หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 33


รายงานสถานการณ์น้ำภาพรวมประเทศ (ระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2567)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์น้ำปัจจุบันและการคาดการณ์ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตาม เตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและดำเนินการแก้ไขปัญหาในช่วงที่เกิดอุทกภัยฤดูฝน ปี 2567 อย่างใกล้ชิดเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนให้เกิดน้อยที่สุดตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ

          สาระสำคัญและข้อเท็จจริง

          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้บูรณาการข้อมูลที่เกี่ยวข้องและขอสรุปสถานการณ์น้ำระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2567 มีดังนี้

          1. สภาพอากาศและการคาดการณ์ฝน

              ปัจจุบันพบว่าปรากฏการณ์เอนโซ ได้เปลี่ยนเข้าสู่สภาวะเป็นกลางแล้วและจะคงสภาวะนี้ต่อไป โดยมีความน่าจะเป็นร้อยละ 69 ที่จะเปลี่ยนไปสู่สภาวะลานีญาในเดือนกรกฎาคม-กันยายน และจะต่อเนื่องไปจนถึงปลายปี 2567

              มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางมีฝนตกหนักบางแห่ง

          2. สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และการคาดการณ์

              (1) สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาพรวมประเทศ สถานการณ์แหล่งน้ำทั่วประเทศ

                   ปัจจุบัน (ข้อมูลวันที่ 3 มิถุนายน 2567) มีปริมาณน้ำ 40,765 ล้านลูกบาศก์เมตร (51%) น้อยกว่าปี 2566 จำนวน 1,941 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การ 16,590 ล้านลูกบาศก์เมตร (29%) มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย (ปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์เก็บกักต่ำสุด (Lower Rule Curve)) 5 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสิริกิติ์ อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำจุฬาภรณ์ อ่างเก็บน้ำศรีนครินทร์ และอ่างเก็บน้ำปราณบุรี และเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุเก็บกัก จำนวน 92 แห่ง (จากทั้งหมด 369 แห่ง)ได้แก่ ภาคเหนือ 12 แห่ง (จาก 79 แห่ง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 42 แห่ง (จาก 189 แห่ง) ภาคกลาง 6 แห่ง (จาก 11 แห่ง) ภาคตะวันออก 15 แห่ง (จาก 44 แห่ง) และภาคตะวันตก 15 แห่ง (จาก 24 แห่ง) และภาคใต้ 2 แห่ง (จาก 22 แห่ง)

              (2) การคาดการณ์ปริมาณน้ำใช้การอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง 

                   การคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในช่วงต้นฤดูแล้ง ปี 2567/68 (วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567) จะมีปริมาณน้ำ 41,933 ล้าน ลบ.ม. (88%) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566 ที่มีปริมาณน้ำใช้การ 32,848 ล้าน ลบม. มากกว่า 9,085 ล้าน ลบ.ม. (19%)

          3. ผลดำเนินการตามมาตรการฤดูฝน ปี 2567

              (1) ผลการคาดการณ์กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย พบว่ามีพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยจำนวน 14 จังหวัด 35 อำเภอ 59 ตำบล และมีพื้นที่ฝนทิ้งช่วงในช่วงเดือน มิถุนายน จำนวน 47 จังหวัด 308 อำเภอ 1,476 ตำบล

              (2) ผลการทบทวน ปรับปรุง เกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำ ได้ดำเนินการปรับเกณฑ์บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำ จัดทำแผนการจัดสรรน้ำ แผนการเพาะปลูก และแผนการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ พร้อมทั้งปรับแผนการเพาะปลูกพืชในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทบทวนปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำและเกณฑ์การระบายน้ำ 89 แห่ง

              (3) ผลเตรียมความพร้อม เครื่องจักรเครื่องมือ อาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำโทรมาตร บุคลากรประจำพื้นที่เสี่ยง ได้ดำเนินการเตรียมพร้อมบุคลากรและเครื่องจักรเครื่องมือ 7,308 หน่วย อาคารชลศาสตร์ 2,652 แห่ง โทรมาตร 535 แห่ง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ 199 แห่ง ซึ่งลดอัตราน้ำสูญเสียให้ได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 24.35% และจากการดำเนินการปฏิบัติการฝนหลวงได้ปริมาณน้ำมาจำนวน 1,445 ล้านลูกบาศก์เมตร

