หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV 13


ร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ มท. รับไปพิจารณาปรับปรุงในรายละเอียด แล้วเสนอคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองพิจารณาก่อนดำเนินการต่อไป

        ทั้งนี้ มท. เสนอว่า

        1. พระราชบัญญัติการผังเมือง .. 2562 มาตรา 75 (8) บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจในการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองเพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมาตรา 7 บัญญัติให้ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองที่คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติจัดทำตามมาตรา 75 (8) เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามหน้าที่และอำนาจของตน

        2. กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ยกร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง มีสาระสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนนำ ประกอบด้วย บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง และการปฏิบัติตามธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง (2) นิยามศัพท์ (3) ส่วนสาระสำคัญรายหมวด จำนวน 26 ข้อ ประกอบด้วย หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย จำนวน 7 ข้อ หมวด 2 หลักการพื้นฐาน จำนวน 14 ข้อ และหมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่ จำนวน 5 ข้อ และนำไปรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

        3. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองตามข้อ 2 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

        สาระสำคัญของร่างธรรมนูญฯ

        1. ส่วนที่ 1 : ส่วนนำ ได้แก่ บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง และการปฏิบัติตามธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง เนื่องจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นแม่บทในการพัฒนาที่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) เป็นดัชนีชี้วัดเช่นเดียวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศตะวันตก โดยขาดมาตรการรองรับเพื่อการถ่วงดุลระหว่างภาคส่วนของสังคมที่เหมาะสม ก่อให้เกิดปัญหากับประเทศหลายประการ ทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม เช่น การใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ระบบการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ที่ขาดสมดุล ผลกระทบจากภัยพิบัติสาธารณะ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และความเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่เมืองกับชนบท ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในมาตรา 72 (2) ให้จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อันเป็นที่มาของภารกิจด้านการผังเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง .. 2562 เพื่อให้ การผังเมือง เป็นกรอบในการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด แล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศในด้านการใช้พื้นที่นั้นๆ อีกทั้งได้กำหนดให้ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองต้องดำเนินการบนพื้นฐานที่สำคัญ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561 - 2580) เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมือง และโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio - Circular - Green Economy : BCG) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

TU720x100

 

        2. ส่วนที่ 2 : นิยามศัพท์ เช่น

        การวางผังเมือง หมายความว่า กระบวนการให้ได้มาซึ่งผังเมือง ประกอบด้วย ผังนโยบายระดับประเทศ ผังนโยบายระดับภาค ผังนโยบายระดับจังหวัด ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ

        เมืองอัจฉริยะ หมายความว่า เมืองที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย และชาญฉลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง ลดค่าใช้จ่ายและการใช้ทรัพยากรของเมืองและประซากรเป้าหมาย โดยเน้นการออกแบบที่ดี และการมีส่วนร่วมของภาคธุรกิจและประชาชนในการพัฒนาเมือง ภายใต้แนวคิดการพัฒนาเมืองน่าอยู่ เมืองทันสมัยให้ประชาชนในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขอย่างยั่งยืน

        3. ส่วนที่ 3 : ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ซึ่งจำแนกเป็น 3 หมวด ได้แก่

             3.1 หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย ได้แก่ รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมืองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หน่วยงานของรัฐพึงจัดทำแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับผังเมืองทุกระดับ

             3.2 หมวด 2 หลักการพื้นฐาน ได้แก่ การผังเมืองต้องคำนึงถึงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและแสดงข้อคิดเห็น การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน

             3.3 หมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่ ได้แก่ การวางผังเมืองต้องคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์ การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ ต้องดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์และวิถีชุมชน รายละเอียดดังนี้

                    1. ส่วนนำ ประกอบด้วย บทบาทและความสำคัญของการผังเมือง

                           1.1 ด้านกายภาพ เนื่องจากความต้องการใช้พื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมของมนุษย์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เกิดการรุกล้ำพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ป่าไม้ ตลอดจนพื้นที่ควรแก่การอนุรักษ์ ส่งผลให้เกิดการแผ่ขยายของเมืองอย่างไม่เป็นระเบียบ

