หมวดหมู่: วิเคราะห์-เศรษฐกิจ

1บรรยง KKBank


‘บรรยง’ ชี้โครงสร้างประเทศไทย ทำให้ประเทศติดกับดักทางเศรษฐกิจและพัฒนาช้า
          บรรยง พงษ์พานิช วิเคราะห์สาเหตุการพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยช้าและติดกับดัก นานนับ 10 ปี เนื่องจากโครงสร้างของรัฐไทยขนาดใหญ่ ไม่มีการแข่งขัน ชี้ไทยควรเร่งแก้ปัญหาด้วยการปรับโครงสร้างใหม่ ใช้ดัชนี 5 ตัววัด เพื่อสร้างความมั่งคั่งและการทั่วถึง

          นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร, ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ประเทศไทย, ศิษย์เก่าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยถึงสาเหตุที่ประเทศไทยมีการพัฒนาช้า เนื่องจากโครงสร้างรัฐไทยมีขนาดใหญ่ มีบทบาทและอำนาจมาก ทำให้เกิดการคอรัปชั่น หากย้อนหลังกลับไปตั้งแต่ พ.ศ. 2500 – พ.ศ. 2555 ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาจนกลายเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งอันดับ 3 ของอาเซียน อัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 9 ต่อปี แต่ช่วง พ.ศ. 2555 - ปัจจุบัน ตลอดระยะเวลา 10 ปี ประเทศไทยกลับเติบโตได้เชื่องช้า มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยเพียงร้อยละ 3 ต่อปีหรือไม่เกิน ร้อยละ 5 ต่อปี ขณะที่ประเทศอื่นเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6-10 ต่อปี
          “ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 130 ล้านคน มีข้าราชการเพียง 5 แสนคน ในขณะที่จำนวนประชากรไทย 67 ล้านคนข้าราชการ 2.2 ล้านคน ทำให้การบริหารจัดการภาครัฐสูงมาก เฉพาะเงินเดือนและสวัสดิการสูงถึง 8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP)”
          ส่วนงานที่ภาครัฐรับผิดชอบส่วนใหญ่ในประเทศเป็นแบบผูกขาด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานมักต่ำกว่าภาคเอกชนเพราะขาดการแข่งขัน เช่น บริการพื้นฐานทำโดยรัฐวิสาหกิจ งบประมาณ 50-60 ล้านล้านบาท มากกว่างบประมาณแผ่นดิน 1 เท่าตัว รัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจผูกขาดก็มีกำไร แต่รัฐวิสาหกิจที่ต้องแข่งขันกับเอกชนก็ขาดทุนย่อยยับ ด้านการศึกษาไทยคุณภาพต่ำ เพราะโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนรัฐ 75% รัฐใช้งบประมาณ 400,000 ล้านต่อปี ยากที่จะมีประสิทธิภาพ
          นายบรรยง กล่าวต่อว่า การแก้ปัญหาดังกล่าวควรลดทั้งบทบาท ขนาด อำนาจ พร้อมทั้งแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นเอกชน เนื่องจากการแข่งขันในระบบทุนนิยมที่สมบูรณ์ สามารถสร้างนวัตกรรม สร้างประโยชน์ สร้างให้มีประสิทธิภาพมากกว่าคู่แข่ง มีแรงจูงใจให้มนุษย์ทำประโยชน์

          ทั้งนี้มีดัชนีสำคัญ 5 ตัว ที่ชี้วัดความมั่งคั่ง
          1. ดัชนีวัดรายได้ต่อหัวต่อปี (GDP per capita)
          2. ดัชนีวัดความกระจายความมั่งคั่ง (Gini Coefficient)
          3. ดัชนีการเป็นประชาธิปไตย (Democracy Matrix)
          4. ดัชนีการเป็นระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่สมบูรณ์ (Index of Economic Freedom)
          5. ดัชนีวัดความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
          “ประเทศไทย มีดัชนีความมั่งคั่งอันดับที่ 100 รายได้ต่อคนต่อปี อันดับที่ 100 วัดจาก 180 ประเทศทั่วโลก ถือว่าแย่มาก เมื่อเทียบกับระบบเศรษฐกิจ ไทยระบบเศรษฐกิจใหญ่กว่าสิงคโปร์ เพราะคนมากกว่า 10 เท่า แต่รายได้น้อยกว่า 8 เท่า ส่วนดัชนีความเป็นประชาธิปไตย ก่อนที่จะมีการปฏิวัติอยู่อันดับ 70 หลังเกิดปฏิวัติอยู่ในอันดับที่ 139 ของโลก ส่วนดัชนีระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่สมบูรณ์อยู่ในอันดับที่ 80 ดังนั้นต้องแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ด้วยการเริ่มจากจากยอมรับปัญหาอย่างตรงไปตรงมา จงเผชิญความจริงอย่างที่มันเป็น ไม่ใช่อย่างที่มันเคยเป็น หรืออย่างที่อยากให้เป็น Face fact as it is, not as it was, or as you wish it to be”
          “ในปี พ.ศ. 2566 คาดหวังว่า เราจะได้รัฐบาลที่ตระหนักรู้ถึงปัญหาพอสมควร และแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้าง ด้วยการเปลี่ยนแปลงแบบปฏิรูป Reform ไม่ใช่การปฏิวัติ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”นายบรรยงกล่าว
          ผู้สนใจ สามารถติดตามรับชมเพิ่มเติมได้ทาง YouTube Channel: Economics Chulalongkorn หรือรับฟังทาง Podcast: Econ Connect
Spotify: https://open.spotify.com/show/0gsdDsFgrYywsHvskwqR5X
Podbean: https://www.podbean.com/pu/pbblog-m7t59-ed443a

 

Click Donate Support Web  

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!