หมวดหมู่: บทวิเคราะห์

บล.เคจีไอ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 25-5-2020KGI


ทิศทางตลาดหุ้นวันนี้   ( รักพงศ์ ไชยศุภรากุล เลขทะเบียนฯ: 19838)

มีโอกาสปรับฐานต่อ

KGI ประเมิน SET Index วันจันทร์อ่อนลงต่อ... หลังเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ดัชนีฯ ปรับลงแรงกว่าที่เราคาดไว้ เนื่องจากหุ้นเชื่อมโยงเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันเผชิญแรงขาย ตามความตึงเครียดรอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมทั้งจากตัวเลขส่งออกเดือน เม.ย. ของไทยซึ่งหากไม่รวมมูลค่าส่งออกทองคำพบว่าส่งออกลดลงแรง YoY... ขณะที่ในวันนี้ปัจจัยตลาดหุ้นเป็นลบเล็กน้อย ได้แก่ i) แรงปะทะระหว่างสหรัฐฯ และจีนยังรุนแรงขึ้นในช่วงสั้น ล่าสุดเช้านี้ ทำเนียบขาวแถลงว่าสหรัฐฯ น่าจะมีนโยบายคว่ำบาตรจีนเพิ่มเติม หลังจากจีนอนุมัติกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ซึ่งมีเป้าหมายควบคุมการชุมนุมในฮ่องกงอย่างเข้มงวด ii) มูลค่าหุ้น (valuations) ของตลาดหุ้นไทยยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งหากมีปัจจัยลบเข้ามากระตุ้นก็อาจส่งผลให้มีแรงขายลดความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะจากฝั่งนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ซึ่งได้ซื้อสะสมหุ้นไทยไปแล้วถึง 5.9 หมื่นล้านบาทนับจากต้นปี 2563... ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินโดยอิงจากโมเดล valuations ของเรา คาดการปรับฐานอาจส่งผลให้ดัชนีฯ ลงไปแถว 1,260-1,270 จุด ในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้านี้ ซึ่งหากตลาดหุ้นปรับลดลงแถวระดับดังกล่าว น่าจะเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นอีกครั้ง เพราะฝ่ายวิจัยฯ ยังคงมุมมองว่าความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และจีน ไม่น่าพัฒนาเป็นสงครามการค้ารอบใหม่

หุ้นเด่นวันนี้ ตามปัจจัยพื้นฐาน ( สุโชติ ถิรวรรณรัตน์ เลขทะเบียนฯ: 28668)

เก็งกำไร STEC*, AMATA*

                STEC* (เป้าพื้นฐาน 21.4 บาท) 1) ประเมินแนวรับ 14.7 บาท / แนวต้าน 15.4 บาท หากผ่านรอบแนวต้านนี้ไปได้ประเมินมีโอกาสทดสอบแนวเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน (EMA) 16.3 บาท (Stop loss 14.2 บาท) 2) คาดเดือน มิ.ย. จะเดินหน้าเซ็นสัญญางานใหญ่ได้ 2 งานคือ i) สนามบินอู่ตะเภาของกลุ่มร่วมทุน BBS (BTS*, STEC*, BA) มูลค่างานเฟสแรกอยู่ที่ราว 2 หมื่นล้านบาท และ ii) งานมอเตอร์เวย์ของกลุ่มร่วมทุน BGSR (BTS*, GULF*, STEC*, RATCH*) มูลค่างานราว 5 พันล้านบาท

                AMATA* (เป้าพื้นฐาน 15.6 บาท) 1) ประเมินแนวรับ 13.2 บาท / แนวต้าน 14.0 - 14.5 บาท (Stop loss 12.6 บาท) 2) คาดจะได้ Sentiment บวกจากความคืบหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจทุนของลูกค้าในนิคมฯ (ล่าสุดภาครัฐเตรียมเซ็นสัญญาโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาในเดือน มิ.ย.นี้) 3) การเจรจาลงทุนของลูกค้าต่างชาติจะเริ่มมีความคืบหน้าใน 2H63 ที่ภาครัฐเริ่มเปิดน่านฟ้าให้มีการเดินทางระหว่างประเทศได้ 4) นสพ ฐานเศรษฐกิจ ลงประเด็นข่าวรัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมออกงบสนับสนุนการย้ายฐานการผลิตจากจีนมายังอาเซียน และเราคาดภาครัฐฯจะเตรียมเสนอโปรโมชั่นและข้อเสนอพิเศษ ดึงดูดการลงทุนในนิคมฯเพิ่มอีกหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย ... นักลงทุนอาจพิจารณาเก็งกำไร WHA* แนวรับ 2.94 บาท / แนวต้าน 3.10 - 3.20 บาท (Stop loss 2.8 บาท)

