หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

TPCHกนกทพย จนทรพลงศร


TPCH สตรอง!! ตุนโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล-ขยะ ในมือ 120 MW วางเป้าแตะ 200 MW ในอีก 3 ปีข้างหน้า

     TPCH สตรอง!! ตุนโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลและโรงไฟฟ้าขยะในมือรวมกำลังการผลิตขนาด 120 MW วางเป้าแตะ 200 MW ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า แม่ทัพหญิง ‘กนกทิพย์ จันทร์พลังศรี’ เผยเตรียมเข้าประมูลโครงการ VSPP Semi-Firm จำนวน 269 เมกะวัตต์ ตั้งเป้า 90 MW พร้อมเผยแผนกลยุทธ์เพื่อลดต้นทุน เล็งปลูกพืชพลังงานที่มีความแข็งแรงทนต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ช่วยหนุนผลประกอบการให้ออกมาดีขึ้น สร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าให้กับผู้ถือหุ้นในอนาคต

      นางกนกทิพย์ จันทร์พลังศรี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TPCH เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีโครงการโรงไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างทั้งหมด 4 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล ปัตตานี กรีน (PTG) กำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้นขนาด 23 เมกะวัตต์ จำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในระบบ Adder โดยขณะนี้ได้ทำการถมที่และปรับหน้าดินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมตอกเสาเข็ม 2.โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล TPCH1 กำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้นขนาด 9.9 เมกะวัตต์ โดยจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในระบบ Feed-in Tariff (FiT) 3.โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล TPCH2 กำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้นขนาด 9.9 เมกะวัตต์ โดยจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในระบบ Feed-in Tariff (FiT) และ 4.โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวล TPCH5 กำลังการผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้นขนาด 6.3 เมกะวัตต์ โดยจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในระบบ Feed-in Tariff (FiT)

       นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีก 1 โครงการ คือโครงการโรงไฟฟ้าขยะชุมชน สยาม พาวเวอร์ (SP) กำลังการผลิตติดตั้งขนาด 9.5 เมกะวัตต์ โดยจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้านครหลวงในระบบ Feed-in Tariff (FiT) ซึ่งทางบริษัทได้ทำการยื่นคำร้องและข้อเสนอขายไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานจะประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณาตามความพร้อมภายในวันที่ 30 เมษายน 2561

      สำหรับ โครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลที่มีการดำเนินงานเต็มปี 2560 ทั้ง 4 โครงการ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าชีวมวลช้างแรก ไบโอเพาเวอร์ (CRB) ,โรงไฟฟ้าชีวมวลแม่วงศ์ เอ็นเนอยี่ (MWE),โรงไฟฟ้าชีวมวลมหาชัย กรีน เพาเวอร์ (MGP) และโรงไฟฟ้าชีวมวลทุ่งสัง กรีน (TSG ) นั้น มีผลการดำเนินงานในปี 2560 อย่างดีเยี่ยม โดยแต่ละโครงการมีค่าเฉลี่ยของ Sale Capacity Factor เกิน 90% ทุกโครงการ ส่วนอีก 2 โครงการที่เริ่มดำเนินงานเชิงพาณิชย์เมื่อกลางปี 2560 คือโรงไฟฟ้าชีวมวล พัทลุง กรีน เพาเวอร์ (PGP) และต้นปี 2561 คือโรงไฟฟ้าชีวมวลสตูล กรีน เพาเวอร์ (SGP) นั้นก็มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ

      “ปัจจุบันบริษัทฯ มีโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลรวม 110 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะอีก 10 เมกะวัตต์ รวมทั้งสิ้น 120 เมกะวัตต์ โดยบริษัทฯ ได้วางเป้าหมายระยะสั้นไว้ 3 ปีข้างหน้าคือมีโครงการโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มเป็น 200 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะรวมเป็น 50 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายภายในกรอบระยะเวลาที่ตั้งไว้ โดยขณะนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเข้าร่วมประมูลโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแบบ VSPP Semi-Firm สำหรับประเภทพลังงานหมุนเวียนชีวมวลและชีวภาพเท่านั้น โดยคาดว่าจะมีการเปิดให้เข้าร่วมประมูลโครงการทั่วประเทศประมาณ 269 เมกะวัตต์ ในปีนี้ และบริษัทฯ ตั้งเป้าไว้ที่ 90 เมกะวัตต์” นางกนกทิพย์ กล่าว

     อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้เล็งเห็นโอกาสที่ดีในการลงทุน เนื่องจากเป็นการเปิดรับประมูลการรับซื้อไฟฟ้าประเภทชีวมวลที่ทางบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญและเป็นการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (VSPP) เป็นโครงการขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นขนาดที่ทางบริษัทมีความชำนาญในการลงทุนและดำเนินการ ณ ปัจจุบันแล้ว นอกจากนี้บริษัทฯ ยังวางเป้าหมายที่จะลดต้นทุนในแต่ละโครงการ เพื่อให้มีผลกำไรที่ดีขึ้น โดยบริษัทฯ ได้ศึกษาและเพาะปลูกพืชพลังงานเพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าที่ดำเนินการในปัจจุบัน ซึ่งจะส่งผลให้ค่าดำเนินการในแต่ละโครงการนั้นลดลง

     “พืชพลังงานที่ทางบริษัทฯได้ศึกษาและทําการเพาะปลูกนั้นเป็นพืชที่มีความแข็งแรงทนต่อทุกสภาพอากาศอีกทั้งยังสามารถเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่แห้งแล้ง ทําให้บริษัทฯ สามารถพัฒนาพืชพลังงานได้ในทุกพื้นที่เป้าหมาย อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาและนําเข้าเทคโนโลยีใหม่เข้ามาในแต่ละโครงการ โดยมุ่งเน้นที่จะนําทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีอยู่แล้วมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับโครงการซึ่งจะส่งผลดีในอนาคตให้กบบริษัทฯ รวมทั้งนักลงทุนด้วย” นางกนกทิพย์ กล่าวในที่สุด

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!