หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 21


รายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอรายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 [เป็นการดำเนินการตามมาตรา 5/8 (10) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่บัญญัติให้ กพม. มีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหาร การพัฒนา และการประเมินผลขององค์การมหาชนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่ง กพม. ในการประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 มีมติเห็นชอบรายงานฯ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. กรอบการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (กพม. ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2564 มีมติเห็นชอบกรอบการประเมินองค์การมหาชนดังกล่าวไว้) ประกอบด้วย 3 ส่วน1 สรุปได้ดังนี้

                  1.1 ส่วนที่ 1 องค์ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวน 4 องค์ประกอบ 

องค์ประกอบ

น้ำหนัก

(ร้อยละ)

ตัวชี้วัด

องค์ประกอบที่ 1 ประสิทธิผลการดำเนินงาน เป็นการประเมินการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยงจากยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายและแผนระดับชาติ รวมทั้งนโยบายสำคัญหรือแผนปฏิบัติการของกระทรวงที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน

40

- ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับภารกิจ

ตามวัตถุประสงค์การจัดตั้ง

(ไม่จำกัดจำนวน)

- ตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับนโยบายสำคัญที่บูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวง (ไม่จำกัดจำนวน)

องค์ประกอบที่ 2 ประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการดำเนินงาน เป็นการประเมินประสิทธิภาพในการบริหารงานและความคุ้มค่าในการดำเนินงานการลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐ ความคุ้มค่าในการบริหารและใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

30

- ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงาน/ความคุ้มค่าในการ

ดำเนินงาน (อย่างน้อย 2 ตัวชี้วัด)

- ตัวชี้วัดบังคับ จำนวน 1 ตัวชี้วัด

คือ ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ขององค์การมหาชน

องค์ประกอบที่ 3 ศักยภาพขององค์การมหาชนเป็นการประเมิน การพัฒนาศักยภาพองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ในด้านการพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัลและประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)

20

ตัวชี้วัดบังคับ จำนวน 1 ตัวชี้วัด

คือ ผลการพัฒนาศักยภาพองค์การ

สู่การเป็นระบบราชการ 4.0

องค์ประกอบที่ 4 การควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชนเป็นการประเมินบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการองค์การมหาชนเพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนให้ตอบสนองต่อสภาพการณ์ปัจจุบันและความต้องการของผู้รับบริการ

10

ตัวชี้วัดบังคับ จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนา

ด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน

รวม

100

 

 

                  1.2 ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดประกอบการประเมิน ได้แก่ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน (Integrity and Transparency Assessment: ITA) สำนักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบการประเมิน โดยไม่นำผลคะแนนดังกล่าวมาคำนวณรวมในการประเมินองค์การมหาชน [คณะรัฐมนตรีมติ (24 มกราคม 2566) รับทราบผลการประเมิน ITA ของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แล้ว]

                  1.3 ส่วนที่ 3 ตัวชี้วัดการติดตามผลกระทบเป็นรายปี (Monitoring KPIs) คือ ตัวชี้วัดที่แสดงผลกระทบ (Impact) จากการดำเนินงานขององค์การมหาชนเพื่อติดตามผลสำเร็จขององค์การมหาชนเป็นรายปี (Monitoring KPI) โดยให้องค์การมหาชนรายงานผลตามตัวชี้วัดมายังสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเป็นข้อมูลสะสมสำหรับการประเมินความคุ้มค่าในการจัดตั้งองค์การมหาชนทุก 5 ปี และไม่นำมาคำนวณคะแนน

          2. สรุปผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

                  2.1 ผลการประเมินองค์การมหาชนในภาพรวม

ระดับผลการประเมิน

(คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ)

องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญติองค์การมหาชนฯ

องค์การมหาชน

ที่จัดตั้งตาม

พระราชบัญญัติเฉพาะ

รวม

ระดับดีมาก : ตั้งแต่ 90 คะแนนขึ้นไป

31

(ร้อยละ 88.57)

10

(ร้อยละ 90.91)

41

(ร้อยละ 89.13)

ระดับดี : ตั้งแต่ 75.00-89.99 คะแนน

4

(ร้อยละ 11.43)

1

(ร้อยละ 9.09)

5

(ร้อยละ 10.87)

ระดับพอใช้ : ตั้งแต่ 60.00-74.99 คะแนน

-

-

-

ระดับต้องปรับปรุง : ต่ำกว่า 60 คะแนน

-

-

-

รวม

352

113

46

 

                          2.1.1 องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ ที่มีผลคะแนนอยู่ในระดับดีมาก เช่น 1) สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สวอ.) (100 คะแนน) และ 2) องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) (100 คะแนน) และที่มีผลคะแนนอยู่ในระดับดี เช่น 1) โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) (88.64 คะแนน) 2) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (83.79 คะแนน) และ 3) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (39.42 คะแนน)

                          2.1.2 องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะที่มีผลคะแนนอยู่ในระดับดีมาก เช่น 1) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) (100 คะแนน) 2) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) (100 คะแนน) และ 3) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy Promotion Agency: DEPA (100 คะแนน) และที่มีผลคะแนนอยู่ในระดับดี ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (86.19 คะแนน)

                  2.2 ข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ.ร.

