หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 49


ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และมอบหมายให้ กต. แจ้งต่อ ฝ่ายสหภาพยุโรปเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ (Laissez–Passer) ที่ออกโดยสหภาพยุโรป ว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับ ตามที่ กต. เสนอ 

          ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          กต. เสนอว่า

          1. โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เห็นชอบความตกลงระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับสหภาพยุโรปว่าด้วยการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ ที่ออกโดยสหภาพยุโรปว่าเป็นเอกสารการเดินทางที่สมบูรณ์ ตามที่ กต. เสนอ และมอบหมายให้ กต. และกระทรวงมหาดไทย (มท.) พิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ และระเบียบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ในโอกาสแรก

          2. ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและสหภาพยุโรปได้ลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าว โดยร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการยอมรับแลสเซ-ปาสเซ ที่ออกโดยสหภาพยุโรป หรือ EU เป็นเอกสารการเดินทางของเจ้าหน้าที่ EU ที่สมบูรณ์เทียบเท่ากับหนังสือเดินทางสำหรับการเดินทางเข้ามาในไทย โดยผู้ที่ถือแลสเซ-ปาสเซ เข้ามาในไทยจะต้องเคารพกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่มีผลใช้บังคับในไทย

          3. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1 กต. และ มท. จึงได้ร่วมกันยก ร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ขึ้น ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 โดยปรับเพิ่มเฉพาะถ้อยคำว่า “หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป” และ “หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป” เพื่อให้สอดคล้องกับความตกลงฯ ดังนี้

 

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา .. 2545

 

ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ กต. เสนอ

ข้อ 3 การตรวจลงตราประเภททูต ให้จำกัดเฉพาะ การขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) การปฏิบัติหน้าที่ทางทูตหรือกงสุล

(2) การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ

ข้อ 3 วรรคสอง

 

● ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ 3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา .. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

 

ทั้งนี้ ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูต ยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตรา สำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ แล้วแต่กรณี   ทั้งนี้ ให้ผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปยื่นขอรับการตรวจลงตรา ต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป แล้วแต่กรณี

ข้อ 4 การตรวจลงตราประเภทราชการ

 

● ให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา .. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

การตรวจลงตราประเภทราชการ ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ โดยผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการ ต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตรา สำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูต หรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือองค์การหรือหน่วยงานสหประชาชาติ แล้วแต่กรณี   การตรวจลงตราประเภทราชการ ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ โดยผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางราชการหรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทย พร้อมกับหนังสือขอรับการตรวจลงตราสำหรับผู้นั้นจากกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูตหรือสถานกงสุลของประเทศผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ หรือองค์การ หรือหน่วยงานสหประชาชาติ หรือหน่วยงานสหภาพยุโรป แล้วแต่กรณี

ข้อ 10 การตรวจลงตราประเภทอัธยาศัยไมตรี ให้จำกัดเฉพาะการขอรับการตรวจลงตราเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 10 (1) “การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ เพื่อการอื่น นอกจากที่ระบุในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4”

 

● ให้ยกเลิกความในข้อ 10 (1) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา .. 2545 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน

การขอรับการตรวจลงตราของผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหประชาชาติที่เทียบเท่าหนังสือเดินทางทูตหรือหนังสือเดินทางราชการ หรือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรป เพื่อการอื่นนอกจากที่ระบุในข้อ 3 (1) หรือ (2) หรือข้อ 4”

 

          ทั้งนี้ ผู้ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปสามารถยื่นขอรับการตรวจลงตรา ตามบทบาทหน้าที่และวัตถุประสงค์ของการพำนักในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (ก.) ประเภททูต (ข.) ประเภทราชการ และ (ค.) ประเภทอัธยาศัยไมตรี โดยจะบังคับใช้กับบุคคลในครอบครัวที่ถือหนังสือเดินทางสหภาพยุโรปด้วย 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 4 มิถุนายน 2567

 

 

6126

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!