หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV11ขอความเห็นชอบโครงการตลาดประชารัฐ

 

     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการตลาดประชารัฐตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ดังนี้

      1. ให้ดำเนินโครงการตลาดประชารัฐภายใต้ความร่วมมือระหว่าง มท. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด โดยบูรณาการตลาดประชารัฐทั้ง 8 ประเภท  ภายใต้โครงการตลาดประชารัฐ และให้ดำเนินการพร้อมกันตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 โดยมีรายละเอียดดังนี้

      1.1 พัฒนาพื้นที่ตลาดใหม่ ขยายพื้นที่การตลาดเดิม และ/หรือ เพิ่มวันทำการเพื่อให้ผู้ประกอบการรายใหม่ได้มีโอกาสค้าขายต่อไป

       1.2 ส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย และผู้ประกอบการที่ได้รับความเดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขายให้มีพื้นที่การค้าขาย โดยให้ส่วนราชการที่ดูแลตลาดแต่ละประเภทรับลงทะเบียนผู้ประกอบการรายใหม่  ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560

     1.3 ดำเนินงานโครงการฯ โดยใช้งบประมาณของแต่ละหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรตามงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ทั้งนี้ ส่วนราชการสามารถขอรับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อดำเนินโครงการฯ ตามกรอบและแนวทางที่สำนักงบประมาณกำหนดไว้

      1.4 รายงานผลการดำเนินงานให้ มท. เพื่อประเมินโครงการฯ ต่อไป

       2. ให้ พณ. และบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด  มีหน้าที่ส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ การค้าขาย การท่องเที่ยว รวมทั้งการสร้างแรงกระตุ้นการขายภายใต้การส่งเสริมตลาดประชารัฐต้องชมเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุมตลาดประชารัฐทุกประเภทที่เข้าร่วมโครงการตลาดประชารัฐ

 

สาระสำคัญของเรื่อง

มท. รายงานว่า

1. มท. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พณ. ธ.ก.ส. กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น  กรมการพัฒนาชุมชน กรมการปกครอง องค์การตลาด มท. กรุงเทพมหานคร (กทม.)  และภาคเอกชนที่เป็นคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ (E3) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2560 เพื่อบูรณาการโครงการที่ดำเนินการเกี่ยวกับตลาดที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการด้วยวิธีการขยายพื้นที่ตลาดที่มีอยู่เดิมและตลาดที่มีการสร้างขึ้นใหม่ให้แก่เกษตรกร ผู้มีรายได้น้อย  ผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขาย และผู้ประกอบการรายใหม่ ภายใต้ชื่อโครงการ ‘ตลาดประชารัฐ’

2. โครงการฯ มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้

 

หัวข้อ                       รายละเอียด

แนวคิดของโครงการฯ           1. ส่งเสริมให้มีพื้นที่การตลาดใหม่

2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีพื้นที่ค้าขายเพิ่มมากขึ้นโดยขยายผลพื้นที่เดิม

3. ส่งเสริมผู้ประกอบการแต่ละกลุ่มประเภทสินค้า (สินค้าเกษตร สินค้า OTOP SMEs  วิสาหกิจชุมชน  ร้านอาหาร หาบเร่ แผงลอย)

4. ส่งเสริมผู้ประกอบการแต่ละระดับ

5. ช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขาย

6. ดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาค

7. เปิดโอกาสผู้ประกอบการในการพัฒนาและแข่งขัน

หลักการของโครงการฯ          1. ร่วมบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบตลาดประชารัฐ

2. สร้างพื้นที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันอย่างเป็นธรรมชาติโดยรุกเข้าไปหาผู้ซื้อ

3. ช่วยให้มีการลดต้นทุนทางการตลาดอย่างเหมาะสม

4. ภาคเอกชนมีส่วนร่วมเปิดตลาดประชารัฐ โดยเฉพาะผู้ค้า Modern Trade

5. ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการรายใหม่ ให้แยกจากผู้ประกอบการเดิมอย่างชัดเจน

6. ยกระดับสินค้าทุกประเภทให้มีคุณภาพมาตรฐานที่ปลอดภัย

ประเภทตลาดประชารัฐภายใต้     1. ตลาดประชารัฐ Green Market ดำเนินการโดย องค์การตลาด

โครงการฯ   แนวคิด : เปิดพื้นที่ตลาดใหม่ ขยายพื้นที่ตลาดเดิม กระจายอยู่ในภูมิภาคยกระดับมาตรฐานสินค้าทางการเกษตรและอาหารปลอดภัย

พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดขององค์การตลาด มท. จำนวน 3 แห่ง ซึ่งมีงบประมาณดำเนินการแล้ว และจะดำเนินการในปีงบประมาณ 2561 ได้แก่

