หมวดหมู่: พาณิชย์

1Aน้ำมัน อาหาร ดันเงินเฟ้อ


น้ำมัน-อาหาร ดันเงินเฟ้อก.ค.65 เพิ่ม 7.61% 'พาณิชย์'ขยับเป้าทั้งปีใหม่ 5.5-6.5%

          พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อก.ค.65 เพิ่ม 7.61% ชะลอตัวลง หลังทำสถิติสูงสุดในเดือนที่ผ่านมา ระบุปัจจัยหลักมาจากน้ำมัน แม้แก๊สโซฮอล์ เบนซินจะลดลง แต่ดีเซลที่เป็นต้นทุนการผลิต การขนส่งยังคงเดิม หมวดอาหาร ทั้งไก่ พริกสด ต้นหอม เครื่องประกอบอาหาร อาหารสำเร็จรูปยังเพิ่มขึ้น พร้อมปรับเป้าเงินเฟ้อปีนี้ใหม่ เป็น 5.5-6.5%

            นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนก.ค.2565 เท่ากับ 107.41 เทียบกับมิ.ย.2565 ลดลง 0.16% เทียบกับเดือนก.ค.2564 เพิ่มขึ้น 7.61% ซึ่งลดลงจากเดือนมิ.ย.2565 ที่เคยขึ้นไปถึง 7.66% ส่วนเงินเฟ้อรวม 7 เดือนปี 2565 (ม.ค.-ก.ค.) เพิ่มขึ้น 5.89 % และเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักอาหารสดและพลังงานที่มีความผันผวนด้านราคาออก ดัชนีอยู่ที่ 103.50 เพิ่มขึ้น 0.50% เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.2565 และเพิ่มขึ้น 2.99% เมื่อเทียบกับเดือนก.ค.2564 และเฉลี่ย 7 เดือนเพิ่มขึ้น 2.01%

            ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น สาเหตุหลักยังคงเป็นสินค้ากลุ่มพลังงาน ที่ปรับตัวสูงขึ้นถึง 33.82% แม้ว่าน้ำมันบางชนิด เช่น แก๊สโซฮอล์ เบนซิน จะลดลง แต่ดีเซลที่เป็นต้นทุนการผลิตและการขนส่งยังคงเดิม รวมถึงก๊าซหุงต้ม ค่าไฟฟ้า ยังคงอยู่ในระดับสูง ส่วนสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เพิ่ม 8.02% โดยสินค้าที่เพิ่มขึ้น เช่น ไก่สด พริกสด ต้นหอม เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ดีเซล ค่าขนส่ง ขณะที่หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่ม 7.35% สินค้าสำคัญที่สูงขึ้น เช่น หมวดเคหสถาน เพิ่ม 8.42% โดยเพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม

            อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญหลายรายการลดลง เช่น ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้บางชนิด เช่น ถั่วฝักยาว มะนาว ขิง ผักคะน้า กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง และลองกอง เป็นต้น

            นายรณรงค์ กล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในเดือนส.ค.2565 ยังประเมินไม่ได้ เพราะมีหลายปัจจัยมาก หากกลุ่มพลังงาน ราคาสูงขึ้น เงินเฟ้อก็จะสูง ถ้าราคาทรงตัวหรือลดลง เงินเฟ้อก็จะลดลง แต่เดือนส.ค.2564 ฐานเงินเฟ้อต่ำ ก็น่าจะมีผลทำให้เงินเฟ้อสูง ส่วนผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม หากดูสมมติฐานนี้ ก็มีผลกระทบต่อเงินเฟ้อบ้าง แต่สัดส่วนในการคำนวณเงินเฟ้อ ไม่ได้มาก อย่างค่าไฟมีสัดส่วน 3.85%