                           1.2 ด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างรายได้ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำ ผู้ที่มีรายได้สูงจำนวนเพียงร้อยละสิบ ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ยังมีรายได้ในเกณฑ์ระดับต่ำ มีการสร้างงานเพิ่มขึ้นในเขตเมืองทำให้ประชากรวัยแรงงานในภาคชนบทเคลื่อนย้ายเข้าสู่แหล่งงานในเมือง การขยายตัวของเมืองไร้ทิศทาง การจราจรแออัด ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศเมือง

                           1.3 ด้านสังคม เกิดการอพยพของประชากรวัยแรงงานจากภาคชนบทเข้าสู่เมือง โดยทอดทิ้งให้ประชากรสูงอายุอยู่โดยลำพัง สร้างปัญหาครอบครัว

                           1.4 ด้านความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม การใช้พื้นที่ไม่เหมาะสมนำมาซึ่งปัญหาและภัยพิบัติสาธารณะที่ต้องประสบเป็นประจำทุกปี มลพิษจากภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม ตลอดจนการกัดเซาะชายฝั่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ เกิดการสะสมของปัญหาต่อทุนทางธรรมชาติ เกิดความขัดแย้งที่แย่งชิงทรัพยากรระหว่างกลุ่มคนในสังคมที่ครอบครองทรัพยากรไม่เท่าเทียมกัน การบริโภคที่ไม่เหมาะสม การใช้ชีวิตที่ขาดระเบียบวินัยและกฎกติการ่วมกัน แปรเปลี่ยนสภาพสังคมไทยที่มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน กลายเป็นสังคมที่แก่งแย่งเพื่อความอยู่รอด ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต

                           1.5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐไว้ในมาตรา 72 (2) ดังนี้จัดให้มีการวางผังเมืองทุกระดับและบังคับการให้เป็นไปตามผังเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ รวมตลอดทั้งพัฒนาเมืองให้มีความเจริญโดยสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อันเป็นที่มาของภารกิจด้านการผังเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง .. 2562 เพื่อให้ การผังเมือง เป็นกรอบในการวางผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่ตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับภาค และระดับจังหวัด แล้วให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการภายใต้กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศในด้านการใช้พื้นที่นั้น

                    2. ที่มาของธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง

                           2.1 ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมืองได้ถูกกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง .. 2562 โดยให้คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติเป็นผู้จัดทำ เพื่อใช้เป็นหลักการพื้นฐานที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผังเมืองพึงปฏิบัติ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วมีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องดำเนินการต่อไปตามหน้าที่และอำนาจของตน (มาตรา 7 และมาตรา 75 (8))

                           2.2 รัฐบาลได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในเรื่องการใช้พื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน โดยต้องมีการกำหนดนโยบายการตั้งถิ่นฐานและการผังเมืองให้มีหน่วยงานระดับชาติกำกับดูแล และทำงานควบคู่ไปกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้มีกฎหมายเฉพาะเหมือนเป็นธรรมนูญการผังเมืองในการกำกับกฎหมายอื่นๆ

 

ใจฟู720x100px

 

                           2.3 ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง ดำเนินการบนพื้นฐานที่สำคัญ ดังนี้

                                  2.3.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายน ปี .. 2015 ถึงเดือนสิงหาคม .. 2030 ครอบคลุมระยะเวลา 15 ปี โดยเป้าหมายที่ 11 เมืองและการตั้งถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน การทำให้เข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยและเหมาะสมและพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่ยั่งยืน การลงทุนด้านการขนส่งสาธารณะ การสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียว การปรับปรุงการวางผังเมือง และการบริหารจัดการในลักษณะแบบมีส่วนร่วม

                                  2.3.2 วาระใหม่แห่งการพัฒนาเมือง (New Urban Agenda) จากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่อยู่อาศัยและเมืองอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 3 (Habitat III) ได้มาซึ่งหลักการและแนวปฏิบัติที่ผ่านการทดลองแล้วเพื่อเป็นวิสัยทัศน์ร่วมกันของประชาคมโลก ในการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน และควรเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดอนาคตของเมือง นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

                                  2.3.3 ยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561 - 2580) เป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล มียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้พื้นที่และเมือง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการด้านผังเมือง คือ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

                                  2.3.4 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมือง คือ (1) ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ และ (3) ด้านการพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ

