หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 26


ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบระยะ 10 ปี

          คณะรัฐมนตรีรับทราบยุทธศาสตร์การปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบระยะ 10 ปี (ยุทธศาสตร์ฯ) และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ

          สาระสำคัญ 

          คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (4 กุมภาพันธ์ 2563) ให้ สธ. ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งดําเนินการจัดทํายุทธศาสตร์การปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถวางระบบการบริหารอัตรากําลังให้สอดคล้องกับภารกิจบริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพของประเทศและการลงทุนในยุทธศาสตร์การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ สถาบันทางการแพทย์ และสถาบันการศึกษาต่างๆ ในภาพรวมทั้งประเทศในระยะยาว (5 - 10 ปี) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (9 กรกฎาคม 2567) ให้ สธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด ดําเนินการผลิตบุคลากรทางการแพทย์ การพยาบาล และการสาธารณสุขเพิ่มเติมให้มีจํานวน เพียงพอ เหมาะสม สอดรับกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและสถานการณ์ ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยให้ สธ. นําเสนอแนวทางการดําเนินการ ตลอดจนปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีภายใน 2 สัปดาห์ สธ. จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ และแนวทางการดําเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกําลังคนทางการพยาบาล โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. ยุทธศาสตร์ฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ 

 

หัวข้อ

รายละเอียด

วิสัยทัศน์

ประเทศไทยมีกําลังคนและบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม มีความมั่นคงทางสุขภาพและความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน

พันธกิจ

มุ่งปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบ โดยเน้นคุณค่าประชาชนเป็นศูนย์กลาง สามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ และบริการรูปแบบใหม่รองรับอนาคต ด้วยการอภิบาลระบบที่เข้มแข็ง สร้างความมั่นคงทางสุขภาพ เสริมศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

เป้าหมาย

และตัวชี้วัด

เป้าหมายที่ 1 : คนไทยมีสุขภาวะที่ดีเพิ่มขึ้น

(1) คาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด (Life Expectancy at Birth, LE) ไม่น้อยกว่า 85 ปี

(2) อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี (Health Adjusted Life Expectancy, HALE) ไม่น้อยกว่า 75 ปี

(3) อัตราตายในโรคที่สําคัญลดลง ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองทารกแรกเกิด โรคมะเร็ง อุบัติเหตุและฉุกเฉิน และจิตเวชและยาเสพติด

 

เป้าหมายที่ 2 : เพิ่มการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข

ตัวชี้วัด

(1) อัตราส่วนบุคลากรต่อประชากร

บุคลากร

อัตราส่วนบุคลากร

ต่อประชากร

บุคลากร

อัตราส่วนบุคลากร

ต่อประชากร

แพทย์

1 : 650

นักกายภาพบำบัด

1 : 2,000

ทันตแพทย์

1 : 3,000

แพทย์แผนไทย

1 : 2,782

เภสัชกร

1: 1,966

นักรังสีเทคนิค

1 : 5,000

พยาบาล

1 : 200

นักสาธารณสุข

1 : 1,000

นักเทคนิคการแพทย์

1 : 2,804

 

(2) การกระจายบุคลากรที่เหมาะสมตามเกณฑ์ศักยภาพของหน่วยบริการ

 

เป้าหมายที่ 3 : เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ

ตัวชี้วัด สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิ่มเป็นร้อยละ 1.7 (จํานวน 3.81 แสนล้านบาท) ในปี 2570 ทั้งนี้ บริการทางการแพทย์ที่เน้นสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่(1) เวชศาสตร์ ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (2) การป้องกันดูแลเส้นเลือดหัวใจ (3) การรักษากระดูกข้อเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ (4) ทันตกรรม (5) การรักษาผู้มีบุตรยาก (6) การรักษาโรคมะเร็ง (7) การปลูกถ่ายอวัยวะ (8) การผ่าตัดหัวใจ และการผ่าตัดทําบอลลูน (9) ศัลยกรรมตกแต่งและการแปลงเพศ

ยุทธศาสตร์

ประกอบด้วย

4 ยุทธศาสตร์

ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : เร่งผลิตและพัฒนากําลังคนให้เพียงพอต่อการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะโรคสำคัญ จําเป็นเร่งด่วนต่อภาระทางสุขภาพและทิศทางของประเทศ

(1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

       (1.1) ความเพียงพอของกําลังคนด้านสุขภาพในโรคสําคัญจําเป็นเร่งด่วน ภาวะโรคซับซ้อนเฉพาะทาง

