หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV5 copy copy


ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เดือนกรกฎาคม 2565

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เดือนกรกฎาคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

             1.1 สศช. ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ .. 2567 ที่หน่วยงานของรัฐได้จัดทำและนำเข้าข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน - 10 กรกฎาคม 2565 จำนวน 2,618 โครงการ ซึ่ง สศช. มีข้อสังเกต ดังนี้ (1) ข้อเสนอโครงการฯ ยังไม่ครอบคลุมทั้ง 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บทฯ เนื่องจากไม่มีการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ 2 เป้าหมาย ได้แก่ 1) ประเด็นการท่องเที่ยว : เป้าหมายสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและบริการทางการแพทย์ได้รับมาตรฐานเพิ่มขึ้น และ 2) ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต : เป้าหมายมีคนไทยที่มีความสามารถและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาทำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้น (2) ข้อมูลความเกี่ยวข้องของหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานในแต่ละปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าแห่งประเทศไทยของเป้าหมายแผนแม่บทย่อยยังไม่สอดคล้องกับข้อเสนอโครงการฯ ที่หน่วยงานได้จัดทำขึ้น เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักไม่ได้จัดทำข้อเสนอโครงการฯ รองรับการขับเคลื่อนเป้าหมายแผนแม่บทย่อยนั้นๆ หรือข้อเสนอโครงการฯ จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อมูลความเกี่ยวข้องของหน่วยงาน และ (3) ข้อเสนอโครงการฯ ยังไม่ตอบโจทย์ปัจจัยและประเด็นที่จำเป็นต้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุผลได้ตามเป้าหมายในห้วงปี 2566 - 2570 เนื่องจากข้อเสนอโครงการฯ ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินงานตามภารกิจปกติของหน่วยงานที่ไม่ได้นำข้อมูลปัจจัยและประเด็นที่ควรขับเคลื่อนในปีงบประมาณ .. 2567 มาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทั้ง 3 ระดับ1 สำนักงบประมาณ (สงป.) และ สศช. จะพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการฯ ที่หน่วยงานได้จัดทำขึ้นและ สศช. จะวิเคราะห์ความสำคัญของโครงการฯ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป

             1.2 สศช. ได้ทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เผยแพร่ (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ [ช่วงที่ 2 ของยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2566 - 2580)] (ฉบับปรับปรุง) ผ่านทางเว็บไซต์ของ สศช. เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมภายในวันที่ 3 สิงหาคม 2565 เพื่อจะได้นำความคิดเห็นมาประกอบการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์และจะเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป

 

AXA 720 x100

 

             1.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) สศช. และ ศจพ. ได้พัฒนากรอบความร่วมมือในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายการพัฒนาในพื้นที่เพื่อผลักดันแนวทางการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วยวัยฯ ให้สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและตรงประเด็น โดยได้พัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อดำเนินกิจกรรมพัฒนาระบบข้อมูลและการแสดงผลข้อมูล (Dashboard) ออกแบบแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาคีต่างๆ และประเมินผลมาตรการ/ความคุ้มครองทางสังคม ทั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี สระบุรี และนครสวรรค์ เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในการสนับสนุนการแก้ปัญหาและลดความยากจนและนำไปสู่การออกแบบสวัสดิการและความคุ้มครองทางสังคมเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ

        สศช. ได้จัดทำรายงานความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (รอบเดือนมกราคม - มีนาคม 2565) เพื่อเสนอต่อรัฐสภา โดยแสดงผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 257 และ 258 ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 ด้าน ดังนี้

 

ด้าน

 

ผลสัมฤทธิ์ที่ประชาชนได้รับ เช่น

1) การเมือง

 

- ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองของไทย

- การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ

2) การบริหารราชการแผ่นดิน

 

- การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการของรัฐ

- ภาครัฐมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน

3) กฎหมาย

 

- การดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจโดยปราศจากอุปสรรคที่เกิดจากกฎหมาย

- ความสะดวกในการเข้าถึงกฎหมายและกระบวนการเสนอกฎหมาย

4) กระบวนการยุติธรรม

 

- การอำนวยความยุติธรรมที่ไม่ล่าช้าและสามารถติดตามความคืบหน้าของคดีได้ในทุกขั้นตอน

- ความคุ้มครอง การช่วยเหลือ และการให้คำแนะนำในการดำเนินคดีอย่างทั่วถึง

5) เศรษฐกิจ

 