(1) ตลาดตลิ่งชัน กทม. ผู้เช่าเดิม 163 แผง พื้นที่เช่าใหม่ 126 แผง และพื้นที่ว่างหมุนเวียน 111 แผง

(2) ตลาดบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ผู้เช่าเดิม 16 แผง พื้นที่เช่าใหม่ 154 แผง และพื้นที่ว่างหมุนเวียน 150 แผง

(3) ตลาดลำพูน จังหวัดลำพูน เช่าเดิม 10 แผง พื้นที่เช่าใหม่ 244 แผง และพื้นที่ว่างหมุนเวียน 586 แผง

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกร/ผู้ประกอบอาหารรายใหม่ ซึ่งแยกเป็น 3 ตลาด โดยเมื่อรวมตลาด 3 แห่ง มีจำนวนกลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ประมาณ 847 ราย

2. ตลาดประชารัฐไทยช่วยไทยคนไทยยิ้มกัน ดำเนินการโดย กรมการพัฒนาชุมชน

แนวคิด : บริหารจัดการพื้นที่เดิม เพิ่มผู้ประกอบการ โดยขยายพื้นที่และวันดำเนินการ โดยเพิ่มจากทุกวันจันทร์ พุธ และ ศุกร์ เป็นอีกอย่างน้อย 1 วัน(วันอังคาร และ/หรือ พฤหัสบดี) เพื่อให้เกษตรกรนำผลผลิตมาขายร่วมกับ พณ.พื้นที่ดำเนินการ : ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดและอำเภอ จำนวน 2,155 แห่ง

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกรนำผลผลิตมาขายเอง กลุ่มเครือข่าย OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ร้านอาหาร หาบเร่แผงลอย เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10 - 20 รายต่อแห่ง รวมตลาด 2,155 แห่ง กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ประมาณ 21,550 ราย

3. ตลาดประชารัฐท้องถิ่นสุขใจ ดำเนินการโดย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

แนวคิด : (1) บริหารจัดการเพิ่มพื้นที่การขายในตลาดเดิม ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารตลาด ลดค่าธรรมเนียนการเช่า เปิดโอกาสให้เกษตรกร

                นำผลิตผลมาขายเอง (2) เพิ่มวันทำการ โดยเฉพาะตลาดถนนคนเดินเดิม และ (3) ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้ผู้ค้ารายใหม่ โดยเฉพาะเกษตรกรที่นำผลผลิตมาค้าขายเอง

                พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ จำนวน 3,822 แห่ง

                กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ อปท. และกลุ่มประมงพื้นบ้านเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10 – 20 รายต่อแห่ง รวมตลาด 3,822 แห่ง

กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ ประมาณ 45,864 ราย

4. ตลาดประชารัฐ กทม. คืนความสุข ดำเนินการโดย กทม.

แนวคิด : จัดที่ทำการค้าเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีสถานที่ค้าขาย จำนวน 11,033 ราย รวมทั้งจัดจำหน่ายสินค้า OTOP ของทั้ง 50 เขต ใน กทม.

พื้นที่ดำเนินการ : มีทั้งหมด 14 แห่ง เปิดดำเนินการแล้ว 5 แห่ง คือ

(1) ใต้ทางด่วนพงษ์พระราม จำนวน 340 ราย

(2) หน้าภัตตาคารกุ้งหลวง จำนวน 30 ราย

(3) บริเวณใกล้สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จำนวน 146 ราย

(4) ลานจอดรถข้างสวนลุมพินี จำนวน 137 ราย

(5) พื้นที่ตรงข้ามวัดสุทธิวราราม (ซอยเจริญกรุง 60) จำนวน 44 ราย

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกร ผู้ประกอบการที่เดือดร้อนจากการไม่มีที่สถานที่ค้าขาย รวมตลาด 14 แห่ง กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ประมาณ 11,033 ราย

5. ตลาดประชารัฐของดีจังหวัด ดำเนินการโดย จังหวัด และบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด

แนวคิด : (1) การจำหน่ายสินค้าที่มีความโดดเด่นในพื้นที่ สินค้าตามฤดูกาล สินค้าล้นตลาด เช่น ตลาดปลา ผลไม้ ข้าวสาร (2) การส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด และ (3) การแลกเปลี่ยนการขายสินค้าระหว่างจังหวัด

พื้นที่ดำเนินการ : บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด หน้าที่ว่าการอำเภอและสถานที่ราชการที่มีศักยภาพ และสถานที่ท่องเที่ยว อย่างน้อย จังหวัดละ  1 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกร/SMEs ผู้มีรายได้น้อย เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 100 - 200 รายต่อแห่ง รวมตลาด 76 แห่ง กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ประมาณ 15,200 ราย