                                  2.3.5 โมเดลเศรษฐกิจใหม่ (Bio - Circular – Green Economy : BCG) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติ ไปพร้อมกัน ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ควบคู่กับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนไปพร้อมกัน

                    3. กำหนดให้มีนิยามศัพท์ ทั้งสิ้น 19 คำนิยาม เช่นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล” “การวางผังเมือง” “พื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม” “เมืองอัจฉริยะ” “อัตลักษณ์เป็นต้น

                    4. กำหนดสาระรายหมวด ประกอบด้วย

 

ธรรมนูญว่าด้วยการผังเมือง

หมวด 1 หลักการเชิงนโยบาย

(ข้อ 1 - 7)

 

หมวด 2 หลักการพื้นฐาน

(ข้อ 8 - 21)

 

หมวด 3 หลักการเชิงพื้นที่

(ข้อ 22 - 26)

ข้อ 1 รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมือง

ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ข้อ 2 รัฐพึงบรรจุเรื่องการผังเมืองไว้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลและแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้มีผลผูกพันนำไปสู่การปฏิบัติ

ข้อ 3 รัฐพึงใช้ผังเมืองเป็นกรอบนโยบายในการพัฒนาพื้นที่ของประเทศและดำเนินการหรือสนับสนุนการพัฒนาประเทศแบบบูรณาการในทุกภาคส่วนให้เป็นไปตามที่ผังเมืองแต่ละระดับ

กำหนด

ข้อ 4 หน่วยงานของรัฐพึงจัดทำแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับผังเมืองทุกระดับ

ข้อ 5 หน่วยงานของรัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการให้เป็นไปตาม ผังเมืองที่กำหนด

ข้อ 6 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ด้านผังเมือง

ทั้งในและนอกระบบการศึกษาให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคมด้วยหลักสูตรต่างๆ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 7 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริม

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่เหมาะสมกับการดำเนินการในการจัดทำและปฏิบัติทางผังเมือง

 

ข้อ 8 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึง

ประโยชน์ของประเทศและประชาชนเป็นหลัก

ข้อ 9 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึง

ความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสาธารณประโยชน์

ข้อ 10 การผังเมืองต้องคำนึงถึงการให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมและแสดงข้อคิดเห็น

ข้อ 11 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการป้องกันสาธารณภัย และความสงบเรียบร้อยของประชาชน

ข้อ 12 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดิน

ข้อ 13 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงการสร้างความเชื่อมโยงในการคมนาคมและการขนส่งให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ข้อ 14 การวางและปฏิบัติตามผังเมืองต้องยึดมั่นในหลักวิชาการทางผังเมือง

ข้อ 15 การวางผังเมืองต้องคำนึง ถึงความสำคัญในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม

ข้อ 16 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการวางแผนการตั้ง ถิ่นฐานให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ลดความเสี่ยง และความเสียหายจากการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ และผลกระทบจากสาธารณภัย

ข้อ 17 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

ข้อ 18 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการจัดหาบริการขั้นพื้นฐานและพื้นที่สาธารณะที่เพียงพอและเหมาะสมให้แก่ประชาชน

ข้อ 19 การวางผังเมืองต้องคำนึงถึงการจัดให้มีพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวที่เพียงพอและเหมาะสม

ข้อ 20 การวางผังเมืองต้องสนับสนุนแนวทางการพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาเมืองแห่งอนาคต

ข้อ 21 การวางผังเมืองต้องออกแบบวางผังพื้นที่ กลุ่มอาคารสิ่งก่อสร้าง และโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่น และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม

 

ข้อ 22 การวางผังเมืองต้องกำหนดเขตสงวน เขตอนุรักษ์ เขตพัฒนา ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

ข้อ 23 การวางผังเมืองต้องคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีความสมบูรณ์

ข้อ 24 การวางผังเมืองต้องกำหนดพื้นที่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ข้อ 25 การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ต้องคุ้มครองและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ที่งดงามหรือมีคุณค่าในทางธรรมชาติ

ข้อ 26 การวางผังเมืองและการพัฒนาพื้นที่ ต้องดำรงรักษาหรือบูรณะสถานที่และวัตถุที่มีประโยชน์หรือคุณค่าในทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์หรือโบราณคดี โดยคำนึงถึงอัตลักษณ์และวิถีชุมชน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 13 กันยายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A9541

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!