หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov แพทองธาร17


กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ 

          สาระสำคัญ

          1. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการในการประชุม ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2567 มีมติเห็นชอบแล้ว ทั้งนี้ กรอบการประเมินดังกล่าวมีรายละเอียดเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แต่มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดบางหัวข้อของกรอบการประเมินฯ โดยในส่วนของส่วนราชการ ได้แก่ องค์ประกอบการประเมิน กลุ่มเป้าหมายการประเมิน และเกณฑ์การประเมิน และในส่วนของจังหวัด ได้แก่ องค์ประกอบการประเมิน สรุปได้ ดังนี้

 

กรอบการประเมินฯ ประจำปีงบประมาณ

.. 2567 (เดิม)

 

กรอบการประเมินฯ ประจำปีงบประมาณ .. 2568

(ที่เสนอในครั้งนี้)

1.องค์ประกอบการประเมิน

(1) การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน :

     (1.1) ส่วนราชการ : มีการจัดกลุ่มตัวชี้วัดใหม่ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น โดยนำตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการดำเนินการขับเคลื่อนในระดับประเทศ เช่น นโยบายรัฐบาล แผนระดับชาติต่างๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ตัวชี้วัดตามภารกิจ (Function KPIs) ของปีงประมาณ .. 2567 มาจัดอยู่ภายใต้ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs) ของปีงบประมาณ .. 2568 ส่วนตัวชี้วัดที่เกี่ยวกับการดำเนินการขับเคลื่อนในระดับหน่วยงาน เช่น ภารกิจงานประจำ ให้อยู่ภายใต้ตัวชี้วัดตามภารกิจพื้นฐาน/งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก (Function KPIs) เช่นเดิม เพื่อมุ่งเน้นให้ส่วนราชการนำตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญไปกำหนดเป็นตัวชี้วัดระดับกรมต่อไป

(1.1.1) ตัวชี้วัดตามภารกิจ (Function KPIs) เช่น

 

 

- ผลการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐาน งานประจำ

 

(1.1.1) ตัวชี้วัดตามภารกิจพื้นฐาน/งานตามหน้าที่

ความรับผิดชอบหลัก (Functional KPIs)

- ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน (Agenda KPIs)

 

(1.1.2) ตัวชี้วัดเชิงยุทธศาสตร์สำคัญ (Strategic KPIs)

(1.1.2) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs)

 

(1.1.3) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs)

     (1.2) จังหวัด : มีการจัดกลุ่มตัวชี้วัดใหม่ โดยนำตัวชี้วัดนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงมหาดไทย (มท.) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดย่อยภายใต้ตัวชี้วัดตามภารกิจ ของปีงบประมาณ .. 2567 มาจัดอยู่ภายใต้ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการพัฒนาระดับพื้นที่ (Function KPIs) ของจังหวัด ของปีงบประมาณ .. 2568 โดยกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดของจังหวัด เพื่อให้จังหวัดนำนโยบายเร่งด่วนของ มท. ไปขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น

(1.2.1) ตัวชี้วัดตามภารกิจ (Functional KPIs)

ประกอบด้วย

 

(1.2.1) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการพัฒนาระดับพื้นที่

(Function KPIs) ประกอบด้วย

- ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน (Agenda KPIs) เช่น นโยบายเร่งด่วนของ มท.

 

- ตัวชี้วัดนโยบายเร่งด่วนของ มท. (Agenda)

(ตัวชี้วัดบังคับ)

- ผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาของจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (Area KPIs) และ/หรือ ผลการดำเนินการเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญ (Pain Point) และต้องการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

 

- ตัวชี้วัดในการพัฒนาพื้นที่ (Area KPIs) ตามแผนพัฒนาของจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด และ/หรือผลการดำเนินการเพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาสำคัญ

- ตัวชี้วัดที่กำหนดจากการบูรณาการร่วมกันภายใต้ภารกิจเดียวกันระหว่างส่วนราชการและจังหวัด (Joint KPIs by Function) ตามภารกิจและนโยบายสำคัญที่ต้องการความร่วมมือระดับพื้นที่ในการยกระดับผลการดำเนินงาน/แก้ไขปัญหา

(1.2.2) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs)

 

(1.2.2) ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs)

(2) การประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (น้ำหนักร้อยละ 30):

     (2.1) ปรับลดน้ำหนักของการประเมินระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐจาก ร้อยละ 20 เป็น ร้อยละ 10

     (2.2) เพิ่มการประเมินเรื่องความพึงพอใจของหน่วยงาน โดยใช้ข้อมูลจากผลการประเมินผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ในแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภายนอก (เกี่ยวกับการบริการของหน่วยงานภาครัฐ) น้ำหนักร้อยละ 10 เพื่อให้สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการบริการของหน่วยงานภาครัฐกับผู้รับบริการ

การประเมินระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ น้ำหนักร้อยละ 20

 

การประเมินระดับความพร้อมรัฐบาลดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ น้ำหนักร้อยละ 10

ไม่มี

 

การประเมินความพึงพอใจของหน่วยงานน้ำหนัก ร้อยละ 10

การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (น้ำหนักร้อยละ 10)

 

การประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) (น้ำหนักร้อยละ 10)

2. กลุ่มเป้าหมายการประเมิน : เพิ่มส่วนราชการสังกัดกระทรวงกลาโหม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลกลับเข้าสู่ระบบการประเมินฯ ของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เนื่องจากได้มีการยกเลิกคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่กำหนดให้ส่วนราชการดังกล่าวนำกรอบการประเมินฯ ไปประยุกต์ใช้

ส่วนราชการ (ในสังกัดฝ่ายบริหาร) จำนวน 154 หน่วยงาน

 

ส่วนราชการ จำนวน 163 หน่วยงาน

3. เกณฑ์การประเมิน : ปรับระดับของเกณฑ์การประเมินส่วนราชการและจังหวัด (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

ในระดับมาตรฐานที่มีการแบ่งเป็นมาตรฐานขั้นสูงและมาตรฐานขั้นต้น มายุบรวมเป็นระดับเดียว เพื่อเป็นกลไกหนึ่ง ในการขับเคลื่อนการทำงานภาคราชการให้มีความท้าทายมากขึ้น และผลักดันให้การดำเนินงานของส่วนราชการเกิดผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้นตามค่าเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้

 

ระดับการประเมิน

คะแนน

ผลการดำเนินงาน

1) ระดับคุณภาพ

90-100

2) ระดับมาตรฐานขั้นสูง

75-89-99

3) ระดับมาตรฐานขั้นต้น

60-74-99

4) ระดับต้องปรับปรุง

ต่ำกว่า 60

 

 

 

ระดับการประเมิน

คะแนน

ผลการดำเนินงาน

1) ระดับดีมาก

90-100

2) ระดับดี

60.00-89.99

3) ระดับพอใช้

ต่ำกว่า 60

 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) 5 พฤศจิกายน 2567

 

 

11118

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!