หุ้นมีข่าว

(0) THAI* พ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ (บางกอกโพสต์) ความเห็น: กระทรวงการคลังได้ขายหุ้น 3.17% ใน THAI ออกไปให้กองทุนวายุภักษ์ 1 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (ราคา4.03 บาท/หุ้น จำนวน 69 ล้านหุ้น มูลค่า 278 ล้านบาท) ส่งผลให้กระทรวงการคลังถือหุ้น THAI ลดลงเหลือ 48% ในขณะนี้ ทำให้ THAI ไม่เป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป หลังจากนี้ THAI จะยื่นเรื่องการขอฟื้นฟูกิจการเข้าสู่ศาลล้มละลายกลางตามกฎหมาย ส่วนมุมมองของเราเห็นว่า ผลประกอบการของ THAI จะยังคงอ่อนแอต่อเนื่องในปี 2563 โดยมีผลขาดทุนสุทธิ แต่มีโอกาสพลิกฟื้นการดำเนินงานในระยะยาว เรายังคง under Review คำแนะนำและราคาเป้าหมาย จนกว่าจะเห็นแผนฟื้นฟูกิจการบริษัทในอนาคต

(+) คลังรีดปันผล PTT*-AOT* ควักกำไรสะสมมาจ่าย (ข่าวหุ้น) คลังสั่งรัฐวิสาหกิจนำส่งแผนธุรกิจใหม่ด่วนภายในเดือนมิ.ย.นี้ หลังโดนผลกระทบโควิด-19 ระบุชัดต้องการให้นำส่งรายได้ใกล้เคียงเป้ามากที่สุด โดยเฉพาะบริษัท ปตท. และท่าอากาศยานไทย แม้ผลประกอบการลดลง แต่สามารถนำกำไรสะสมมาจ่ายได้ PTT* (กำไรสะสม 8.35 แสนล้านบาท) ปันผลไม่น้อยกว่า 2 บาท และ AOT* (กำไรสะสม 1.20 แสนล้านบาท) จ่าย 1 บาทต่อหุ้น ไม่ต่ำกว่าเดิม เพื่อนำไปเติมงบประมาณฟื้นฟูประเทศ หลังโควิดคลี่คลาย

(+) กลุ่ม BGSR จ่อเซ็นมิ.ย.นี้ รับงาน O&M มอเตอร์เวย์ (ข่าวหุ้น) กรมทางหลวงมั่นใจเซ็นสัญญากับกลุ่ม BGSR (BTS*-GULF*-STEC*-RATCH*) มิ.ย.นี้ รับงาน O&M มอเตอร์เวย์ 2 สายทาง อธิบดีเผยล่าสุดอัยการสูงสุด-สคร.ไฟเขียวร่างสัญญาร่วมทุนแล้ว พร้อมส่งถึงกระทรวงคมนาคมวันนี้ เพื่อชง ครม.เห็นชอบ

(+ กลุ่มนิคมฯ AMATA*, WHA*) ทุนญี่ปุ่น หนีเสี่ยงจีน ทะลักไทยไทย (ฐานเศรษฐกิจ) ลุ้นทุนญี่ปุ่นทะลักรอบใหม่ หลังรัฐบาลแดนซามูไรเตรียมงบกว่า 7,000 ล้าน อุ้มย้ายฐานผลิตสู่อาเซียนลดเสี่ยงพึ่งพาจีน "กลินท์" มั่นใจขนทัพมาแน่หลังปลดล็อกการบิน บีโอไอเผย Q1 ญี่ปุ่นยังเบอร์ 1 ลงทุนไทย เตรียมออกแคมเปญใหม่พีอาร์ตีฆ้องดึงลงทุนสู้โควิด