            ทั้งนี้ สนค.ได้ปรับเป้าหมายตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 2565 ใหม่ เป็นระหว่าง 5.5-6.5% ค่ากลาง 6% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ประเมินไว้ที่ 4-5% ค่ากลาง 4.5% ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์เงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประเมิน 4.2-5.2% ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) 6.2% สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) 6.5% คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) 5.7% และแบงก์เอกชน ประเมิน 5.9% และ 6% เป็นต้น

 

อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2565 เทียบกับเดือนที่ผ่านมาลดลงครั้งแรกในรอบปี และเงินเฟ้อในเดือนนี้น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา

     อัตราการเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2565

    เทียบกับเดือนที่ผ่านมาลดลงครั้งแรกในรอบปี และเงินเฟ้อในเดือนนี้น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา

        นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 107.41 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาลดลงร้อยละ 0.16 (MoM) เป็นการลดลงจากเดือนก่อนหน้าครั้งแรกในรอบปี 2565 และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ร้อยละ 7.61 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก ในเดือนนี้อยู่ที่ร้อยละ 2.99 (YoY)

      สินค้ากลุ่มพลังงานยังเป็นสาเหตุหลักต่ออัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งเป็นต้นทุนในทุกขั้นตอนการผลิตและโลจิสติกส์ของสินค้าและบริการ ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น จากการท่องเที่ยว การส่งออก และราคาสินค้าเกษตรสำคัญสูงขึ้น นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้เป็นผลของการคำนวณจากฐานดัชนีราคาผู้บริโภคของเดือนกรกฎาคม 2564 ที่ค่อนข้างต่ำ จึงทำให้เงินเฟ้อขยายตัว

      กลุ่มพลังงาน มีอัตราการเติบโตของราคาร้อยละ 33.82 (YoY) ส่งผลให้พลังงานมีสัดส่วนผลกระทบต่อเงินเฟ้อในเดือนนี้ (Contribution to Percentage Change : CPC) ร้อยละ 52.57 แม้ว่าราคาน้ำมันเชื้อเพลิงบางชนิด (แก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน) ในเดือนนี้จะปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แต่ต้นทุนการผลิตและการขนส่ง ยังสูง เนื่องจากราคาก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า และน้ำมันดีเซล ยังคงอยู่ในระดับสูง

      กลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ มีอัตราการเติบโตของราคาร้อยละ 8.02 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน อาทิ ไก่สด พริกสด ต้นหอม เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการผลิต โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน ทั้ง ค่าไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม รวมถึงน้ำมันดีเซล ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญของการขนส่ง ประกอบกับความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้บางชนิด (ถั่วฝักยาว มะนาว ขิง ผักคะน้า กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง ลองกอง)

     ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนนี้เทียบกับเดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.16 (MoM) เป็นการปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าครั้งแรกในรอบปี 2565 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคาแก๊สโซฮอล์ น้ำมันเบนซิน กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำมันพืช และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาดบางชนิด (น้ำยารีดผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ) สำหรับค่าเฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค.-ก.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.89 (AoA)

     ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนกรกฎาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 12.2 (YoY) ปรับสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า ตามต้นทุนการผลิต ทั้งราคาพลังงานและวัตถุดิบ ต้นทุนการนำเข้าจากการอ่อนค่าของเงินบาท และความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นร้อยละ 6.3 (YoY) เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน และเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับการใช้วัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างภาครัฐเป็นไปตามแผน

      สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 45.5 จากระดับ 44.3 ในเดือนก่อนหน้า ปรับเพิ่มขึ้น ทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและใน 3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้เป็นผลจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวต่อเนื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งด้านการท่องเที่ยว การเปิดสถานบันเทิงทั่วประเทศ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลง ขณะที่ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจไทย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผันผวน และมาตรการของภาครัฐ เป็นปัจจัยลบต่อดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค

      ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 5.5 - 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

 

ตารางสรุปดัชนีเศรษฐกิจการค้า ปี 2564 – 2565

 1a 1สรุปดัชนี

                  โดย สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!