       (1.2) ความพร้อมของกําลังคนด้านสุขภาพในการรองรับทิศทางการพัฒนาประเทศ

(2) มาตรการ

       (2.1) ผลิตและพัฒนากําลังคนด้านสุขภาพให้เพียงพอและมีคุณภาพสอดคล้องกับความจําเป็นเร่งด่วน

ตามบริบทและทิศทางของประเทศ

       (2.2) ส่งเสริม สนับสนุน กํากับ ดูแลแผนและมาตรฐานการผลิตและพัฒนาบุคลากร ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทีพึงประสงค์ (outcome based)

(3) สาขาแพทย์เฉพาะทางที่เร่งรัดการผลิตเพื่อตอบสนองเป้าหมายต่างๆ มีดังนี้

       (3.1) เป้าหมายที่ 1 : เช่น จิตเวชศาสตร์ ประสาทวิทยา รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ศัลยศาสตร์ทรวงอก

       (3.2) เป้าหมายที่ 3 : เช่น เวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ ทันตกรรม การรักษาผู้มีบุตรยาก การปลูกถ่ายอวัยวะ การผ่าตัดหัวใจและทําบอลลูน ศัลยกรรมตกแต่งและการแปลงเพศ

(4) แผนการผลิตกําลังคนสาธารณสุขภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ โดยแจกแจงรายละเอียดสําคัญตามวิชาชีพ เช่น เป้าหมาย บุคลากรต่อประชากร อัตราส่วนปัจจุบัน จํานวนที่ควรต้องมีภายใน 10 ปี จํานวนที่ต้องผลิตเพิ่มและค่าใช้จ่าย มีดังนี้

 

วิชาชีพ

แพทย์

ทันตแพทย์

เภสัชกร

พยาบาล

นักกายภาพ

บำบัด

แพทย์

แผนไทย

นักรังสี

เทคนิด

นักสาธารณสุข

นักเทคนิคการแพทย์

เป้าหมาย(บุคลากรต่อประชากร)

1:650

1:3,000

1:1,966

1:200

1:2,000

1:2,782

1:5,000

1:1,000

1:2,804

อัตราส่วนปัจจุบัน

(บุคลากรต่อประชากร)

1:922

1:3,650

1:2,735

1:316

1:4,792

1:11,339

1:9,954

1:2,220

1:4,793

จำนวนที่มีอยู่ปัจจุบัน (คน)

71,616

18,094

24,149

209,187

13,785

5,825

6,636

29,756

13,781

จำนวนที่ควรต้องมีภายใน 10 ปี (คน)

102,690

22,200

33,949

333,745

33,375

23,994

14,000

66,749

23,781

จำนวนที่ต้องผลิตเพิ่ม (คน)

31,074

4,106

9,800

124,558

19,590

18,169

7,364

36,993

10,000

จำนวนการผลิตปัจจุบันต่อปี (คน)

3,200

850

1,900

12,000

1,100

1,042

500

5,243

1,000

ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่อคนต่อปี (บาท)

300,000

(6ปี)

300,000

(6ปี)

267,167

(6ปี)

110,000

(4ปี)

75,983

(4ปี)

60,850

(4ปี)

37,500

(4ปี)

30,000

(4ปี)

62,500

(4ปี)

 

โดยสาขาต่อยอด มีค่าใช้จ่ายในการผลิตแพทย์เฉพาะทาง 100,000 บาทต่อคนต่อปี

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : พัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเชิงพื้นที่เป็นหนึ่งเดียว

(1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

       (1.1) ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหรือกิจกรรมการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรในการพัฒนา ระบบบริการสาธารณสุขเชิงพื้นที่เป็นหนึ่งเดียว เพื่อส่งมอบบริการที่มีคุณค่าโดยประชาชนเป็นศูนย์กลาง

       (1.2) อัตราส่วนบุคลากรต่อภาระงาน และความยากง่ายของบริการ

       (1.3) อัตราการสูญเสียกําลังคนด้านสุขภาพในวิชาชีพหลัก ได้แก่ แพทย์ พยาบาล)

(2) มาตรการ

       (2.1) สร้างความร่วมมือของภาครัฐ ท้องถิ่น และเอกชนมุ่งเป้าจัดระบบบริการสาธารณสุขโดยเน้นคุณค่า ประชาชนเป็นศูนย์กลางอย่างเชื่อมโยงไร้รอยต่อทั้งแนวราบและแนวดิ่ง

       (2.2) บริหารจัดการกําลังคนและบริการสาธารณสุขรูปแบบใหม่ที่ยืดหยุ่น คล่องตัว ภายใต้กฎหมาย

