หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 19


ผลการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 281 เมื่อวันที่ 9 - 10 กันยายน 2565 จังหวัดภูเก็ต และผ่านระบบการประชุมทางไกล [คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 กันยายน 2565) เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย (1) รับรองแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 28 หรือ (2) ออกประกาศแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปคในกรณีที่เขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคไม่สามารถเห็นชอบเพื่อรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ หรือ (3) รับรองแถลงการณ์ร่วมฯ พร้อมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ประธานฯ ในกรณีที่มีประเด็นอ่อนไหวหรือประเด็นที่ยังไม่มีฉันทามติจากทุกสมาชิกเอเปค] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. สสว. เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมฯ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯประธานการประชุม มีผู้เข้าร่วมจากเขตเศรษฐกิจ 20 ประเทศ ซึ่งมีเขตเศรษฐกิจเข้าร่วมการประชุม จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย จำนวน 16 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย เนการาบรูไนดารุสซาลาม แคนาดา สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สหพันธรัฐมาเลเซีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปนส์ สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศไทย และเข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล อีก 4 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน สหพันธรัฐรัสเซีย สหรัฐเม็กซิโก และสาธารณรัฐเปรู โดยที่ประชุมมีการหารือและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในประเด็นต่างๆ ดังนี้

 

ประเทศ

สาระสำคัญ/ผลการประชุม

(1) การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy)

ญี่ปุ่น

ส่งเสริมให้เกิดตลาดสินค้าสีเขียวโดยส่งเสริมให้สินค้าติดฉลากการปล่อย ก๊าซคาร์บอนและสินค้าสีเขียวเข้าสู่การจัดซื้อจัดจ้างทั้งภาครัฐและเอกชน และเสนอให้ภูมิภาคเอเปคสร้างและพัฒนาตลาดสินค้าสีเขียวให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs)

สิงคโปร์

ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยจากบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วและเศษอาหารให้เป็นธุรกิจ Startup สำหรับ SMEs และพัฒนาการรับรองมาตรฐานสินค้าสีเขียวให้แก่ SMEs เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

(2) การเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลอย่างครอบคลุม

รัสเซีย

พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ โดยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทางธุรกิจของผู้ประกอบการเพื่อให้ธนาคารเครือข่ายใช้เป็นข้อมูลปล่อยกู้ และแบบรายการยื่นภาษีอัตโนมัติ และสามารถส่งเอกสารขอยื่นกู้ธนาคารไปยังธนาคารเครือข่ายได้

เวียดนาม

เวียดนามจะต้องมีผู้ประกอบการ 100,000 ราย ที่ได้รับการอบรมและเข้าถึงบริการด้านการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล รวมทั้งพัฒนาหน่วยบริการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล ครบ 100 หน่วยงาน ภายในปี 2025

อินโดนีเซีย

มีแผนดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้ SMEs เปลี่ยนผ่านสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยผู้ประกอบการจะต้องได้รับการเปลี่ยนผ่านอย่างน้อย 30 ล้านราย ภายในปี 2024

เกาหลีใต้

แนะนำนโยบายนำร่องเพื่อช่วยเหลือด้านดิจิทัลให้แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดย MSMEs สามารถเข้าถึงบริการและอุปกรณ์ดิจิทัลได้มากขึ้นและสามารถดำเนินธุรกิจดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว

(3) การรับมือกับตลาดที่กำลังพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไป

สหรัฐอเมริกา

มุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้าสู่การค้าออนไลน์ข้ามพรมแดนโดยเฉพาะผู้ประกอบการสตรี โดยมีหลักสูตรการประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการและการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการสตรีเป็นการเฉพาะ รวมทั้งจัดให้มีการเข้าถึงแพลตฟอร์มในการโอนเงิน

(4) การจัดหาเงินทุนและการปรับโครงสร้างหนี้

แคนาดา

จัดให้มีสินเชื่อโดยไม่หวังกำไรและกองทุนร่วมลงทุนให้ผู้ประกอบการสตรี

จีน

มีการค้ำประกันสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนธุรกิจ

(5) ประเด็นอื่นๆ เช่น

มาเลเซีย

จัดกิจกรรม SME National Champion โดยคัดเลือกจากธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตทางรายได้สูง และรัฐบาลจะให้การสนับสนุนใน 3 มิติ คือ การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีสู่ 4.0 การปฏิรูปองค์การให้มีสมรรถะสูง และการพัฒนากลยุทธ์การตลาดสู่สากล

จีน

ยกเลิกกฎ ระเบียบใบอนุญาตที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจของ SMEs มากกว่า 1,000 รายการ

 

 

sme 720x100

 

          2. ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับหน่วยงานต่างๆ

                    1) ทุกเขตเศรษฐกิจให้ความสำคัญกับการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาด โดยสหรัฐอเมริกาและองค์การสหประชาชาติได้ผลักดันให้มีข้อบทด้านการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีโดยเฉพาะ ดังนั้น หน่วยงานของไทยจึงควรมีการพัฒนาฐานข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลผู้ประกอบการสตรีเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีต่อไป

                    2) ที่ประชุมเน้นย้ำการส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวทางการพัฒนาตาม BCG Model ซึ่งจะช่วยสร้างธุรกิจ Startup ใหม่ในสาขาบริการ และหน่วยงานภาครัฐควรเร่งให้ความช่วยเหลือ MSMEs ในการปรับเปลี่ยนธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สอดรับกับ BCG Model รวมทั้งแบ่งปันแนวทางและเครื่องมือนโยบาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้แก่ MSMEs

                    3) ควรจัดทำแพลตฟอร์มกลางเพื่อให้บริการที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม MSMEs ที่มีทักษะ ในด้านดิจิทัล ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจให้ตอบสนองต่อความต้องการที่เป็นปัจจุบันได้มากขึ้น และเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง

                    4) MSMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ยากเนื่องจากมีขนาดเล็ก ผลิตภัณฑ์ และบริการ ไม่หลากหลาย และอาจมีโครงสร้างทางการเงินที่อ่อนแอ ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ จึงสนับสนุนให้มีมาตรการในการแก้ปัญหาที่เกิดจากข้อจำกัดของการปล่อยกู้เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้

          3. สหรัฐอเมริกาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 29 ในปี 2566

____________________

1จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 สสว. แจ้งว่า ที่ประชุมฯ ได้ออกแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค เนื่องจากเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปคไม่สามารถเห็นชอบร่วมกันในประเด็นสถานการณ์ระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภูมิภาคเอเปค

2สินค้าสีเขียว หมายถึง สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่รักษ์โลกหรือลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน เช่น ถุงผ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A12207

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!