ประเด็น

รายละเอียด

ภาพรวม

- ผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ .. 2565 อยู่ในระดับดีมาก (41 แห่ง จากทั้งหมด 46 แห่ง) โดยไม่มีองค์การมหาชนที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับพอใช้หรือต้องปรับปรุง ซึ่งสะท้อนได้ว่า องค์การมหาชนมีศักยภาพในการดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดตั้ง เป้าหมายขององค์กรรวมทั้งบริหารจัดการองค์กรให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องและมีผลงานสำคัญที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ อย่างครบถ้วน

- องค์การมหาชน จำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สวอ. อบก. สสวท. สพธอ. และ DEPA ได้คะแนนเต็ม 100 คะแนน อาจเนื่องจากการเลือกและกำหนดเป้าหมายในกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ในปีนั้น ซึ่งยังคงต้องพัฒนาโดยการกำหนดตัวชี้วัดที่ท้าทายมากขึ้นต่อไป และเพื่อให้การประเมินองค์การมหาชนสามารถนำเสนอถึงความสำคัญขององค์การมหาชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศได้อย่างชัดเจน สำนักงาน ... จะได้ปรับปรุงกรอบการประเมินผลองค์การมหาชนให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง

การประเมินองค์การมหาชน

โดยที่ยังมีบางหน่วยงานที่ได้คะแนนน้อยกว่าร้อยละ 75 ในบางองค์ประกอบ ซึ่งส่งผลต่อคะแนนในภาพรวม อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่มีความท้าทายสูง เช่น โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ที่ใช้อัตราการตายของผู้ป่วยเป็นตัวชี้วัด ในขณะที่บางหน่วยงานอาจกำหนดตัวชี้วัดเดิมและดำเนินการได้ตามเป้าหมายมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ข้อสังเกตนี้สามารถนำไปสู่การกำหนดหลักเกณฑ์ในการกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการประเมินผลองค์การมหาชน รวมไปถึงตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่าเพื่อการพัฒนาองค์การมหาชน โดยควรนำผลการประเมินที่ผ่านมาพิจารณาว่า ตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งใดที่หน่วยงานได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่องมาอย่างน้อย 3 ปี และสามารถบรรลุตามเป้าหมายมาโดยตลอดไม่ควรนำมากำหนดเป็นตัวชี้วัดในการประเมินประจำปีอีก แต่ให้กำหนดเป็นตัวชี้วัดติดตามผลกระทบเป็นรายปีแทน ซึ่งจะทำให้การประเมินองค์การมหาชนไม่จำเป็นต้องมีตัวชี้วัดครบตามวัตถุประสงค์การจัดตั้ง

 

                  2.3 ข้อสังเกตของ กพม. สรุปได้ ดังนี้

                          2.3.1 องค์การมหาชนที่มีผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์แต่กลับมีผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับดี อาจเกิดจากการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายที่มีความท้าทาย รวมทั้งการมีปัจจัยอื่นเข้ามากระทบจนเป็นผลให้ผลการดำเนินการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย จึงควรเปิดโอกาสให้องค์การมหาชนได้แจ้งเหตุที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัด ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ปรับกำหนดเวลาการส่งคำขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายขององค์การมหาชนตามกรอบการประเมิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แล้ว โดยให้แจ้งเหตุภายในเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของทุกปี เพื่อให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ และรวบรวมคำขอดังกล่าวเสนอต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเพื่อพิจารณาให้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปีงบประมาณต่อไป

                          2.3.2 ควรพิจารณาแนวทางในการส่งเสริมผลักดันให้องค์การมหาชนกำหนดตัวชี้วัดที่มีความท้าทาย

 

_____________

1 กรอบการประเมินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เหมือนกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

2 เป็นการประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ จำนวน 35 แห่ง จาก 36 แห่ง เนื่องจากไม่ประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งใหม่ ได้แก่ สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) (จัดตั้งปี 2564)

3เป็นการประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน 11 แห่ง จาก 24 แห่ง เนื่องจากไม่ประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 จำนวน 12 แห่ง โดยให้ได้รับการประเมินตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการนโยบายทุนหมุนเวียนเพียงระบบเดียว และไม่ประเมินองค์การมหาชนที่จัดตั้งใหม่ตามพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (จัดตั้งปี 2562 ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการภายในเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรในการปฏิบัติงาน ซึ่งยังไม่แล้วเสร็จ)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A51228

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

MTL 720x100

TU 720 x 109

sme 720x100

ธกส 720x100

SPALAI 720x100

PF 720x100

TOA 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!