หมวดหมู่: อสังหาริมทรัพย์ฯ

TRIS7 24


การจัดอันดับเครดิตบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย

 

ภาพรวมและขอบเขตของเกณฑ์การจัดอันดับเครดิต

     เกณฑ์สำหรับ 'การจัดอันดับเครดิตบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย' (Homebuilders and Real Estate Developers Rating Methodology) นี้อธิบายถึงปัจจัยสำคัญที่ทริสเรทติ้งใช้ในการจัดอันดับเครดิตบริษัทที่มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขาย ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ และอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม

      โดนเกณฑ์นี้ไม่สามารถใช้กับบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากการให้เช่าสินทรัพย์ ซึ่งผู้ประกอบการในกลุ่มนี้จะอยู่ภายใต้เกณฑ์ ‘การจัดอันดับเครดิตบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่า’ (Rating Methodology for Real Estate for Rent Companies) อย่างไรก็ดี เป็นเรื่องปกติที่บริษัทหนึ่ง ๆ จะมีการพัฒนาทั้งอสังหาริมทรัพย์เพื่อเช่าและเพื่อขาย 

 

บทคัดย่อ

กรอบในการจัดอันดับเครดิตบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยและประเภทอื่น ๆ เพื่อขายนั้น จะมีขั้นตอนเหมือนกับเกณฑ์สำหรับ “การจัดอันดับเครดิตธุรกิจทั่วไป” (Corporate Rating Methodology) โดยทริสเรทติ้งจะเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงด้านธุรกิจ (Business Risk Profile – BRP) และการประเมินความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial Risk Profile – FRP) ของบริษัทซึ่งผลที่ได้จากการประเมินดังกล่าวจะรวมกันออกมาเป็นอันดับเครดิตเบื้องตัน (Anchor Rating)

หลังจากนั้นอันดับเครดิตเบื้องต้นอาจจะได้รับการปรับเพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยปัจจัยอื่นๆ เพื่อให้ได้อันดับเครดิตเฉพาะของบริษัท (Standalone Credit Profile - SACP) และในท้ายที่สุดหากบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่กว่า ทริสเรทติ้งก็จะประเมินผลกระทบจากกลุ่มบริษัททั้งในด้านบวกและในด้านลบที่มีต่ออันดับเครดิตเฉพาะของบริษัทเพื่อให้ได้อันดับเครดิตองค์กร (Issuer Credit Rating – ICR หรือ Company Rating) ของบริษัทนั้น ๆ

สำหรับ ความเสี่ยงด้านธุรกิจนั้นจะได้จากการประเมินความเสี่ยงด้านอุตสาหกรรม (Industry Risk) (ซึ่งรวมความเสี่ยงของประเทศ (Country Risk) ด้วย) ตลอดจนความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Position) และความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ของบริษัทนั้นๆ ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งจัดให้ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายเป็นธุรกิจที่มี ‘ความเสี่ยงค่อนข้างสูง’ (Moderately High Risk) จากการที่มีความ

ผันผวนของรายได้และกำไรที่ค่อนข้างสูง อีกทั้ง ยังมีแนวโน้มการเติบโตและการแข่งขันในระดับปานกลาง ในการประเมินความสามารถในการแข่งขันนั้น ทริสเรทติ้งให้ความสำคัญกับฐานะทางการตลาด ตลอดจนความหลากหลายของสินค้า และประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัท ส่วนในด้านความสามารถในการทำกำไรนั้น ทริสเรทติ้งให้ความสำคัญกับทั้งระดับและความผันผวนของความสามารถในการทำกำไรของบริษัท

ในส่วนของความเสี่ยงด้านการเงิน (FRP) นั้น ทริสเรทติ้งจะให้ความสำคัญกับทั้งโครงสร้างเงินทุนและความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดเพื่อใช้ชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยของบริษัท โดยอัตราส่วนทางการเงินสำคัญ 3 อัตราส่วนที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านการเงินประกอบด้วย อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อแหล่งเงินทุน (Debt to Capitalization Ratio) อัตราส่วนหนี้สินทางการเงินต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย (Debt to Earnings before Interest, Taxes, Depreciation, and Amortization (EBITDA) Ratio) และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินทางการเงิน (Funds from Operations (FFO) to Debt Ratio)

นอกจากนี้ ทริสเรทติ้งยังพิจารณาอัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่าย (EBITDA Interest Coverage Ratio) ให้เป็นอัตราส่วนทางการเงินเสริมด้วย โดยอัตราส่วนทางการเงินทั้งหมดจะใช้ตัวเลขที่มีการปรับปรุงแล้ว

ติดต่อ:

จุฑามาส บุณยวานิชกุล

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ศศิพร วัชโรทัย

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

สุชาดา พันธุ, Ph.D.

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

More Articles

 

Click Donate Support Web   

BANPU 720x100TU720x100EXIM One 720x90 C Jsme 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxPF 720x100

 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!