หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV5 copy copy


ขอความเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย .. 2565 - 2570

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย [ยุทธศาสตร์ด้าน Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Tourism: AML/CFT)] .. 2565 - 2570 เพื่อให้สำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายต่อไป

        สาระสำคัญของเรื่อง 

        สำนักงาน ปปง. รายงานว่า เนื่องจากยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT .. 2560 - 2564 ได้สิ้นสุดระยะเวลาลงแล้ว สำนักงาน ปปง. จึงได้จัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT .. 2565 - 2570 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่างๆ รวมทั้งให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามจากอาชญากรรมการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงรูปแบบใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ และต่อมาสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ โดยขอให้สำนักงาน ปปง. ปรับปรุง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ ตามความเห็นของที่ประชุมให้มีความชัดเจน สามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้าน AML/CFT ของประเทศไทย และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจากการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลอย่างเป็นระบบ ซึ่งสำนักงาน ปปง. ได้ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุฯ) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

        1. วิสัยทัศน์

        เป็นเลิศด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Money Laundering, Terrorism Financing and Proliferation Financing: ML/TF/PF) อย่างมีมาตรฐานสากล

 

BANPU 720x100

AXA 720 x100

 

        2. พันธกิจ

             2.1 ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

             2.2 เสริมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF 

             2.3 ส่งเสริมการกำกับดูแลของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ผู้มีหน้าที่รายงานปฏิบัติตามมาตรการด้าน AML/CFT 

             2.4 เสริมสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อมุ่งสู่การดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ในรูปแบบดิจิทัล

             2.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดประเด็นทางสังคมด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF สู่ภาคประชาสังคม

             2.6 เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรและทุนมนุษย์ด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ให้มีประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาล

        3. ยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT .. 2565 - 2570 ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักการดำเนินงานในเชิงบูรณาการอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งสำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้ยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT เป็นแผนแม่บทในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบด้าน AML/CFT และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการในปี 2566-2570 ต่อไป ดังนี้

 

เป้าประสงค์ เช่น

 

กลยุทธ์

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลักดันมาตรการเชิงรุกด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ของประเทศไทยให้มีประสิทธิผลตามมาตรฐานสากล

1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการประเมินความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF และสามารถนำผลการประเมินความเสี่ยงมาใช้ในการกำหนดนโยบาย มาตรการ หรือกลไกในการกำกับดูแลและปฏิบัติตามให้สอดคล้องกับนโยบายด้าน AML/CFT ของไทย

 

- สร้างความตระหนักแก่หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องถึงผลกระทบที่สำคัญที่เกี่ยวกับความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF 

- พัฒนาแนวปฏิบัติแก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วนที่เกี่ยวข้องในทุกมูลฐาน

 

สำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)]

2. ส่งเสริมมาตรการเชิงรุกในการป้องกันอาชญากรรมที่มีความเสี่ยงสูง

 

- พัฒนามาตรการเชิงรุกในการป้องกันอาชญากรรมที่มีความเสี่ยงสูง

 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ มูลฐานความเสี่ยงสูง(เช่น สำนักงาน ปปง.)

3. หน่วยข่าวกรองทางการเงินและ หน่วยข่าวกรองด้านความมั่นคงมีการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์และข่าวกรองเชิงรุกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ และส่งต่อข้อมูลข่าวสารและผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการด้าน AML/CFT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

- จัดทำระบบ/กลไกของหน่วยข่าวกรองทางการเงิน ระบบการรักษาความมั่นคง ความปลอดภัยและความลับของข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์สำหรับการปฏิบัติการด้าน AML/CFT 

- พัฒนามาตรฐานกลไก หรือกระบวนการการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยและความลับของข้อมูลทางการเงินอย่างเป็นระบบและน่าเชื่อถือ

 

สำนักงาน ปปง. และผู้มีหน้าที่รายงาน (เช่น สถาบันการเงินตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน .. 2542 และกรมที่ดิน)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ทั้งในและต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล

1. เครือข่ายความร่วมมือครอบคลุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศและภาคประชาสังคม

 

- แสวงหาเครือข่ายความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือความช่วยเหลือทางอาญา และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเชิงรุก/ตามคำขอให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

 

อส. กรมสนธิสัญญาและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย [เช่น สำนักงาน ปปง. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)]

2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความร่วมมือและประสานเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศอย่างเหมาะสมในการดำเนินการด้าน AML/CFT

 

- พัฒนาความร่วมมือและการประสานงานเพื่อต่อต้าน ML/CF/PF ที่มีประสิทธิผล

- แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทรัพยากรกับเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการปฏิบัติการด้าน AML/CFT 

- เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในการป้องกันและปราบปราม ML/CF/PF ของไทย

 

อส. หน่วยงานด้านความมั่นคง [เช่น สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ] และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย (เช่น สำนักงาน ปปง. และ ตช.) หน่วยงานกำกับดูแลด้านเสถียรภาพทางการเงิน [เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ...)]

