หมวดหมู่: แบงก์พาณิชย์

FITCH12 44


ฟิทช์ คงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) ที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้ม อันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ – กรุงเทพฯ– 9 กันยายน 2565: บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ของธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) (SMTBT) ที่ ‘AAA(tha) แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และฟิทช์คงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-Term Rating) ของธนาคาร ที่ ‘F1+(tha)’

 

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต

อันดับเครดิตพิจารณาจากปัจจัยสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น: อันดับเครดิตของ SMTBT สะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ว่ามีโอกาสสูงที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษจากธนาคารแม่ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งคือ Sumitomo Mitsui Trust Bank, Limited (SMTB; A-/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ในกรณีที่จำเป็น SMTB  เป็นธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีเครือข่ายการดำเนินงานในประเทศที่แข็งแกร่งในธุรกิจทรัสต์และธุรกิจบริการรับฝากทรัพย์สิน

อันดับเครดิตภายในประเทศของ SMTBT สะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ในด้านโครงสร้างเครดิตของธนาคารที่มีปัจจัยสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นเปรียบเทียบกับธนาคารและบริษัทอื่นในประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารที่ 'AAA(tha)' เป็นอันดับเครดิตที่มีโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารและบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ จากความสามารถและโอกาสในการให้การสนับสนุนจากธนาคารแม่

มีความเชื่อมโยงในด้านกลยุทธ์: ฟิทช์เชื่อว่า SMTBT มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนแผนการขยายกิจการต่างประเทศของกลุ่มไปยังตลาดที่มีความสำคัญเชิงกลยุทธ์ SMTBT ให้บริการลูกค้าของกลุ่มในประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นเป้าหมายการลงทุนที่สำคัญสำหรับบริษัทญี่ปุ่น

SMTB ถือหุ้นทั้งหมดในธนาคารลูกในประเทศไทย อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงของสัญลักษณ์ทางการค้าที่ชัดเจนและมีการควบคุมการบริหารงานในระดับสูง นอกจากนี้ SMTBT ยังมีความเชื่อโยงในการดำเนินงานกับบริษัทแม่ รวมถึงกระบวนการบริหารความเสี่ยงและระบบงานของธนาคาร ฟิทช์ เชื่อว่า แผนเชิงกลยุทธ์ในระยะกลางของธนาคารมีการร่วมมือในการวางแผนงานอย่างใกล้ชิดกับกลุ่ม

ขยายกิจการต่อเนื่อง: SMTBT เริ่มดำเนินการในปี 2558 โดยมีรูปแบบธุรกิจที่เน้นการให้บริการลูกค้าบริษัทญี่ปุ่น การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในปี 2563 ทำให้เกิดการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางธุรกิจได้เริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้วในช่วงที่ผ่านมา และธนาคารมีสินเชื่อเติบโตขึ้น 42% จากปีก่อนสำหรับรอบปีบัญชีสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 จากความต้องการสินเชื่อที่สะสม ฟิทช์คาดว่าธนาคารจะยังคงขยายธุรกิจในประเทศได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าอัตราการเติบโตน่าจะลดลงก็ตาม

ยังคงสามารถทำกำไรในระดับปานกลาง: SMTBT ยังรักษาความสามารถในการทำกำไรได้แม้สภาพแวดล้อมการดำเนินงานจะมีความท้าทาย โดยอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยง (risk-weighted asset) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเป็น 0.7% ในรอบการดำเนินงานสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 โอกาสที่ผลประกอบการของธนาคารจะปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้นยังคงมีจำกัดเนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังคงเป็นไปได้ช้าและส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิของธนาคารยังคงต่ำ อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับลูกค้าของ SMTBT และการสนับสนุนจากกลุ่มจะช่วยให้ธนาคารสามารถให้บริการกลุ่มลูกค้าในประเทศไทยได้ต่อไป

การระดมทุนได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์กับกลุ่ม: SMTBT มีอัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากที่ค่อนข้างสูงที่ 266% (ณ สิ้นรอบปีบัญชีเดือนมีนาคม 2565) แต่ฟิทช์เชื่อว่าความเสี่ยงด้านการระดมเงินทุนได้รับการบรรเทาลงจากการสนับสนุนในการดำเนินงานตามปกติอย่างต่อเนื่องจากธนาคารแม่  SMTBT ได้รับประโยชน์จากวงเงินสินเชื่อระหว่างธนาคารภายในกลุ่ม (intra-group facilities) และฟิทช์คาดว่าความสัมพันธ์โดยรวมของกลุ่มจะช่วยเอื้อประโยชน์ต่อการกู้เงินระหว่างธนาคารหากมีความจำเป็น

 

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

การปรับตัวด้อยลงของปัจจัยในด้านการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นอาจส่งผลเชิงลบต่ออันดับเครดิตของ SMTBT ตัวอย่างเช่น การปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ SMTB อาจส่งผลให้ความสามารถในการให้การสนับสนุน (ability to support) แก่ธนาคารลูกในประเทศไทยลดลงและส่งผลให้อันดับเครดิตของ SMTBT ถูกปรับลดอันดับเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การปรับอันดับเครดิตจะรวมการพิจารณาถึงโครงสร้างเครดิตซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารแม่เมื่อเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่นๆที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศด้วย

นอกจากนี้ อันดับเครดิตของ SMTBT อาจได้รับการปรับลดอันดับ หากฟิทช์เชื่อว่าโอกาส (propensity to support) ที่ธนาคารแม่จะให้การสนับสนุนต่อ SMTBT ปรับตัวลดลงซึ่งอาจบ่งชี้โดยการลดระดับความสัมพันธ์ระหว่าง SMTBT กับกลุ่ม การลดสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารลูกในประเทศไทยลงต่ำกว่า 75% ร่วมกับการลดระดับในการควบคุมการบริหารงาน การผสานการดำเนินงานและการใช้กลยุทธ์ร่วมกัน อย่างไรก็ตามฟิทช์ไม่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของโอกาสในการให้การสนับสนุนในระยะสั้น

 

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

อันดับเครดิตภายในประเทศของ SMTBT เป็นอันดับเครดิตที่สูงที่สุดสำหรับอันดับเครดิตภายในประเทศ จึงไม่สามารถปรับเพิ่มอันดับเครดิตได้อีก

 

อันดับเครดิตที่มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตอื่น

อันดับเครดิตของ SMTBT มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตของ SMTB

 

ติดต่อ

Primary Analyst

พาสันติ์ สิงหะ

Senior Director

+662 108 0151

บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จากัด

ชั้น 17 อาคารปาร์คเวนเชอร์ 57 ถนน วิทยุ

ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

 

Secondary Analyst

จินดารัตน์ สิริสิทธิโชติ

Associate Director

+66 2108 0153

 

Committee Chairperson

Jonathan Cornish

Managing Director

+852 2263 9901              

 

ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!