              (4) ผลตรวจสอบพร้อมติดตามความมั่นคงปลอดภัยคันกั้นน้ำ ได้ดำเนินการติดตามการตรวจสอบความมั่นคงคันกั้นน้ำ ทำนบ จากการติดตามพบว่าพร้อมใช้งาน 4,698,563 เมตร

              (5) ผลการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของทางน้ำอย่างเป็นระบบ ได้ดำเนินการกำจัดผักตบชวา 3,628,766 ตัน ขุดลอกคลอง 364 กิโลเมตร และลอกท่อระบายน้ำ 4,145 กิโลเมตร

              (6) ผลการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ การตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย ได้เตรียมความพร้อมกลไกและเตรียมพร้อมสนับสนุนการดำเนินการภายใต้ศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำเมื่อเกิดสถานการณ์ได้ทันที

              (7) ผลการดำเนินการเร่งพัฒนาและเก็บกักน้ำในแหล่งน้ำทุกประเภทปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 28,200 บ่อ และสูบน้ำเข้ากักเก็บในอ่างเก็บน้ำโสกขุมปูน 140,000 ลบ.ม. 

              (8) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ชุมชนต่างๆ สามารถรับมืออุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              (9) ผลการสร้างการรับรู้ และประชาสัมพันธ์ ได้ดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เกี่ยวกับข้อมูลสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง 

              (10) ผลการติดตามประเมินผล ปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย สทนช. ได้ดำเนินการติดตามประชุมประเมินสถานการณ์ทุกสัปดาห์

          4. ประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

              สทนช. ได้จัดทำประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 6/2567 ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2567 เพื่อเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และบริเวณชุมชนเมืองที่ เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน ช่วงวันที่ 4 - 11 มิถุนายน 2567 โดยมีพื้นที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

              (1) ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง พะเยา น่าน ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์

              (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ ชัยภูมิ ขอนแก่น และอุดรธานี

              (3) ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จังหวัดจันทบุรี และตราด

              (4) ภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี

          5. สถานการณ์อุทกภัย

              เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2567 ได้มีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ชุมชนมีสถานการณ์เกิดขึ้นที่ จ.พะเยา (1 อ. 1 ต.) น่าน (2 อ. 5 ต.) เชียงราย (1 อ. 2 ต.) และแม่ฮ่องสอน (1 อ. 2 ต.) มีผลกระทบ 49 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

          6. การลงพื้นที่ตรวจราชการ

              ด้วยรัฐบาลโดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีมีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร เน้นย้ำจัดลำดับความสำคัญการบริหารจัดการน้ำ และการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นหลัก

              ในการนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการติดตามการเตรียมความพร้อมตามมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2567 ในวันที่ 3 มิถุนายน 2567 ณ บึงหนองบอน เขตประเวศ กทม. ซึ่ง สทนช. มอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้

              (1) ให้ กรมชลประทาน แก้ไขจุดเสี่ยงหรือปัญหาการระบายน้ำ ที่ทำให้น้ำด้านเหนือไม่สามารถไหลลงมาถึงสถานีสูบน้ำได้ ดำเนินการป้องกันระหว่างการก่อสร้าง ปตร.ท่าถั่ว ให้มีความมั่นคงแข็งแรง และพิจารณาดำเนินโครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง และเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เพื่อพิจารณาต่อไป

              (2) ให้ กรุงเทพมหานครฯ เร่งรัดขุดลอกท่อระบายน้ำให้แล้วเสร็จภายใน มิถุนายน 2567 ดำเนินการเสนอโครงการส่วนต่อขยายบึงหนองบอนถึงคลองประเวศบุรีรมย์และคลองสี่ ให้ กนช. เพื่อพิจารณาต่อไป และดำเนินการประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ผลการดำเนินงาน สถานการณ์น้ำ และการแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

              (3) ให้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ดำเนินการจัดทำผังระบบโครงข่ายการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 4 มิถุนายน 2567

 

 

6114

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!