- ผู้ประกอบการและกำลังแรงงานของประเทศมีศักยภาพและความพร้อมในการแข่งขันในตลาดโลก

- ประชาชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

6) ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

 

- การอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

- ความปลอดภัยในการดำรงชีวิตจากปัญหามลพิษ

7) สาธารณสุข

 

- สิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ สะดวก และทัดเทียมกันในทุกพื้นที่

- ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองและสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพตามความต้องการเมื่อเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง

8) สื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ

 

- ความรู้เท่าทันและสามารถเลือกเสพสื่อที่มีประสิทธิภาพได้

- การดูแลและคุ้มครองตามสิทธิที่พึงมีในการทำธุรกรรมในการสื่อสาร

9) สังคม

 

- แรงงานมีระบบการออมและสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งมีคุณภาพหลังวัยเกษียณ

- กลุ่มคนพิการได้รับความช่วยเหลือและเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐได้อย่างครอบคลุมและสะดวก

- เกษตรกรและคนยากจนได้รับหลักประกันในการเข้าถึงแหล่งทุน

10) พลังงาน

 

การใช้พลังงานในราคาที่เป็นธรรมและการได้รับคุณภาพและการบริการที่ดีขึ้น

11) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ

 

- การมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในพื้นที่โดยตรง โดยผู้แจ้งเบาะแสได้รับการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ

- การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

12) การศึกษา

 

- เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยและกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา

- ผู้เรียนทุกระดับมีความรู้และได้รับการพัฒนาตามความถนัดและความสนใจ

- ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะสูงและมุ่งเน้นออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน

- ผู้สำเร็จการศึกษามีอาชีพและทักษะที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

13) วัฒนธรรม กีฬา แรงงาน

และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

 

- การเสริมสร้างเชิงคุณธรรมจริยธรรมที่สร้างสรรค์และเหมาะสมด้วยการใช้พลังทางวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านพลังบวก (Soft Power) 

- ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมที่สร้างรายได้และอาชีพ

- แรงงานในประเทศได้รับการพัฒนาทักษะและยกระดับศักยภาพอย่างเหมาะสมตลอดช่วงชีวิต

 

        ทั้งนี้ ได้มีการเน้นย้ำกิจกรรมที่ดำเนินงานล่าช้า โดยสรุปประเด็นปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเร่งรัด กำกับ ติดตาม และแก้ไขปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดด้วย

 

aia 720 x100

 

        3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ในปีงบประมาณ .. 2565 มีการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR จำนวน 14,666 โครงการ โดยในส่วนแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2565 หน่วยงานได้นำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR จำนวน 301 แผน ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ หน่วยงานของศาล กระทรวงพลังงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งยังพบว่ามีข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานบางส่วนที่ยังไม่มีการนำเข้าในระบบ eMENSCR [เมื่อเทียบกับรายการโครงการตามรหัสงบประมาณในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของแต่ละหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการ] ดังนั้น จึงขอให้ทุกหน่วยงานของรัฐตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานที่นำเข้าในระบบ eMENSCR โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจากรายการตามรหัสงบประมาณของระบบ GFMIS ในระดับ 16 หลัก

        4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในปีงบประมาณ .. 2566 และในห้วงที่ 2 (.. 2566-2570) ของแผนแม่บทฯ มีความชัดเจนและสามารถถ่ายระดับเป้าหมายของแผนแม่บทฯ และแผนระดับที่ 2 อื่นที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงขอให้ทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2566 รวมทั้งแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (.. 2566 - 2570) ตามแนวทางของคู่มือการจัดทำแผนระดับที่ 3 เพื่อให้สามารถประกาศใช้ได้ก่อนปีงบประมาณ .. 2566 และใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน โดยขอให้หน่วยงานนำเข้าข้อมูลแผนปฏิบัติราชการฯ รายปีและราย 5 ปี ในระบบ eMENSCR ภายใน 30 วัน นับจากวันที่แผนฯ ประกาศใช้ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผนปฏิบัติราชการฯ ให้จัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์ฯ และนำเข้าข้อมูลในระบบ eMENSCR เพื่อใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

________________________________

1 เจ้าภาพขับเคลื่อนทั้ง 3 ระดับ หมายถึง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ .1 (เจ้าภาพระดับประเด็นแผนแม่บทฯ) .2 (เจ้าภาพระดับเป้าหมายประเด็นฯ) และ .3 (เจ้าภาพระดับเป้าหมายย่อย)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8348

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

 

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!