และระเบียบเฉพาะ

       (2.3) ยกระดับคุณภาพชีวิตกําลังคนด้านสุขภาพ ธํารงรักษาให้อยู่ในระบบและมีการกระจายที่เหมาะสม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สนับสนุนส่งเสริมบริการสุขภาพที่มีศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

(1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

       (1.1) สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

       (1.2) ประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ด้าน Wellness and Medical Hub ในปี .. 2025

(2) มาตรการ

       (2.1) ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพหน่วยบริการ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ได้มาตรฐานสากล สร้างมูลค่าเพิ่ม ให้กับเศรษฐกิจของประเทศ

       (2.2) ส่งเสริมการศึกษา วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างเสริมระบบและกลไกการอภิบาลกําลังคนด้านสุขภาพให้เข้มแข็ง

(1) เป้าหมาย/ตัวชี้วัด

       (1.1) มีระบบและกลไกการอภิบาลกําลังคนด้านสุขภาพที่มีเอกภาพ

       (1.2) มีฐานข้อมูลกลางกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศที่ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศได้

(2) มาตรการ

       (2.1) สร้างกลไกกําหนดนโยบาย กํากับดูแลกําลังคนด้านสุขภาพในภาพรวมทั้งระบบอย่างเป็นเอกภาพทั้งระดับประเทศและระดับพื้นที่

       (2.2) จัดทําฐานข้อมูลกลางกําลังคนด้านสุขภาพของประเทศที่ถูกต้อง ครบถ้วน ใช้ขับเคลื่อนระบบสุขภาพได้

การขับเคลื่อน

แต่งตั้งคณะกรรมการการปฏิรูปกําลังคนและภารกิจบริการด้านสาธารณสุขในภาพรวมทั้งระบบ (คณะกรรมการฯ) เพื่อทําหน้าที่ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อย่างบูรณาการ กํากับ ติดตาม ให้เกิดประสิทธิผล ทบทวนยุทธศาสตร์ เป็นระยะทุก 1- 3 ปี

ค่าใช้จ่าย

เป็นไปตามแผนการผลิตกําลังคนสาธารณสุขในยุทธศาสตร์ฯ โดยใช้งบประมาณของหน่วยงานที่ขอผลิต ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการฯ

 

          สธ. ได้นําข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ เรียบร้อยแล้ว 

          2. แนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกำลังคนทางการพยาบาล มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้ 

              2.1 ปัจจุบันประเทศไทยมีพยาบาล จํานวน 209,187 คน คิดเป็นสัดส่วนพยาบาลต่อประชากร 1 : 316 ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ฯ ได้กําหนดเป้าหมายในระยะ 10 ปี ให้มีสัดส่วนพยาบาลต่อประชากรที่ควรเป็นอยู่ที่ 1 : 200 หรือควรมีพยาบาลอย่างน้อย 333,745 คน เมื่อเทียบกับจํานวนพยาบาลในปัจจุบันพบว่ายังขาดพยาบาลอีกจํานวน 124,558 คน หรือขาดอีกร้อยละ 37.32

 2.2 การขาดอัตรากําลังทางการพยาบาลตามเหตุผลข้างต้น ทําให้พยาบาลต้องปฏิบัติงานมากกกว่าจํานวนชั่วโมงการปฏิบัติงานในหนึ่งสัปดาห์ซึ่งสูงเกินกว่ามาตรฐานความปลอดภัยในการทํางาน จึงจําเป็นต้องเร่งเสนอพิจารณาแผนผลิตกําลังคนทางการพยาบาล ระยะ 10 ปี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดําเนินการต่อไป โดยมีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

ตัวชี้วัดและ

ค่าเป้าหมาย

 

(1) เพิ่มการผลิตกําลังคนทางการพยาบาลให้มีสัดส่วนพยาบาลต่อประชากร 1:200 ภายใน 10 ปี (ต้องการเพิ่มอีก 124,558 คน)

(2) อันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านสุขภาพของประเทศ ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 20

(3) ค่าดัชนีความครอบคลุมของการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามากกว่าร้อยละ 90

 

แนวทางการดำเนินการประกอบด้วย 3 แนวทางได้แก่

 

 

แนวทาง

 

รายละเอียด

(1) เพิ่มกําลังการผลิตกําลังคนทางการพยาบาล

 

