หมวดหมู่: คลัง

1aaa พรชัย ฐีระเวช


การสัมมนาวิชาการสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ครั้งที่ 3/2565

      นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยผลการสัมมนาวิชาการสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน หัวข้อ ‘คุ้มครองการเงินไทยในยุค Next Normal ครั้งที่ 3/2565 ที่จัดขึ้นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันพุธที่ 17 สิงหาคม 2565 เวลา 08.00 – 12.30 น.

     โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความมั่นใจในประเด็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ทั้งในด้านการคุ้มครองเงินฝาก การตรวจสอบข้อมูลเครดิต การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ผลิตภัณฑ์การลงทุน และการค้ำประกันสินเชื่อแก่ SME เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถบริหารจัดการทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมสัมมนาและประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาจำนวน 148 คน

     ประกอบด้วยประชาชน ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดตรัง กระบี่ พังงา และสตูล โดยมีนางสาวสุภัค ไชยวรรณ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นผู้กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ บทบาทของกระทรวงการคลังกับนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบัน บทบาทของกระทรวงการคลังในการดำเนินนโยบายด้านการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงินเพื่อเสริมความมั่นคงให้แก่ระบบการเงินของประเทศทั้งในด้านการคุ้มครองเงินฝาก การดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา และการกำกับดูแลระบบการประกันภัย

      การสัมมนาดังกล่าว ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย 1) นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) 2) นางวีระนงค์ ฉ่ำทรัพย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด 3) นางโสภี สงวนดีกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ 4) นางสาวสาริกา อภิวรรธกกุล ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมความรู้ตลาดทุนและศูนย์ประสานงานต่างจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ 5) นายประเสริฐ กองวัฒนานุกูล ผู้จัดการเขต สำนักงานเขตภาคใต้ตอนล่าง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยมี นายประยุทธ ไหวดี เศรษฐกรปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่กองนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ สาระสำคัญของการสัมมนา ประกอบด้วย

       1) นโยบายการคุ้มครองเงินฝากในภาพรวม อำนาจหน้าที่ พันธกิจ บทบาทของ สคฝ. ในการดำเนินนโยบายด้านการคุ้มครองเงินฝาก ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความคุ้มครอง ประโยชน์ของการคุ้มครองเงินฝากเพื่อเสริมสร้าง ความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินเพื่อกระจายความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทน วิธีการกระจายเงินออมไปยังทรัพย์สินต่างๆ เพื่อเอาชนะเงินเฟ้อในระยะยาว และการจ่ายคืนเงินฝาก สคฝ. ซึ่งรับข้อมูลผู้ฝากเงินจากสถาบันการเงินที่อยู่ในความคุ้มครองจะจ่ายคืนผ่านทางพร้อมเพย์และเช็คทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ในบัตรประชาชนให้แก่ผู้ฝาก ซึ่งการจ่ายเงินผ่านทางพร้อมเพย์จะทำให้ได้รับเงินคืนรวดเร็วกว่า ทั้งนี้ วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท ต่อ 1 รายผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน สามารถคุ้มครองผู้ฝากได้กว่าร้อยละ 98 ของผู้ฝากทั้งหมด สำหรับผู้ฝากที่มีเงินเกินกว่าวงเงินคุ้มครอง เงินที่เหลือจะได้รับคืนภายหลังการชำระบัญชี ซึ่งได้จากการขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินนั้น โดย สคฝ. จะทำการเฉลี่ยคืนตามทรัพย์สินที่เหลืออยู่

       2) การดำเนินงานและกลไกการกำกับดูแลของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ประกอบด้วย การทำความเข้าใจพื้นฐานและข้อมูลที่ใช้พิจารณาการกู้เงิน ความสำคัญของข้อมูลเครดิต ตลอดจนตอบคำถามเกี่ยวกับ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ที่พบได้บ่อย เช่น บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ไม่ได้มีหน้าที่ขึ้นแบล็คลิสต์จากข้อมูลที่สถาบันการเงินส่งให้ เป็นต้น ทั้งนี้ ข้อมูลเครดิตที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลมี 2 ส่วน ประกอบด้วย ข้อมูลที่บ่งชี้ตัวตนของลูกค้า และข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระสินเชื่อ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี

