมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ประเภทรถยนต์และรถจักรยานยนต์อีกจำนวน 16,500 คัน วงเงิน 2,475 ล้านบาท จึงทำให้ กค. ต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินมาตรการ EV3 รวมทั้งสิ้น 7,494.53 ล้านบาท ซึ่ง สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 7,125.63 ล้านบาทแล้ว 

          5. มาตรการ EV3 จะช่วยส่งเสริมให้เกิดความต้องการใช้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยการสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ามีราคาลดลงใกล้เคียงกับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ประเภทเครื่องยนต์สันดาปภายในและช่วยสร้างแรงจูงใจให้มีการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศเพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคและช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และช่วยลดให้ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ด้วยการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงประเภทฟอสซิลที่ก่อให้เกิดมลภาวะ 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 24 กันยายน 2567

 

 

9666

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX


TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!