‘นับ 1 สเต็มเซลล์เท่ากับยา’ สาธารณสุข จับมือ รพ.วชิระภูเก็ต และเมดีซ กรุ๊ป เดินหน้าขับเคลื่อน ATMPs Sandbox สู่อนาคตการแพทย์ไทยขั้นสูง

หมวดหมู่: การแพทย์-สธ
วันที่สร้าง วันเสาร์, 31 พฤษภาคม 2568 00:11
ฮิต: 427
LINE it!
‘นับ 1 สเต็มเซลล์เท่ากับยา’ สาธารณสุข จับมือ รพ.วชิระภูเก็ต และเมดีซ กรุ๊ป เดินหน้าขับเคลื่อน ATMPs Sandbox สู่อนาคตการแพทย์ไทยขั้นสูง
0 แชร์

5860 MEDEZE 1

 

‘นับ 1 สเต็มเซลล์เท่ากับยา’ สาธารณสุข จับมือ รพ.วชิระภูเก็ต และเมดีซ กรุ๊ป เดินหน้าขับเคลื่อน ATMPs Sandbox สู่อนาคตการแพทย์ไทยขั้นสูง

          กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จับมือกับบริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดตัวโครงการ Advanced Therapy Medicinal Products Sandbox (ATMPs Sandbox) เพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง สำหรับการรักษาเชิงลึกแบบเฉพาะบุคคล (Precision Preventive Medicine) โดยเริ่มต้นจาก 3 กลุ่มโรคที่พบมากในประเทศไทย “โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม - กลุ่มโรคผิวหนังและการชะลอวัย - มะเร็งลำไส้”

          นายแพทย์ปิยะ ศิริลักษณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11 ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า โครงการ Advanced Therapy Medicinal Products Sandbox (ATMPs Sandbox) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบต้นแบบของการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products: ATMPs) ที่ได้มาตรฐานสากลและสามารถนำมาใช้จริงในระบบสาธารณสุขไทย ด้วยเป้าหมายเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม โดยไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้ คณะกรรมการโครงการฯ ได้คัดเลือก บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE เป็นบริษัทเดียวในการนำร่อง เพราะมีคุณสมบัติพร้อมสุด ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ถือว่าเป็นที่น่ายินดีว่ามีบริษัทของคนไทยที่ได้มาตรฐานสากลมาร่วมมือในครั้งนี้ด้วย

          “จุดเริ่มต้นของ Sandbox ทางการแพทย์ เพื่อ “แพทย์ไทยก้าวไกล คนไทยเข้าถึงได้” เป็นโครงการ ATMPs Sandbox ซึ่งมีแนวทางสำคัญของกระทรวงฯ ในการผลักดันให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตและวิจัยผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูงด้วยตนเอง โดยไม่เพียงเน้นการรักษา แต่ครอบคลุมถึงการส่งเสริม ป้องกัน และควบคุมโรคอย่างแม่นยำตามแนวทาง Precision Medicine ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการยกระดับมาตรฐานระบบสุขภาพไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งการเลือกบริษัท เมดีซฯ มาร่วมมือด้วยในครั้งนี้ เพราะเล็งเห็นว่า บริษัท เมดีชฯ มีมาตรฐานสูง ตอบโจทย์นโยบายภาครัฐ ในการกระตุ้นให้ประเทศไทยเป็น Medical wellness hub นอกจากนี้ ยังหวังว่า ATMPs Sandbox จะนำไปสู่การขึ้นทะเบียนยาได้ และจะเป็นยาของคนไทย เพื่อนำมาช่วยรักษาคนไทยได้อย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น” นายแพทย์ปิยะ กล่าว

          โดย Sandbox นี้ จะใช้โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเป็น “สถานพยาบาลนำร่อง” เพื่อดำเนินการวิจัย ทดลอง และให้บริการทางการแพทย์ โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชนที่มีความพร้อมสูง

