หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 45


ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ ดศ. หารือกระทรวงมหาดไทยเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน

          ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างระเบียบ

          ดศ. เสนอว่า

          1. ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีระบบการแจ้งข้อมูลที่สามารถแจ้งเตือนให้ประชาชนรับรู้กรณีเกิดเหตุร้าย เหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแจ้งเตือนฉุกเฉินผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Cell Broadcast) ในการป้องกันและลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการแจ้งข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสามารถนำข้อมูลที่ได้รับแจ้งมาช่วยรองรับการตัดสินใจและสามารถบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จึงต้องมีแนวทางระเบียบและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการที่ชัดเจนสำหรับการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม ในการบูรณาการสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาการแจ้งข้อมูลแก่ประชาชนเป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

          2. เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 ดศ. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ทำการทดสอบระบบ SMS แบบเฉพาะเจาะจง และต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 และวันที่ 26 ธันวาคม 2566 ดศ. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน กสทช. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (AIS TRUE NT) ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการระบบแจ้งเตือนด้วยระบบ Cell Broadcast มีมติเห็นชอบให้ ดศ. ทำหน้าที่บูรณาการและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเตือนด้วยระบบ Cell Broadcast โดยให้หน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจหน้าที่สามารถแจ้งเตือนผ่านระบบกลาง (Cell Broadcast Entity : CBE) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการส่งข้อความแจ้งเตือนผ่านผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที

          3. ในการศึกษาเกี่ยวกับการเตือนภัยระดับชาติเพื่อแจ้งเตือนภัยแก่ประชาชนประกอบด้วยพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2570 รวมถึงอำนาจหน้าที่ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยฯ ของ ปภ.ไม่ครอบคลุมเหตุฉุกเฉิน (Emergency) ทั้งหมด นอกจากนี้ การเตือนภัยในภาวะฉุกเฉินในหลายๆ กรณีไม่ครอบคลุมตามอำนาจหน้าที่ของ ปภ. สำหรับโครงสร้างของข้อความแจ้งเตือนภัยประกอบด้วยข้อมูล 7 ส่วน ดังนี้

              3.1 แหล่งที่มา (Source) – ระบุชื่อหน่วยงานที่ส่งข้อความแจ้งเตือน

              3.2 วันและเวลา (Timestamp) – ระบุวันและเวลาที่ทำการส่งข้อความ

              3.3 ภัย (Hazard) – ระบุข้อมูลภัยที่เกิดขึ้น ควรใช้คำสั้น กระชับ ให้ข้อมูลสำคัญตรงประเด็นผู้รับสามารถเข้าใจได้โดยง่ายภายในไม่กี่วินาที ไม่ใช้คำที่จะก่อให้เกิดความตื่นตระหนก (เช่น กักบริเวณ)

              3.4 คำแนะนำ (Guidance) – ระบุข้อมูลคำแนะนำว่าจะให้ผู้รับทำอะไร (เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง) ควรใช้คำสั้น กระชับ ให้ข้อมูลสำคัญตรงประเด็น ผู้รับสามารถเข้าใจได้โดยง่ายภายในไม่กี่วินาที ไม่ใช้คำที่จะก่อให้เกิดความตื่นตระหนก (เช่น กักบริเวณ)

              3.5 เวลาที่ยุติเหตุการณ์ (Termination Date & Time) – ระบุข้อมูลเวลาที่ยุติเหตุการณ์ เช่น ฝนตกหนักมาก ... จนถึงเวลา ... หรือ การเตือนภัยนี้มีผลจนถึงวันที่ ... เวลา ... 

              3.6 URL – ระบุ URL สำหรับแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม เช่น แผนที่ สถานที่หลบภัย ควรเป็นลิงก์บน Social Media ไม่ควรเป็นลิงก์เว็บไซต์หน่วยงาน เนื่องจาก Social Media สามารถรองรับการใช้งานที่หนาแน่นในช่วงวิกฤต ในขณะที่เว็บไซต์หน่วยงานอาจล่มได้

          4. ดศ. จึงได้ยกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเพื่อให้ประชาชนได้รับการแจ้งข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย หรือนโยบายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

              4.1 ให้ ดศ. จัดให้มีระบบการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อรับข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้อง และส่งต่อข้อมูลให้ประชาชนผ่านระบบของผู้ให้บริการการสื่อสารโทรคมนาคมไปยังอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมของประชาชนทั้งหมดหรือในพื้นที่ที่กำหนด

              4.2 ให้ ดศ. จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม โดยมีคณะทำงานบริหารจัดการระบบการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม (ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานคณะทำงาน ผู้แทนกระทรวงต่างๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงาน กสทช. เป็นคณะทำงาน) มีหน้าที่และอำนาจ เช่น กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการในการใช้หรือเชื่อมต่อระบบหรือกระบวนการแจ้งข้อมูลของหน่วยงานของรัฐ กำหนดลักษณะ ประเภทข้อความ รูปแบบ และขั้นตอนทางเทคนิคการส่งผ่านข้อความแจ้งข้อมูล

              4.3 ให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการแจ้งเตือนประชาชนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แจ้งข้อมูลโดยใช้ระบบการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคม เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมโรค ตช.

              4.4 เมื่อมีเหตุที่หน่วยงานของรัฐต้องแจ้งข้อมูลแก่ประชาชนให้หน่วยงานของรัฐนั้นแจ้งข้อมูลแก่ประชาชนโดยใช้ระบบการแจ้งข้อมูลผ่านการสื่อสารโทรคมนาคมตามระเบียบนี้ 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 25 มิถุนายน 2567

 

 

6805

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!