หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 10


ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In-person) และความคืบหน้าในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In-person) ระหว่างวันที่ 21 - 25 มีนาคม 2565 เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และความคืบหน้าในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะฯ โดยมีผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ ทส. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 มีนาคม 2565) เห็นชอบกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย รวมทั้งร่างปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการต่อต้านการค้าปรอทอย่างผิดกฎหมายทั่วโลก] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

       1. ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In-person)

             1.1 รับรองปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการต่อต้านการค้าปรอทอย่างผิดกฎหมายทั่วโลก ซึ่งไม่ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญไปจากร่างปฏิญญาฯ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565

             1.2 มติข้อตัดสินใจสำคัญที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามหรือสามารถนำมาปรับใช้ประกอบด้วย (1) ข้อเสนอสำหรับการแก้ไขภาคผนวก เอ (ผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอท) ของอนุสัญญามินามาตะฯ เช่น เห็นชอบให้เพิ่มรายการผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอท 8 รายการ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ชนิดคอมแพกต์แบบบัลลาสต์ภายใน สำหรับการใช้งานทั่วไป ขนาดต่ำกว่าหรือเท่ากับ 30 วัตต์ และมีปรอทบรรจุไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อหลอด และฟิล์มและกระดาษถ่ายภาพ เห็นชอบให้นำผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอทซึ่งยังไม่ได้ข้อยุติไปพิจารณาต่อในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 5 และเห็นชอบให้เพิ่มมาตรการลดการใช้อะมัลกัมทางทันตกรรมอีก 2 มาตรการ แต่ยังไม่เห็นชอบให้ยกเลิกการใช้ (2) ความเป็นไปได้ที่จะนำร่างแนวทางการใช้พิกัดศุลกากร ซึ่งมีตัวเลขมากกว่า 6 หลัก เพื่อตรวจสอบและควบคุมการนำเข้าและส่งออกผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอทตามความสมัครใจ (3) การรับรองแนวทางของวิธีการจัดทำทำเนียบปรอทสำหรับรายการแหล่งกำเนิดที่ปล่อยปรอท และเชิญชวนภาคีปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวเพื่อจัดทำทำเนียบปรอทที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยปรอทจากแหล่งกำเนิดที่เกี่ยวข้อง (4) การรับรองการปรับปรุงแนวทางจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติด้านการทำเหมืองแร่ทองคำพื้นบ้านและขนาดเล็ก โดยเรียกร้องการมีส่วนร่วมของชนเผ่าพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่นและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาและดำเนินการ (5) การเห็นชอบที่จะเริ่มประเมินความมีประสิทธิผลของอนุสัญญามินามาตะฯ ครั้งแรก คือ การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 4 และจะพิจารณากำหนดเวลาในการประเมินความมีประสิทธิผลในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 5 และ (6) วาระสำคัญอื่นๆ เช่น กำหนดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 5 ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม - 4 พฤศจิกายน 2566 นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

 

AXA 720 x100

aia 720 x100

 

        2. สาระสำคัญที่มีความคืบหน้าและจะนำไปหารือต่อในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 5 เช่น การพิจารณาค่าขีดจำกัดขั้นต่ำของของเสียที่ปนเปื้อนปรอทหรือสารประกอบปรอท การทบทวนกลไกทางการเงิน และการเห็นชอบให้สำนักเลขาธิการอนุสัญญามินามาตะฯ เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสำนักเลขาธิการ (Inter-secretariat working groups) กับสำนักเลขาธิการฯ ของ 3 อนุสัญญา (อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายและการกำจัด อนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศและอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน) (BRS Conventions)

        3. หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้ตัดสินใจเข้าร่วมสนับสนุนร่างมติข้อตัดสินใจในการปรับปรุงความร่วมมือระหว่างสำนักเลขาธิการอนุสัญญามินามาตะฯ และสำนักเลขาธิการ 3 อนุสัญญา (BRS Conventions) เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สอดคล้องและไม่ขัดหรือแย้งต่อนโยบายและการดำเนินงานในปัจจุบันของประเทศไทย

        4. สิ่งสำคัญที่ประเทศไทยควรพิจารณาดำเนินการ ตามมติข้อตัดสินใจ คือ (1) นำร่างแนวทางการใช้พิกัดศุลกากร ซึ่งมีตัวเลขมากกว่า 6 หลัก มาช่วยสนับสนุนการจำแนกผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอทออกจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่เติมปรอท ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อรองรับพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะฯ และ (2) นำแนวทางของวิธีการจัดทำทำเนียบปรอทสำหรับรายการแหล่งกำเนิดที่ปล่อยปรอทมาปรับใช้ในการจัดทำทำเนียบปรอทของประเทศไทยและแผนระดับชาติด้านการจัดการปรอท ภายใต้โครงการ Advanced Minamata Assessment in Thailand ซึ่งอยู่ระหว่างขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ในรอบที่ 7

        5. ความคืบหน้าในการปฏิบัติตามพันธกรณีของอนุสัญญามินามาตะฯ ตามแผนการเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ และข้อเสนอในการออกกฎหมายเพิ่มเติมเพื่อการภาคยานุวัติในอนุสัญญามินามาตะฯ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอท (เช่น สวิตซ์ไฟฟ้า และหลอดฟลูออเรสเซนต์) และกรมอนามัย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินมาตรการลดการใช้ปรอท 5 มาตรการ คือ มาตรการที่ 1 กำหนดวัตถุประสงค์ระดับชาติเพื่อป้องกันฟันผุและสนับสนุนการสร้างทันตสุขภาพที่ดีเพื่อลดความต้องการในการบูรณะฟัน มาตรการที่ 3 ส่งเสริมให้มีการใช้วัสดุทดแทนอะมัลกัมในการบูรณะฟันน้ำนม มาตรการที่ 5 ยกเลิกการสอบขึ้นทะเบียนวิชาชีพ หัวข้อทันตกรรมหัตถการอุดฟันด้วยอะมัลกัมในผู้ป่วยเด็ก มาตรการที่ 8 ห้ามการผลิต นำเข้า และส่งออกอะมัลกัมชนิดเม็ดในประเทศไทย และมาตรการที่ 9 สนับสนุนการใช้แนวปฏิบัติการจัดการขยะติดเชื้อและขยะปนเปื้อนปรอทจากคลินิกทันตกรรมเพื่อลดการปล่อยปรอทและสารประกอบปรอทลงสู่น้ำและดิน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 20 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9737

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!