          ขณะที่ นพ.วีระศักดิ์ หล่อทองคำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กล่าวถึงบทบาทของโรงพยาบาลในฐานะสถานพยาบาลนำร่องของโครงการ ATMPs Sandbox ว่า โรงพยาบาลวชิระภูเก็ตจะเป็นศูนย์กลางในการประเมิน ประยุกต์ใช้ และให้บริการผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูงที่ได้รับการพัฒนาภายใต้ Sandbox นี้ เรามีบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ พร้อมห้องปฏิบัติการมาตรฐานสูงของบริษัท เมดีซฯ และความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแพทย์ในการศึกษาวิจัยควบคู่กันไป

          อย่างไรก็ดี โครงการ ATMPs Sandbox จะเริ่มต้นการพัฒนาและทดลองใช้จริงกับ 3 กลุ่มโรคสำคัญ ซึ่งเป็นความท้าทายทางสุขภาพของคนไทยจำนวนมาก ได้แก่

          1. โรคหมอนรองกระดูกเสื่อม – ใช้เทคโนโลยีเซลล์บำบัดโดยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากไขมันของตัวเองเพื่อฟื้นฟูเนื้อเยื่อและลดการเสื่อมของหมอนรองกระดูก ลดอาการปวดหลังเรื้อรังโดยไม่ต้องผ่าตัด

          2. กลุ่มโรคผิวหนังและการชะลอวัย – นำเซลล์ต้นกำเนิดจากไขมันของตัวเองมาใช้ในการฟื้นฟูเซลล์ผิว ลดริ้วรอย และฟื้นฟูผิวหนังในเชิงลึก

          3. มะเร็งลำไส้ – พัฒนาเทคโนโลยีภูมิคุ้มกันบำบัดเฉพาะจุด โดยการใช้เซลล์ภูมิคุ้มกันหรือ NK Cell ในการบำบัด เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต 

          “ในโครงการนี้ บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทเอกชนเพียงรายเดียวที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ATMPs Sandbox โดยผ่านการประเมินจากคณะกรรมการโครงการฯ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการ Sandbox ด้านผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง จึงมั่นใจได้ว่า โครงการฯ นี้จะเป็นอนาคตของวงการแพทย์ไทยขั้นสูงอย่างยั่งยืน” นายแพทย์ปิยะ กล่าว

 

5860 MEDEZE 2

 

          ด้าน นายแพทย์วีรพล เขมะรังสรรค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดีซ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ MEDEZE กล่าวถึงบทบาทของบริษัทในการขับเคลื่อนโครงการว่า MEDEZE มีความพร้อมทั้งในด้านเทคโนโลยี วิจัย และการผลิตผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง เรามีห้องปฏิบัติการที่มีมาตรฐาน พร้อมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในสายงานชีวเวชภัณฑ์ เราเชื่อว่า Sandbox คือก้าวสำคัญในการนำผลิตภัณฑ์เราขึ้นทะเบียนยาในการใช้ทุกสถานพยาบาล เพื่อมารักษาคนไทยได้อย่างกว้างขวาง

          “บริษัทจะรับผิดชอบด้านการจัดหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ATMPs ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับเซลล์บำบัด หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ล้ำสมัยอื่นๆ พร้อมสนับสนุนบุคลากรและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตลอดระยะเวลา 10 ปีของโครงการ” นายแพทย์วีรพล กล่าว

          ทั้งนี้ โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการครอบคลุม 10 ปี รวมขั้นต่ำ 20 งานวิจัย โดยมีนวัตกรรมขั้นสูงของ MEDEZE ช่วยสนับสนุน ซึ่งมีแผนการต่อยอดจากการทดลองสู่การใช้งานในระบบสาธารณสุขจริง ทั้งในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน พร้อมเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงนวัตกรรมการแพทย์ขั้นสูงในราคาที่เหมาะสม ผลิตในประเทศ ไม่ต้องรอนำเข้าจากต่างประเทศอีกต่อไป

 

 

5860

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100