หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov แพทองธาร10

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติ อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้พิจารณาตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้ง ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 

          สาระสำคัญ

          เนื่องจากการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศโดยมีกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการแก้ไขปัญหาขยะในภาพรวมของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยโดยออกข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติซึ่งใช้กรอบอัตราค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตหนังสือรับรองการแจ้ง และการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย พ.ศ. 2559 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม2 แต่การจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายที่แท้จริงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยส่งผลให้การบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ ยังขาดกลไกทางกฎหมายที่ส่งเสริมให้ประชาชนคัดแยกขยะมูลฝอยก่อนทิ้งและการส่งเสริมให้มีการจัดการมูลฝอยจนปราศจากมูลฝอย (zero waste) ณ แหล่งกำเนิด 

          ประกอบกับปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับการเก็บ ขน กำจัดขยะมูลฝอยจากบ้านเรือน รวมทั้งไม่ได้กำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย สำหรับ 1) บุคคล 2) ชุมชน และ 3) หมู่บ้าน ที่สามารถคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยได้ตามที่กำหนด และเพื่อให้องค์กรปกครองถิ่นมีงบประมาณเพียงพอในการบริหารจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทยจึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มาเพื่อดำเนินการโดยอาศัย อำนาจตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 โดยได้ปรับแก้ไขจากร่างกฎกระทรวงที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 มีนาคม 2560) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำในการเก็บค่าธรรมเนียมในการเก็บ ขน และยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยจะกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมให้แตกต่างกันโดยคำนึงถึงปริมาณสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ระยะเวลาการจัดเก็บ ลักษณะการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย รวมทั้งต้นทุนและความคุ้มค่าในการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ซึ่งเปรียบเทียบกับอัตราการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยที่ผ่านมา สรุปดังนี้ 

              1.1 กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ที่ราชการท้องถิ่นมีหน้าที่ออกข้อกำหนดของท้องถิ่นให้เอกชนดำเนินการแทน ต้องไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียม ดังนี้ 

 

 

รายการ

 

กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต หนังสือรับรองการแจ้ง และการให้บริการในการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย .. 2559

 

ร่างกฎกระทรวงที่ มท. เสนอ

1.

การรับทำการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

 

5,000 บาท

(ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต)

 

5,000 บาท

(ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต)

2.

การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

 

7,500 บาท

(ใบอนุญาตมีอายุ 1 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต)

 

37,500 บาท

(ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต)

3.

การหาประโยชน์จากการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย

 

ไม่มี

 

25,000 บาท

(ใบอนุญาตมีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต)

 

              1.2 กำหนดค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ของส่วนราชการท้องถิ่น หน่วยงานของรัฐ หรือเอกชนที่ราชการท้องถิ่นมอบหมายให้ดำเนินการแทน (กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำและกำหนดหลักเกณฑ์ปริมาณมูลฝอยหรือสิ่งปฏิกูลใหม่) ดังนี้

 

ประเภทค่าธรรมเนียม

 

ร่างกฎกระทรวงที่ มท. เสนอ

1. รายเดือน

 

 

     1.1 การเก็บและขนมูลฝอย

           - กรณีปริมาณมูลฝอยต่อเดือนไม่เกิน 120 กิโลกรัม หรือ 600 ลิตร หรือ 0.6 ลูกบาศก์เมตรให้เดือนละ

 

 

- 35 บาท แต่ไม่เกิน 102 บาท หากมีปริมาณมากกว่า ให้เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็นหน่วยตามอัตราที่กำหนด (เดิมที่ สคก. เคยตรวจพิจารณา 60 บาท แต่ไม่เกิน 102 บาท)

     1.2 การกำจัดมูลฝอย

           - กรณีปริมาณมูลฝอยต่อเดือนไม่เกิน 120 กิโลกรัม หรือ 600 ลิตร หรือ 0.6 ลูกบาศก์เมตรให้เดือนละ

 

 

- 40 บาท แต่ไม่เกิน 70 บาท หากมีปริมาณมากกว่า ให้เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเป็นหน่วยตามอัตราที่กำหนด (คงเดิมตามร่างที่ สคก. ตรวจแล้ว)

2. เป็นครั้งคราว

 

 

     2.1 การเก็บและขนมูลฝอย

           - การเก็บ หรือการกำจัดมูลฝอยเป็นรายครั้งให้คิดเป็นหน่วย หน่วยละ 120 กิโลกรัม หรือ 600 ลิตร หรือ 0.6 ลูกบาศก์เมตร

 

 

- ให้เก็บค่าธรรมเนียมหน่วยละ 200 บาท หากปริมาณเกิน 240 กิโลกรัม หรือ 1,200 ลิตรหรือ 1.2 ลูกบาศก์เมตร ให้เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มได้ในอัตราที่กำหนด (คงเดิมตามร่างที่ สคก. ตรวจแล้ว)

     2.2 การเก็บและขนสิ่งปฏิกูล

           - การเก็บและขนสิ่งปฏิกูลเป็นรายครั้งให้คิดเป็นหน่วย หน่วยละ 100 กิโลกรัม หรือ 500 ลิตร หรือ 0.5 ลูกบาศก์เมตร

 

 

- ให้เก็บค่าธรรมเนียมหน่วยละ 250 บาท หากปริมาณเกิน 200 กิโลกรัมหรือ 1,000 ลิตร หรือ 1 ลูกบาศก์เมตร ให้เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มได้ในอัตราที่กำหนด (คงเดิมตามร่างที่ สคก. ตรวจแล้ว)

     2.3 การกำจัดสิ่งปฏิกูล

           - การกำจัดสิ่งปฏิกูลเป็นรายครั้ง ให้คิดเป็นหน่วย หน่วยละ 100 กิโลกรัม หรือ 500 ลิตร หรือ 0.5 ลูกบาศก์เมตร

 

 

- ให้เก็บค่าธรรมเนียมหน่วยละ 300 บาท หากปริมาณสิ่งปฏิกูลที่กำจัดเป็นรายครั้งเกิน 200 กิโลกรัม หรือ 1,000 ลิตร หรือ 1 ลูกบาศก์เมตรให้เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มได้อัตราที่กำหนด (คงเดิมตามร่างที่ สคก. ตรวจแล้ว)

 

              1.3 กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย สำหรับ 1) บุคคล 2) ชุมชน และ 3) หมู่บ้าน ที่มีการจัดการปริมาณสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยจนปราศจากสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย หรือพื้นที่ในห้วงเวลาที่ได้มีประกาศเป็นเขตช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน

              1.4 กำหนดวันใช้บังคับของร่างกฎกระทรวงฯ ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี (แก้ไขจาก 180 วัน) นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเตรียมความพร้อมการออกข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติ และสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ 

          2. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดเก็บค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายที่แท้จริงและส่งให้การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยมีประสิทธิภาพและสิ่งแวดล้อม อันจะทำให้ประชาชนมีสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตที่ดีขึ้นและเป็นการออกกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้แล้ว และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติดังกล่าว ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 (ครบกำหนดในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567) ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเร่งการดำเนินการร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ให้ทัน ภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤศจิกายน 2567

 

 

11110

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX


TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!