หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 3

ผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 สิงหาคม 2565) เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์ 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565 (2) ร่างแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคสำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 และ (3) ร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี .. 2030 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กษ. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] ซึ่งการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ด้านความมั่นคงอาหารร่วมกันของรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค โดยผลักดันการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สรุปผลการประชุมฯ ได้ ดังนี้

          1. การประกาศแถลงการณ์ประธานสำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาค โดยในแถลงการณ์ฯ ได้ผลักดันนโยบายสำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) การสนับสนุนความปลอดภัยอาหารและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (2) การปรับปรุงการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี (3) การส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ (4) การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคเกษตรอาหาร และ (5) การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

 

TU720x100


 

          2. การกล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี .. 2030 ของประเทศต่างๆ โดยแต่ละประเทศให้ความสำคัญเกี่ยวกับการผลักดันความมั่นคงอาหาร เช่น เครือรัฐออสเตรเลียให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการห่วงโช่อุปทานสีเขียวอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ชนบท โดยให้เงินสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงจากฐานรากไปสู่การมีระบบอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีด้านการเงินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโมเดลต้นแบบเมืองคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เพิ่มบทบาทให้กับกลุ่มที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้รับการปลดปล่อย ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Ministry of Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) สตรี เยาวชน ชุมชนพื้นเมือง และผู้สูงอายุ อินโดนีเซียให้ความสำคัญกับการสร้างผลิตภาพแรงงานเกษตรและแรงงานที่มีทักษะต่ำให้เป็นการเกษตรสมัยใหม่ ฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายเทคโนโลยีการเกษตร 4.0 และนโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ นโยบายสร้างความหลากหลายในอุตสาหกรรม การเกษตร มาเลเซียให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการสนับสนุนการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เวียดนามให้ความสำคัญกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ชนบทอย่างยั่งยืนภายในปี 2021-2030 เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ส่งเสริมการสร้างพื้นที่ชนบทสีเขียว และเชื่อมโยงกับกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นเมือง และไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนภาคเกษตร รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตร และยกระดับความร่วมมือเครือข่ายการพัฒนาภาคการเกษตรจาก ทุกภาคส่วน

          3. การร่วมรับรองแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ ปี .. 2030 ของประเทศสมาชิก ซึ่งแผนปฏิบัติการดังกล่าวเป็นแนวทางการบรรลุความมั่นคงอาหารและโภชนาการภายในปี .. 2030 มีการกำหนดประเด็นสำคัญ 6 ประเด็น ได้แก่ (1) เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม (2) ผลิตภาพ (3) ความครอบคลุม (4) ความยั่งยืน (5) ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน และ (6) การกำหนดเป้าหมายอย่างชาญฉลาดและการนำไปปฏิบัติ ซึ่งมีกิจกรรมที่ให้ดำเนินการโดยสมัครใจเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ จำนวน 27 กิจกรรม เช่น การส่งเสริมให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและแนะนำเทคนโลยีและสินค้าที่เป็นนวัตกรรม การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ (เช่น เกษตรอัจฉริยะ) และการแบ่งปันประสบการณ์หรือแนวทางที่ประสบความสำเร็จแก่เขตเศรษฐกิจและองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ

 

ธกส 720x100

 

          4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืน (โดยผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการเอเปค และผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ) สรุปได้ ดังนี้

                 1) การส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (เช่น องค์การการค้าโลก องค์การสหประชาชาติ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และโครงการอาหารโลก) เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร รวมถึงอำนวยความสะดวกทางการค้าและการยับยั้งข้อห้ามและข้อจำกัดต่างๆ ในการส่งออก และส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่างกันมากขึ้นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับระบบนิเวศอาหาร

                 2) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ ปี .. 2030 และให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผนดิจิทัลด้านความมั่นคงอาหารเพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต การจัดจำหน่ายและการค้า ตลอดจนการนำโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model มาปรับใช้ รวมถึงส่งเสริมแนวทางการแปรรูปอาหารที่ เป็นนวัตกรรม สำหรับอาหารในอนาคตที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

                 3) การส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตร โดยเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังคนให้เข้าถึงบริการดิจิทัลและเครื่องมือทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมและครอบคลุมสำหรับทุกคน รวมถึงพัฒนากระบวนการผลิต โภชนาการ และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชาชนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย ราคาไม่แพง และมีคุณค่าทางโภชนาการ

          5. การร่วมพิจารณาร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตจำนงในการดำเนินงานด้านความมั่นคงอาหารระหว่างสมาชิกเอเปค โดยไม่มีการลงนามและไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม มีบางประเด็นที่ประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้ เช่น นิยามคำว่าความขัดแย้งและชุมชนพื้นเมืองทำให้ปฏิญญาฯ ไม่ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมฯ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 พฤศจิกายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A11719

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!