หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV4 copy


รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เสนอรายงานประจำปี 2565 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์* (เป็นการดำเนินการตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 ที่บัญญัติให้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้กองทุนฯ ทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี) ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 รับทราบ (ร่าง) รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประจำปี 2565

                    1.1 การใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2565 กองทุนฯ มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 572.10 ล้านบาท (แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับดำเนินการ จำนวน 567.83 ล้านบาท และเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 4.27 ล้านบาท) มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณแล้ว จำนวน 532.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.10 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด

                    1.2 ภาพรวมการดำเนินงานของกองทุนฯ ตามยุทธศาสตร์ของกองทุนฯ ที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ยุทธศาสตร์

 

การดำเนินโครงการ/กิจกรรม เช่น

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

(1) โครงการผลิตสื่อวีดิทัศน์ชุดช่างไทย สื่อสารคดีเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทยและสืบสานความเป็นไทย เช่น ช่างทำหัวผีตาโขน ช่างทำหนังตะลุง และช่างแกะสลักไม้ (2) โครงการส่งเสริมคุณค่าวัดไทย โดยยักษ์ไทยในรูปแบบแอปพลิเคชันเกมออนไลน์ในการตามหายักษ์ตามวัดต่างๆ เช่น วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหารและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ และ (3) โครงการนักสืบสายรุ้งละครเด็กที่เน้นสื่อสารประเด็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในระดับต่างๆ การกลั่นแกล้ง (Bully) หรือการละเมิดสิทธิทางเพศ เพื่อให้เด็กเรียนรู้และตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลและการไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อและนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

(1) โครงการฐานข้อมูลต้นแบบเพื่อการรับมือกับข่าวปลอม เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของแหล่งข้อมูลข่าวสารในการลดปัญหาข่าวปลอมในอนาคต และ (2) โครงการหยุดยั้งการระบาดของข่าวลวงด้วยข้อมูลเครือข่ายสังคม เป็นโครงการวิเคราะห์ข่าวลวงในด้านการกระจายตัว ลักษณะ ที่มา และเผยแพร่ผลการศึกษาในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดกลไกและกระบวนการคัดกรอง เฝ้าระวัง และรู้เท่าทันสื่อ

 

(1) โครงการพัฒนากลไกขยายผลหลักสูตรต้นแบบ ครูผู้นำนักสื่อสารเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพด้านการรู้เท่าทันสื่อผ่านการทำงานร่วมกัน และถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียน นักศึกษา เกิดเป็นพลเมืองที่รู้เท่าทันสื่อ และ (2) โครงการนักสืบสายชัวร์xชัวร์ก่อนแชร์สโมสร ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้เท่าทันข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และการสร้างความตระหนักในการแยกแยะ เปิดรับ ตรวจสอบ เชื่อถือ และส่งต่อข้อมูลข่าวสารบนสื่อประเภทต่างๆ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อสังคมให้เกิดการรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคี

 

(1) สนับสนุนการผลิตหนังสือรวมเรื่องสั้นเรื่องเล่า เราฝัน ถึงกรุงเทพฯที่บอกกล่าวความต้องการของคนในกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นเสียงสะท้อนในการแก้ไขปัญหาสังคม (2) โครงการเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค เพื่อขยายเครือข่ายการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยแพร่ความรู้และแนวคิดไปยังภาคีเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรภาครัฐ องค์กรวิชาชีพ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไปในระดับภูมิภาค และ (3) จัดงานประกาศเกียรติคุณสุดยอดสื่อส่งเสริมการเรียนรู้สร้างสรรค์แห่งปี ประจำปี 2565 เพื่อให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงและสร้างมูลค่าเพิ่มของสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

(1) ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เช่น กรมการปกครองและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และปรับปรุงระบบบริหารจัดการงานโครงการ เพื่อให้ผู้ขอรับทุนจากกองทุนฯ ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงระบบการติดตามและประเมินผลโครงการของผู้รับทุน และ (2) ด้านการร่วมมือกับหน่วยงานระดับสากลและในประเทศ กองทุนฯ ได้เข้าร่วมการอบรมนำร่องหลักสูตรการเป็นวิทยากรเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลเท็จ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักเลขาธิการอาเซียนร่วมกับองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้กับหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อของกองทุนฯ

 

          2. รายงานของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ พบว่า การดำเนินงานของกองทุนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ใน 4 มิติ ได้แก่ ด้านประสิทธิผล ด้านประสิทธิภาพ ด้านคุณภาพ และด้านการพัฒนาองค์กร มีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ที่ 4.8306 คะแนน (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) โดยสูงกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่ได้ 4.7985 คะแนน (สูงขึ้น 0.0321) และการประเมินการบริหารจัดการองค์กรเพื่อคุณธรรมและความโปร่งใส (ITA) ได้รับผลการประเมินระดับ “A” (93.27 คะแนน) โดยรับคะแนนสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในระดับผลการประเมินเดียวกัน (93.05 คะแนน) ทั้งนี้ คณะกรรมการประเมินผลฯ ได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น ให้กองทุนฯ มีการสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อการดำเนินงานของกองทุนฯ รวมถึงสื่อต่างๆ ที่กองทุนฯ ผลิตและสนับสนุนการผลิต รวมถึงให้มีการร่วมมือกับแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางในการนำเนื้อหาสื่อที่มีอยู่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          3. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยผู้สอบบัญชี (จากผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก) เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

ปี 2565

ปี 2564

เพิ่มขึ้น/(ลดลง)

1. งบแสดงฐานะการเงิน วันที่ 30 กันยายน 2565

    รวมสินทรัพย์

587.92

633.82

(45.90)

    รวมหนี้สิน

10.99

13.71

(2.72)

    รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน

576.93

620.11

(43.18)

2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565

    รวมรายได้

515.78

516.01

(0.23)

    รวมค่าใช้จ่าย

558.96

522.16

36.80

    รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ

(43.18)

(6.15)

(37.03)

3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565

    ทุน

0.00

0.00

0.00

    รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม

576.93

620.11

(43.18)

    รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน (ยอดคงเหลือ)

576.93

620.11

(43.18)

 

หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเกิดจากค่าใช้สอยต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การเดินทาง การจ้างเหมาบริการ-บุคคลภายนอก และการประชาสัมพันธ์

________________

* กองทุนฯ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์ เช่น รณรงค์ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และดำเนินการส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 พฤษภาคม 2566

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

 

A5993

Click Donate Support Web  

MTL 720x100

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!