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมมาตรการและระบบการกำกับดูแลของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปราม ML/F/PF พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้มีหน้าที่รายงานปฏิบัติตามมาตรการด้าน AML/CFT

1. หน่วยกำกับดูแลสถาบันการเงินและ ผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีความร่วมมือในการกำกับดูแลและมีระบบการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF รวมทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล

 

- ส่งเสริมและพัฒนากลไกหรือมาตรการในการตรวจสอบและการกำกับร่วมที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของหน่วยกำกับดูแล

- ส่งเสริมให้สมาคมภาคธุรกิจมีการรวมตัวเพื่อพัฒนาการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้าน AML/CFT 

- เพิ่มศักยภาพหน่วยกำกับดูแลในการดำเนินการตรวจสอบรายงานธุรกรรมต้องสงสัยจากสถาบันการเงิน

 

สำนักงาน ปปง. หน่วยงานกำกับดูแลด้านเสถียรภาพทางการเงิน (เช่น ธปท. และสำนักงาน ...) และผู้มีหน้าที่รายงาน (เช่น สถาบันการเงินฯ และกรมที่ดิน)

2. สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีความเข้าใจลักษณะและระดับความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF เป็นอย่างดี

 

- ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินให้มีความรู้ความเข้าใจความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

 

 

3. หน่วยงานกำกับดูแลมีระบบป้องกันไม่ให้องค์กรไม่แสวงหากำไรถูกใช้เป็นช่องทาง ML/TF/PF

 

- พัฒนากลไกมาตรการในการกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหากำไรที่สอดคล้องกับความเสี่ยง

- ส่งเสริมให้องค์กรไม่แสวงหากำไรเข้ามาอยู่ในระบบการกำกับดูแล

 

หน่วยงานกำกับดูแล (เช่น สำนักงาน ปปง. และกรมการปกครอง)

4. นิติบุคคล และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความตระหนักและมีความเข้าใจความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF

 

- เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจความเสี่ยงแก่นิติบุคคล และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

 

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ และแนวทางการประกอบธุรกิจแบบใหม่ เพื่อมุ่งสู่การดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ในรูปแบบดิจิทัล

1. มีองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม/เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินงานหรือขับเคลื่อนภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้าน AML/CFT อย่างมีประสิทธิภาพ

 

- พัฒนา/นำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม/เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้าน AML/CFT

 

ทุกหน่วยงาน

2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม/เทคโนโลยีใหม่ๆ

 

- ส่งเสริมการจัดทำองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้าน AML/CFT 

- พัฒนากลไกความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน ส่งต่อ เชื่อมโยง และบูรณาการองค์ความรู้ด้าน AML/CFT ร่วมกัน

 

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างความร่วมมือและเผยแพร่ข้อมูลด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF สู่ภาคประชาสังคม

1. ประชาชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจด้าน AML/CFT

 

- ส่งเสริมองค์ความรู้ด้าน AML/CFT 

- เพิ่มประสิทธิภาพด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้าน AML/CFT และพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย

 

สำนักงาน ปปง.

2. ประชาชนมีความตื่นตัวและร่วมมือในด้าน AML/CFT ของไทย

 

- ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมมือในด้าน AML/CFT ของไทย

 

สำนักงาน ปปง. และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย (เช่น สำนักงาน ปปง. และ ตช.)

ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาองค์กรสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ของไทยให้มีประสิทธิผล

1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีโครงสร้างที่สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจด้าน AML/CFT

 

- ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจด้าน AML/CFT เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

 

ทุกหน่วยงาน

2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีอัตรากำลังที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานด้าน AML/CFT

 

- ทบทวนและปรับปรุงกรอบอัตรากำลังด้าน AML/CFT ให้มีความเหมาะสมและรองรับการเปลี่ยนแปลง

 

 

3. บุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติภารกิจงานด้าน AML/CFT ได้

 

- พัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้าน AML/CFT ให้มีความเป็นมืออาชีพ

- สร้างแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบุคลากรด้าน AML/CFT

 

 

4. มีฐานข้อมูลเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้าน AML/CFT ที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในระดับนโยบายได้

 

- พัฒนาระบบ Big Data/Data Analytics เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการดำเนินงานในทุกมูลฐาน

 

สำนักงาน ปปง.

 

        4. ตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) ไทยมีผลการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT ที่ดีขึ้น และได้ปรับระดับจากกลุ่มติดตามแบบเฝ้าระวัง เป็นกลุ่มที่มีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลในระดับดี โดยมีความสอดคล้องด้านกรอบกฎหมายอย่างน้อย 33 ข้อ จาก 40 ข้อ และด้านประสิทธิผลอย่างน้อย 5 ด้าน จาก 11 ด้าน และ (2) ประมาณการมูลค่าทรัพย์สินจากการยึดทรัพย์สินคดีที่มีความเสี่ยงสูงเพิ่มมากขึ้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 2 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8107

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!