(1.1) เพิ่มการผลิตบุคลากรสาขาพยาบาลศาสตร์

       (1.1.1) ผลิตพยาบาลศาสตร์หลักสูตร 4 ปี เพิ่มจากแผนการผลิตเดิม 3,000 คน/ต่อปี (จากแผนการผลิตเดิม 12,000 คน/ปี เป็น 15,000 คน ในระยะ 10 ปี รวมทั้งสิ้น 30,000 คน โดยระยะเร่งด่วนสนับสนุนให้ การผลิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตสําหรับผู้สําเร็จการศึกษาปริญญา (ใช้ระยะเวลาเรียน 2.5 ปีขึ้นไป) ค่าใช้จ่ายต่อหลักสูตร 440,000 บาทต่อคน

       (1.1.2) จ้างพยาบาลผู้เกษียณที่มีคุณสมบัติเป็นอาจารย์ ให้ทํางานต่อ ในภาคการศึกษาหรือภาควิชาการของโรงพยาบาล จํานวน 375 คน (อัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษา 1:4) อัตราจ้างต่อคนต่อปี 540,000 บาท (1.2) เพิ่มกําลังการผลิตผู้ช่วยพยาบาล หลักสูตร 1 ปี จํานวน 90,000 ในระยะ 3 ปีแรก รวม 10,000 คน ค่าใช้จ่ายต่อหลักสูตร 50,000 ต่อคน (1.3) เพิ่มการจ้างผู้เกษียณเข้าทํางานในระบบ โดยจ้างพยาบาลผู้เกษียณ อายุราชการปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพเป็นพนักงาน สธ. หรือพนักงานราชการ

(2) เพิ่มการคงอยู่ของบุคลากรพยาบาลในระบบ

 

(2.1) เพิ่มตําแหน่งข้าราชการอัตราตั้งใหม่ ในระยะเร่งด่วน 8,000 ตําแหน่ง บุคลากรพยาบาลในระบบ สําหรับบรรจุพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน สธ. ที่ถูกจ้างงานในรูปแบบอื่น ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญเสีย

(2.2) เพิ่มค่าตอบแทนทั้งหมวดเงินเดือน ค่าตอบแทนพิเศษในโรงพยาบาล สังกัด สธ. ให้ใกล้เคียงกับภาคเอกชน พยาบาลวิชาชีพทุกตําแหน่ง ให้เพิ่มเงิน พิเศษค่าประกอบวิชาชีพในสาขาขาดแคลน เดือนละ 5,000 บาท จํานวน 170,000 คนต่อเดือน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทําแผนงบประมาณ ขอผลิตและพัฒนาตามกรอบงบประมาณดังกล่าวอีกครั้ง

(2.3) สนับสนุนทุนการพัฒนาศักยภาพการพยาบาลเฉพาะทาง เพื่อจูงใจ ให้พยาบาลอยู่ในระบบมากขึ้น จํานวน 27,786 ทุน จํานวนทุนละ 60,000 บาท

(2.4) สนับสนุนทุนการศึกษาพยาบาล เพื่อจูงใจให้มีการเข้าเรียนพยาบาล มากขึ้น โดยสนับสนุนทั้งจํานวนทุนการศึกษาและตําแหน่งบรรจุข้าราชการ ในลักษณะเดียวกันกับโครงการผลิตพยาบาลวิชาชีพเพิ่มเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ จํานวน 57,000 ทุน จํานวนทุนละ 160,000 บาทต่อทุน

(2.5) เพิ่มความก้าวหน้าให้อาชีพสามารถเลื่อนไหลในระดับชํานาญการพิเศษได้ทุกตําแหน่ง

(2.6) เพิ่มกรอบตําแหน่งผู้ช่วยพยาบาล โดยเฉพาะในโรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก

(3) เพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์

 

เพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์เพื่อทดแทนการทํางาน ของพยาบาลที่ไม่จําเป็นต้องใช้ทักษะเชิงวิชาชีพ เช่น ระบบบันทึกทางการพยาบาลและปัญญาประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์การใช้ Tele-nursing เป็นต้น

 

การจัดทำคำขอ

งบประมาณ

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดําเนินการจัดทําแผนการผลิตกําลังคนและคําของบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ฯ โดยผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการฯ

การขับเคลื่อน

 

สธ. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ฯ และทําความตกลงกับสํานักงาน .. ในการเร่งรัดดําเนินการ มหาวิกฤติเร่งด่วนของการขาดแคลนกําลังคนทางการพยาบาลแผนพยาบาล

 

          3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

              1) ยกระดับระบบสุขภาพของประเทศ ประชาชนเข้าถึงบริการ ทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพได้เพิ่มขึ้น มีสุขภาวะที่ดี ลดการเจ็บป่วยลดการเสียชีวิต

              2) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 สิงหาคม 2567

 

 

8185

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!