ทีมบ้านลูกหมู จากสถาปัตย์จุฬาฯ โชว์ไอเดียสร้างสรรค์การออกแบบเพื่อโลกสีเขียว คว้ารางวัลใหญ่ “BIMobject Green Design Competition 2024”
จบลงอย่างน่าประทับใจสำหรับงาน “BIMobject Green Design Competition 2024” เวทีการแข่งขันที่รวมพลังของคนรุ่นใหม่มาร่วมกันเปลี่ยนอนาคตด้วยการออกแบบรักษ์โลก โดย CPAC และ BIMobject Thailand ร่วมกันจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Unlock the Future Design with Greenovation” โดยการแข่งขันนี้ไม่เพียงเปิดโอกาสให้นิสิตและนักศึกษาจากทั่วประเทศมาโชว์ไอเดียสุดสร้างสรรค์
เท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เทคโนโลยี BIM และ 3D Printing มาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์อาคารรักษ์โลกให้มีความโดดเด่น มีอัตลักษณ์เฉพาะตัวอย่างไร้ขีดจำกัด เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพของชุมชนและสังคมโดยรอบ อย่างยั่งยืน และในปีนี้ ทีมบ้านลูกหมู จากคณะสถาปัตยกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่าฟันคู่แข่งทั่วประเทศจนได้รับรางวัลชนะเลิศมูลค่า 100,000 บาท ด้วยผลงานที่เปี่ยมด้วยความคิดสร้างสรรค์
ซึ่งนอกจากจะสะท้อนให้เห็นถึง Greenovation ที่ตอบโจทย์อนาคตแล้ว ผลงานของทีมนี้ยังโดดเด่นด้วยการสร้างสรรค์อาคารที่มีความสอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงาน การลดการปล่อยคาร์บอน และการออกแบบพื้นที่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย นับเป็นโมเดลที่แสดงถึงความสามารถในการผสมผสานความยั่งยืนกับการออกแบบได้อย่างลงตัว
โดย ดร.วิลสา วิจิตรวาทการ Managing Director BIMobject Thailand กล่าวว่า "โจทย์ของเราปีนี้นับว่าไม่ใช่ เรื่องง่ายเลย ซึ่งน้องๆ ทุกทีมก็สามารถนำเสนอผลงานได้อย่างน่าประทับใจมาก และน่าทึ่งจนถึงขั้นที่เรานำผลงานของ 10 ทีมสุดท้ายไปนำเสนอยังเวทีระดับโลกที่ซานดิเอโก้ และนี่คือความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของเรา และต้องขอขอบคุณนักศึกษาทุกทีมที่ทุ่มเททั้งเวลาและความคิด
สร้างสรรค์การออกแบบผลงาน ถึงแม้กระทั่งเทคโนโลยีที่ ท้าทายอย่าง 3D Printing ที่ยังไม่ใช่หลักสูตรพื้นฐานในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ซึ่งหวังว่าน้องๆ จะได้แรงบันดาลใจและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์จากกิจกรรมครั้งนี้” ด้าน นางสาวกัลยา วรุณโณ Green Solution and New Business Marketing Director บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด กล่าวว่า “ปัญหาโลกร้อนเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องรับมือ การแข่งขัน
‘BIMobject Green Design Competition 2024’ ครั้งนี้จึงเป็นเวทีที่ทุกคนได้แสดงพลังสร้างสรรค์ผ่านนวัตกรรมที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ซึ่งเราได้เห็นทีมต่างๆ นำเทคโนโลยี BIM และ 3D Printing มาประยุกต์ใช้ได้อย่างน่าประทับใจ งานนี้ไม่เพียงแค่ช่วยลดขยะในการก่อสร้าง แต่ยังลดการปล่อยคาร์บอนและเปลี่ยน Waste ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย ซึ่ง SCG และ CPAC ก็มุ่งมั่นเรื่องนี้เช่นกัน ซีเมนต์ของเราถูกพัฒนาให้เป็นมิตรกับสิ่ง
แวดล้อมขึ้นอย่างต่อเนื่อง การแข่งขันนี้แสดงให้เห็นว่าทุกคนช่วยกันทำให้การออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นจริง ซึ่งไม่เพียงเป็นก้าวแรกแต่ยังเป็นก้าวสำคัญสู่อนาคตที่ยั่งยืน ดิฉันขอขอบคุณน้องๆ ทุกคนที่ทุ่มเทให้กับการแข่งขันครั้งนี้ และขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการที่มอบทั้งเวลาและความรู้ให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่ด้วย”
นายภูมิพัฒน์ เตชะลิขิตกุล ตัวแทนทีมบ้านลูกหมู จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลชนะเลิศการประกวดฯ บอกว่า "พวกเราดีใจและภูมิใจมากๆ กับโจทย์ที่ได้รับในการแข่งขันครั้งนี้นับว่าเป็นความท้าทายที่พวกเราต้อง ร่วมมือกัน และการแข่งขันครั้งนี้ทำให้ได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของการออกแบบที่ไม่เพียงแค่ตอบโจทย์การใช้งานเท่านั้น