6. ตลาดประชารัฐ Modern Trade ดำเนินการโดย พณ. จังหวัดและบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด

แนวคิด : พณ. จังหวัด และบริษัท ประชารัฐรักสามัคคี จำกัด ขอความร่วมมือเอกชนและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ที่ร่วมโครงการฯ ดำเนินการในลักษณะสร้างคุณค่าร่วมกับสังคม (Creating Shared Value - CSV) เพื่อให้ผู้ประกอบการระดับชุมชน เกษตรกร ได้มีโอกาสค้าขายในห้างสรรพสินค้า โดยขอยกเว้นค่าสถานที่ และเป็นโอกาสเชิงรุกหาลูกค้า

พื้นที่ดำเนินการ : พื้นที่เอกชนและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ร่วมโครงการฯ อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง

กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการทุกประเภทที่ผ่านการคัดเลือก เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 50 – 100 รายต่อแห่ง (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่ห้างสรรพสินค้า) รวมตลาด 76 แห่ง กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ประมาณ 3,800 ราย

7. ตลาดประชารัฐของดีวิถีชุมชน ธ.ก.ส. ดำเนินการโดย ธ.ก.ส.

                แนวคิด : เพิ่มพื้นที่ทางการตลาดบริเวณหน้าธนาคาร สร้างมาตรฐานสินค้า เปิดพื้นที่ค้าขายสินค้า บริเวณสถานีน้ำมัน ปตท. และบางจาก การทำ Matching product กับ ธ.ก.ส. สาขาอื่น

พื้นที่ดำเนินการ : ดำเนินการบริเวณหน้า ธ.ก.ส. จำนวน 146 แห่งและบริเวณหน้าอาคาร ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ 1 แห่ง รวมผู้ประกอบการ

ทั้งหมด  1,128 ราย

                กลุ่มเป้าหมาย :  กลุ่มเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย และลูกค้าของธ.ก.ส. เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-20 รายต่อแห่ง รวมตลาด 147 แห่ง กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ประมาณ 1,470 ราย

8. ตลาดประชารัฐต้องชม  ดำเนินการโดย พณ.

                แนวคิด : ส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์ในตลาดชุมชนที่มี

                ความพร้อมมีอัตลักษณ์ของท้องถิ่น  การท่องเที่ยวชุมชน กระตุ้นการค้าขาย  ดำเนินการในปี 2559-2560 จำนวน 154 แห่ง และในปี 2561 คาดว่าจะเพิ่มเติม 77 แห่ง (77 จังหวัด)

พื้นที่ดำเนินการ : ตลาดน้ำ / ตลาดในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดละ 1 แห่ง (77 แห่ง)

                กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ค้ากับนักท่องเที่ยว กลุ่มร้านอาหาร กลุ่มผู้ประกอบการในชุมชน เพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 10-20 รายต่อแห่ง รวมตลาด 154 แห่ง กลุ่มผู้ประกอบการรายใหม่ประมาณ 3,080 ราย

                การดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อน 1. รัฐบาลดำเนินการเพิ่มภาพลักษณ์ใหม่ให้กับตลาดที่มีอยู่ในความดูแลของส่วนราชการต่าง ๆ  (Rebrandind) รวมทั้งจัดทำตราสัญลักษณ์

                โครงการฯ โครงการและจัดทำความร่วมมือ (MOU) ระหว่างส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

                2. หน่วยงานราชการส่วนกลางที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ผ่านโทรทัศน์ วิทยุและสื่อต่าง ๆ เพื่อสร้างกระแสการรับรู้ให้กับ

                ผู้ขายและผู้ซื้อ รวมทั้งจัดทำ Website/Application ข้อมูลตลาดทั่วประเทศ

                3. จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดประกาศให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการมาลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ ประชาสัมพันธ์

                ตลาดในพื้นที่ให้ประชาชนทราบ  รวมถึงประชาสัมพันธ์การบริหารจัดการตลาดที่มีความโดดเด่น น่าสนใจ

                ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ที่ลงทะเบียนทุกกลุ่มที่เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ มีพื้นที่ทำการค้าขายเพิ่มขึ้น จำนวน 102,844 ราย

                2. มีการสร้างภาพลักษณทางการตลาดใหม่และตลาดมีการขยายพื้นที่ค้าขายและวันทำการ โดยเพิ่มสถานที่จำหน่ายสินค้าเกษตรปลอดภัยที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 6,447 แห่ง

                        ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 ตุลาคม 2560

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!