หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV5 copy copy


ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาตสมุดคู่มือประจำรถ และลักษณะเครื่องหมายพิเศษ .. ....

        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาตสมุดคู่มือประจำรถ และลักษณะเครื่องหมายพิเศษ .. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

        ทั้งนี้ คค. เสนอว่า ปัจจุบันหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (.. 2524) ออกตามความพระราชบัญญัติรถยนต์พ.. 2522 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว ตั้งแต่พระราชบัญญัติรถยนต์ .. 2522 อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) ก่อนโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมการขนส่งทางบก คค. ตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารบางส่วนของกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย ไปเป็นของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม .. 2530 ซึ่งมีการแก้ไขเฉพาะในส่วนของรูปแบบสมุดคู่มือประจำรถที่ใช้กับเครื่องหมายพิเศษ และลักษณะของเครื่องหมายพิเศษ ให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ .. 2522 ของ ตช. มาเป็นของกรมการขนส่งทางบก กล่าวคือ ให้มีตรากรมการขนส่งทางบกและแก้ไขถ้อยคำในสมุดคู่มือประจำรถจาก กรมตำรวจเป็นกรมการขนส่งทางบกและแก้ไขลักษณะของเครื่องหมายพิเศษให้มีเครื่องหมายขสอยู่ในเครื่องหมายพิเศษ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (.. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ .. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (.. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ .. 2522

        การควบคุมกำกับดูแลการใช้ใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมตามกฎกระทรวงดังกล่าว รวมทั้งการใช้สมุดคู่มือประจำรถและเครื่องหมายพิเศษ ยังมีปัญหาในหลายกรณี เนื่องจากกฎกระทรวงดังกล่าวมีการใช้บังคับมานานแล้ว เช่น การไม่กำหนดอายุของใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ทำให้ทางราชการไม่สามารถรู้ได้ว่าผู้ได้รับใบอนุญาตยังประกอบกิจการอยู่หรือไม่ ซึ่งข้อเท็จจริงมีผู้ประกอบการจำนวนมากเลิกประกอบกิจการ แต่กฎกระทรวงดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติให้มาแจ้งเลิกกิจการกับนายทะเบียน เป็นเหตุให้ผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ยอมคืนสมุดคู่มือประจำรถและเครื่องหมายพิเศษกับทางราชการ ซึ่งเป็นช่องทางให้นำสมุดคู่มือประจำรถ และเครื่องหมายพิเศษไปใช้อย่างไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นสาเหตุหนึ่งของการหลีกเลี่ยงการจดทะเบียนรถหรือใช้รถโดยไม่เสียภาษีประจำปี ทำให้รัฐต้องสูญเสียรายได้ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก รวมถึงอาจเป็นช่องทางนำรถดังกล่าวไปใช้ในการกระทำผิดซึ่งยากแก่การตรวจสอบสืบหาเจ้าของรถ ก่อให้เกิดปัญหาความสงบเรียบร้อยของสังคม นอกจากนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาล สมควรเพิ่มเติมหลักการให้การขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อมสามารถดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วย คค. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาตสมุดคู่มือประจำรถ และลักษณะเครื่องหมายพิเศษ .. .... ขึ้น

 

AXA 720 x100

 

        สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

        ปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม โดยยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (.. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ .. 2522 กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (.. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ .. 2522 กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (.. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติรถยนต์ .. 2522 และกำหนดเป็นร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอและการออกใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือซ่อม และกำหนดแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถ และลักษณะเครื่องหมายพิเศษพ.. ….” เพื่อให้ทางราชการสามารถควบคุม กำกับ ดูแลการใช้เครื่องหมายพิเศษ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปัญหาการหลีกเลี่ยงการใช้รถโดยไม่จดทะเบียน มีรายละเอียด ดังนี้

        1. กำหนดอายุของใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถ และเครื่องหมายพิเศษให้ชัดเจน (เดิมไม่ได้กำหนดไว้) โดยกำหนดให้ใบอนุญาต (ใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม)สมุดคู่มือประจำรถ (สมุดคู่มือประจำรถที่นายทะเบียนออกให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาต) และเครื่องหมายพิเศษ (ป้ายแดงที่นายทะเบียนออกให้แก่ผู้ได้รับใบอนุญาต) มีอายุ 5 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต

        2. กำหนดสถานที่ที่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ชัดเจน (เดิมไม่ได้กำหนดไว้) โดยกำหนดให้ผู้ที่มีรถยนต์ไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม ถ้าจะขับเองหรือให้ผู้อื่นขับ ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ซึ่งสถานที่ประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ ในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นคำขอ ส่วนควบคุมบัญชีรถและเครื่องยนต์ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ กรมการขนส่งทางบก ในเขตจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอ สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา สาขาอำเภอเบตง แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ สามารถยื่น คำขอรับใบอนุญาตทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดได้

        3. ปรับปรุงแบบใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถ และลักษณะเครื่องหมายพิเศษให้เป็นปัจจุบันและมีความชัดเจนยิ่งขึ้น และกำหนดให้ในการออกใบอนุญาตให้นายทะเบียนออกเครื่องหมายพิเศษหนึ่งคู่ซึ่งมีหมายเลขเดียวกัน และสมุดคู่มือประจำรถ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

             3.1 แบบใบอนุญาตขับรถยนต์หรือให้ผู้อื่นขับรถยนต์ที่มีไว้เพื่อขายหรือเพื่อซ่อม มีการเพิ่มข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือเลขทะเบียนนิติบุคคลและอีเมลของผู้ได้รับใบอนุญาต ระบุวันสิ้นสุดอายุใบอนุญาตไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งใช้ตรากรมการขนส่งทางบกเป็นพื้นหลังใบอนุญาต

             3.2 สมุดคู่มือประจำรถ เพิ่มคิวอาร์โค้ดเพื่อให้สามารถตรวจสอบว่ากรมการขนส่งทางบกเป็นผู้ออกสมุดคู่มือประจำรถนั้นๆ

             3.3 ลักษณะเครื่องหมายพิเศษ ปรับขนาดแผ่นป้ายให้มีขนาดกว้าง 15 เซนติเมตร ยาว 30 เซนติเมตร (เดิมยาว 34 เซนติเมตร) และแผ่นป้ายแบบใหม่แบ่งออกเป็น 3 บรรทัด (เดิมแบ่งออกเป็น 2 บรรทัด) ดังนี้

                    1) บรรทัดที่ 1 ประกอบด้วยตัวเลขประจำหมวดตัวที่หนึ่ง ตัวอักษรประจำหมวดตัวที่สอง และหมายเลขทะเบียนไม่เกินสี่หลัก (เดิมประกอบด้วยตัวอักษรบอกหมวด ขีดตามทางยาว และตามด้วยตัวเลข

                    2) บรรทัดที่ 2 เป็นตัวอักษรบอกชื่อจังหวัด เว้นแต่กรณีอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้ใช้คำว่า เบตง

                    3) บรรทัดที่ 3 เป็นตัวอักษรร เพื่อขายหรือซ่อม 

 

aia 720 x100

 

        4. กำหนดเงื่อนไขการใช้และการรายงานข้อมูลการใช้เครื่องหมายพิเศษของผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ดังนี้

             4.1 ติดเครื่องหมายพิเศษที่ด้านหน้าและด้านท้ายรถด้านละหนึ่งแผ่นให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน

             4.2 จัดทำรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษในระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งที่มีการหมุนเวียนไปใช้กับรถคันอื่น ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

             ทั้งนี้ หากผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวให้นายทะเบียนมีอำนาจพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาต(เดิมไม่ได้กำหนดไว้

        5. การขอใบอนุญาตกรณีใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ ให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันที่ใบอนุญาตเดิมสิ้นอายุ ทั้งนี้ ในการพิจารณาต่ออายุใบอนุญาต นายทะเบียนต้องตรวจสอบว่าผู้ยื่นคำขอได้จัดทำรายงานการใช้เครื่องหมายพิเศษในระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกครั้งที่มีการหมุนเวียนไปใช้กับรถคัน อื่นหรือไม่

        6. กำหนดเหตุที่ใบอนุญาตสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้

             6.1 ใบอนุญาตครบ 5 ปีนับแต่วันออกใบอนุญาต

             6.2 ผู้ได้รับใบอนุญาตตายหรือสิ้นสภาพนิติบุคคล

             6.3 ผู้ได้รับใบอนุญาตเลิกประกอบกิจการ

             6.4 กรมการขนส่งทางบกเพิกถอนใบอนุญาต

             ในกรณีใบอนุญาตสิ้นสุดลง ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาต เครื่องหมายพิเศษและสมุดคู่มือประจำรถภายใน 15 วันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นสุดลง

        7. กำหนดเงื่อนไขการขอใบแทนใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและเครื่องหมายพิเศษ กรณีสูญหายหรือชำรุดในสาระสำคัญ โดยกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตยื่นคำขอต่อนายทะเบียน ภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบถึงการสูญหายหรือชำรุดดังกล่าว

        8. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาใบอนุญาต สมุดคู่มือประจำรถและเครื่องหมายพิเศษ ที่จัดทำไว้แล้วก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ซึ่งนายทะเบียนจะออกให้ หรือที่ได้ออกให้ไว้แล้วแก่ผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้ได้ต่อไปไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 18 กรกฎาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7666

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

 

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!