     รวมถึงข้อมูลที่เครดิตบูโรไม่จัดเก็บ ได้แก่ ข้อมูลผู้ค้ำประกัน ข้อมูลรายได้ ข้อมูลบัญชีเงินฝาก เป็นต้น พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบเครดิตบูโรด้วยตนเองผ่านทางออนไลน์ ในแอปพลิเคชัน ‘‘ทางรัฐ’’ หรือตู้บริการอเนกประสงค์ภาครัฐ (ตู้คีออส) พร้อมทั้งแนะนำเพิ่มเติมว่า กรณีรายงานข้อมูลเครดิตไม่ถูกต้อง สามารถติดต่อสถาบันการเงินที่นำส่งข้อมูล หรือ สามารถติดต่อ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เพื่อประสานงานกับสถาบันการเงินที่นำส่งข้อมูลให้ต่อไป

      3) การคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเหตุผลในการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินประโยชน์จากการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ภัยทางการเงิน และกระบวนการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกอบด้วย งานให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ซึ่งกรณีที่ร้องเรียนได้ ได้แก่ ประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำธุรกรรมกับธนาคาร ไม่ได้รับผลิตภัณฑ์หรือบริการตรงกับความต้องการ

     และไม่ได้รับการบริการในระยะเวลาที่เหมาะสม สามารถร้องเรียนศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) ได้ที่สายด่วน 1213 เป็นต้น งานส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินในภาคใต้ คือ โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชนเป็นบริการให้คำปรึกษาเรื่องการแก้ไขหนี้และความรู้ทางการเงินแก่ลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ และงานส่งเสริมการกำกับดูแลสถาบันการเงินในด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการอย่างเป็นธรรม

      4) การลงทุนเพื่อความมั่นคงทางการเงิน มีเนื้อหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ บทบาทของ ก.ล.ต. ตลาดทุนไทยในภาพรวม พร้อมทั้งชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการลงทุน และหลักการเริ่มลงทุนด้วยหลัก 3 รู้ ได้แก่ 1) รู้เรา รู้ว่ารับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ในระดับใด รู้เป้าหมายการเงิน 2) รู้เขา รู้จักผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าไปลงทุนว่ามีการจ่ายผลตอบแทนและความเสี่ยงระดับใด 3) รู้ระวัง รู้จักวิธีปกป้องเงินออมจากภัยการเงิน

      พร้อมทั้งยกตัวอย่างภัยกลโกงในรูปแบบต่างๆ เช่น แชร์ลูกโซ่ กลโกงสร้างโปรไฟล์ปลอมหลอกให้โอนเงิน การล้มกระดานซึ่งเป็นกลโกงที่พบได้บ่อยในสินทรัพย์ดิจิทัลโดยหลอกให้เหยื่อมาลงทุนและถอนเงินออกจนหมด กลโกงเว็บไซต์ปลอม กลโกงหลอกคลิกลิงก์ เป็นต้น รวมถึงให้ความรู้เกี่ยวกับประเภททรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุนรวม สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นต้น รวมถึงความเสี่ยงและผลตอบแทน

      5) บทบาทและภารกิจของ บสย. ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับขั้นตอนการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ให้แก่ผู้ประกอบการที่ขอสินเชื่อกับธนาคาร โดย บสย. ให้บริการค้ำประกันสินเชื่อแก่ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน โดย SMEs ดังกล่าวต้องผ่านการคัดกรองความเสี่ยงตามเกณฑ์ที่ บสย. กำหนด และประกอบกิจการโดยชอบด้วยกฎหมาย

     โดยสรุป การสัมมนาวิชาการสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน อันจะสร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนและระบบเศรษฐกิจในภาพรวม

          กองนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3691

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!