หมวดหมู่: พาณิชย์

1 BCVD


พาณิชย์ พร้อมให้คำปรึกษาผู้ประกอบการ แก้ปัญหาหลบเลี่ยงการชำระอากร AD/CVD

     กรมการค้าต่างประเทศยินดีต้อนรับผู้ประกอบการ ขอรับคำปรึกษา กรณีพบพฤติกรรมหลบเลี่ยงการชำระอากร AD และ CVD ในการนำเข้าสินค้า เพื่อใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (AC) ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการในประเทศ และสกัดกั้นไม่ให้ประเทศที่ถูกใช้มาตรการ AD/CVD หลบเลี่ยงถูกเก็บอากรนำเข้า

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า กรมพร้อมให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการที่มีการตรวจสอบพบว่ามีการนำเข้าสินค้าในรูปแบบการหลบเลี่ยงการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (Anti-Circumvention : AC) กับสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบกับผู้ประกอบการในประเทศ และจะดำเนินการเรียกเก็บอาการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping : AD) กับผู้ส่งออกหรือผู้ผลิตรายที่กระทำการหลบเลี่ยงการชำระอากร AD ตามกฎหมายด้วย

ทั้งนี้ รูปแบบการหลบเลี่ยงที่สามารถใช้มาตรการ AC จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การหลบเลี่ยงโดยการเปลี่ยนแปลงสินค้า ด้วยการแก้ไขดัดแปลงเพียงเล็กน้อย (Slight modification) เช่น การนำสินค้าเหล็กไปเจือธาตุ เพื่อเปลี่ยนพิกัด โดยที่คุณสมบัติและการนำไปใช้ของสินค้ายังคงเดิม หรือการหลบเลี่ยงโดยการเปลี่ยนเส้นทางนำเข้าสินค้า เช่น การส่งสินค้าที่ถูกใช้มาตรการ AD และอากรตอบโต้การอุดหนุน (Countervailing Duty : CVD) ผ่านประเทศที่ไม่ถูกใช้มาตรการ AD/CVD (Transshipment) ยกตัวอย่างเช่น สินค้าเหล็กจากประเทศ ก. โดนมาตรการ AD จากไทย จึงส่งสินค้าดังกล่าวไปยังประเทศ ข. และส่งออกมาไทยอีกทอดหนึ่ง หรือการส่งสินค้าที่ถูกใช้มาตรการ AD/CVD

ผ่านผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกที่ถูกเรียกเก็บอากร AD/CVD ในอัตราที่ต่ำกว่าตนเอง (Channelling) ยกตัวอย่างเช่น สินค้าเหล็กจากบริษัท ก. ถูกเรียกเก็บอากร AD จากไทยในอัตรา 20% จึงให้บริษัท ข. ที่ถูกเรียกเก็บอากร AD จากไทยในอัตรา 5% เป็นผู้ส่งสินค้าดังกล่าวออกมาไทยอีกทอดหนึ่ง

การแก้ไขปัญหาการหลบเลี่ยงมาตรการ AD/CVD กรมได้เพิ่มมาตรการตอบโต้การการทุ่มตลาดและการอุดหนุน หรือที่เรียกกันว่ามาตรการ AC เพื่อใช้แก้ไขปัญหาการหลบเลี่ยงเพื่อชำระอากร AD และ CVD ในการปรับพรุงพ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มและการอุดหนุนซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ.2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่พ.ค.2564 และจะเดินหน้าช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยที่ได้รับความเสียหายจากการหลบเลี่ยงมาตรการดังกล่าวต่อไป”นายรณรงค์กล่าว

สำหรับ ผู้ประกอบการรายใด พบเห็นการนำเข้ามาในรูปแบบการหลบเลี่ยงการใช้มาตรการ AD/CVD สามารถแจ้งข้อมูลมายังกรม เพื่อให้ใช้มาตรการ AC ได้ โดยติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองบริหารการนำเข้าและรับรองถิ่นกำเนิด เพื่อขอรับคำปรึกษาได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2547 5086 หรืออีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

Click Donate Support Web  

kasat 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100ais 720x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!