แต่ยังช่วยสร้างโลกที่ยั่งยืน สำหรับแนวคิดของผลงาน ‘บ้านลูกหมู’ เราได้นำเสนอ 3 คอนเซ็ปต์หลัก ได้แก่ การอนุรักษ์ความเป็นไทย การใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการออกแบบโครงสร้างที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันการใช้งานในอนาคตของผู้ที่อยู่อาศัย โดยการนำความสามารถของ 3D Printing มาใช้ในการทำโครงสร้างอาคาร ไม่ใช่แค่การทำให้สวยงาม หรือการอยู่อาศัยในระยะยาวแต่เป็นการอยู่อย่างยั่งยืนด้วย
” นางสาวสุธิตรา สตราศรรี ตัวแทนทีม BACON จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รางวัลรองอันดับ 1 บอกว่า “การแข่งขันในครั้งนี้ไม่เพียงแค่ทำให้เราพัฒนาความสามารถในการใช้เทคโนโลยี BIM และ 3D Printing แต่ยังช่วยให้เราคิดและออกแบบสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ความยั่งยืนในระยะยาวได้จริง โดยแนวคิดของผลงานเราคือการ 'ดักขยะด้วยสถาปัตยกรรม' ที่ตอบโจทย์ปัญหาขยะในชุมชน ซึ่งขยะเหล่านี้มีผลกระทบทั้งต่อคุณภาพน้ำและสุขอนามัย ของคนในชุมชน อีกทั้งยังส่งผลเสียต่อระบบนิเวศน์ด้วย เรามุ่งมั่นที่จะสร้างโครงการที่สามารถดักจับขยะก่อนที่มัน จะไหลลงสู่แหล่งน้ำ
สำคัญ ซึ่งจะช่วยรักษาความสะอาดของแหล่งน้ำและส่งเสริมการตระหนักรู้ให้แก่คนในชุมชนเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมค่ะ" โดยการประกวด BIMobject Green Design Competition 2024 ครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ตัดสินประกอบด้วย คุณเกศินี วัฒนะวีระชัย เลขาธิการสมาคม TBIM, คุณธาริณี กฤติยาดิศัย 3D Printing Project Management Manager, คุณไพทยา ปัญชากิติคุณ Managing Director Atom Design, คุณธงชาติ ชินสีห์ Managing Director Hook Architects & Goodwill of Work Company Limited,
คุณบัณฑา พงษ์พรต Associate Partner and Head of Integrated Research and Innovations (IRIs) Architect 49 Limited และ คุณพชร เรือนทองดี Digital Fabricator Director DesireSynthesis ซึ่งรางวัลการแข่งขันแบ่งออกเป็น รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 100,000 บาท, Hafele Gift Voucher มูลค่า 50,000 บาท และ Synergysoft Education voucher มูลค่า 40,000 บาท
ได้แก่ ทีมบ้านลูกหมู จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลรองอันดับ 1 เงินรางวัล 50,000 บาท, Hafele Gift Voucher มูลค่า 20,000 บาท และ Synergysoft Education voucher มูลค่า 20,000 บาท ได้แก่ ทีม BACON จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รางวัลรองอันดับ 2 รับเงินรางวัล 30,000 บาท, Hafele Gift Voucher มูลค่า 10,000 บาท และ Synergysoft Education voucher มูลค่า 10,000 บาท
ได้แก่ ทีม DEK DOI FAI จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลชมเชย เงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท ได้แก่ ทีม Samkok Team จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ทีม 101 จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ทีม Riverline จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ, ทีมอิทธิพล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ทีมจรุก จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ทีม 3 route teeruk
จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ทีมหนอนไหม จากมหาวิทยาลัยพะเยา รางวัล Popular Vote เงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท ได้แก่ ทีมหนอนไหม จากมหาวิทยาลัยพะเยา สำหรับการประกวด BIMobject Green Design Competition นับเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยเปิดมุมมองใหม่ให้กับวงการการศึกษาและอุตสาหกรรมการออกแบบอาคาร โดยส่งเสริมให้นิสิตและนักศึกษาได้คิดนอกกรอบและเตรียมพร้อมสำหรับการนำเสนอผลงานการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ซึ่งงมีความสำคัญอย่างยิ่งในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมกลายเป็นประเด็นเร่งด่วนของโลก