(0) LPN ประกาศซื้อหุ้นคืน แจกปันผล 1 บาทต่อหุ้น (ทันหุ้น) LPN ควัก 500 ล้านบาท ซื้อหุ้นคืน 126 ล้านหุ้น หรือ 8.54% เริ่ม 5 มิถุนายนนี้ แถมแจกปันผลระหว่างกาล 1 บาทต่อหุ้น ขึ้น XD วันที่ 4 มิถุนายน จ่าย 19 มิถุนายน "โอภาส ศรีพยัคฆ์" ปรับแผนเลื่อนเปิดคอนโด 3 โครงการไปช่วงไตรมาส 4/2563 มั่นใจครึ่งหลังปีนี้ฟอร์มแจ่ม รับดีมานด์ฟื้นตัว ส่วนปี 2563 ยืนเป้ายอดขายไว้ระดับ 1 หมื่นล้านบาท ตุน Backlog ในมือ 5 พันล้านบาท

หุ้นที่แนะนำไปก่อนหน้า

                INTUCH* (เป้าพื้นฐาน 69 บาท) แนะนำ "Let profit run" (Trailing stop 52 บาท)

                TMB* (เป้าพื้นฐาน 1.38 บาท) แนะนำ "Let profit run" (Trailing stop 1.0 บาท)

                MTC* (เป้าพื้นฐาน 49 บาท) แนะนำ "Let profit run" (Trailing stop 53 บาท)

                TOP* (เป้าพื้นฐาน 55 บาท) แนะนำ "Let profit run" (Trailing stop 45 บาท)

                BPP* (เป้าพื้นฐาน 23.25 บาท) แนะนำ "Let profit run" (Trailing stop 16.4 บาท)

                RS* (เป้าพื้นฐาน 13.2 บาท) แนวรับ 11.3 บาท / แนวต้าน 12.0 - 12.5 บาท (Trailing stop 11.0 บาท)

                HANA* (เป้าพื้นฐาน 36 บาท) แนวรับ 28 บาท / แนวต้าน 30.5 - 32.0 บาท (Trailing stop 28 บาท)

                BCPG* (เป้าพื้นฐาน 22 บาท) แนวรับ 16.2 บาท / แนวต้าน 17.0 - 17.5 บาท (Trailing stop 15.8 บาท)

                CENTEL* (เป้าพื้นฐาน 26 บาท) แนวรับ 20.0 บาท / แนวต้าน 21.2 - 22.0 บาท (Stop loss 19.5 บาท)

                EA* (เป้า Consensus 59.5 บาท) แนวรับ 39 บาท / แนวต้าน 42 - 43 บาท (Stop loss 38.0 บาท)

                CPF* (เป้าพื้นฐาน 35 บาท) แนวรับ 28.5 บาท / แนวต้าน 29.0 - 29.5 บาท (Trailing stop 27.5 บาท)

                TFG (เป้าพื้นฐาน 4.4 บาท) แนวรับ 4.12 บาท / แนวต้าน 4.20 - 4.34 บาท (Trailing stop 4.12 บาท)

Report ตามปัจจัยพื้นฐานวันนี้

                กลุ่มธนาคารพาณิชย์ น้ำหนักลงทุน "เท่ากับตลาดฯ" ประเด็นจากงบดุลธนาคารเดือน เม.ย. i) ยอดเงินฝากเติบโต คาดเป็นผลจากความผันผวนของตลาดตราสารหนี้ ทำให้นักลงทุนเลือกการฝากเงินที่มีความปลอดภัยมากกว่า ii) เงินกู้เติบโต คาดเป็นผลจากการที่ตลาดตราสารหนี้มีความผันผวนส่งผลให้ บริษัทฯต่างๆ ใช้ช่องทางการกู้เงินจากธนาคารเพื่อจ่ายหนี้เงินกู้ที่ครบกำหนดไถ่ถอน iii) ประเด็นอื่นๆ ภาพรวมตลาดทุนที่ดีขึ้น ทำให้ส่วนเงินลงทุนในตลาดทุนของ BBL* ฟื้นตัวขึ้นมา ในภาพรวมฝ่ายวิจัยฯยังกังวลต่อเศรษฐกิจที่อ่อนแอใน 2Q63 จึงยังคงน้ำหนักการลงทุนของกลุ่มฯเพียง "เท่ากับตลาดฯ"

                KTB* แนะนำ "ขาย" เป้าพื้นฐาน 12 บาท จากการประชุมนักวิเคราะห์ มุมมองเป็นลบ i) เลื่อนงบลงทุน ด้าน Digital platform ii) มีความเสี่ยงในส่วนของเงินกู้ THAI* ฝ่ายวิจัยฯปรับลดประมาณการฯปี 2563 - 64 ลง -40% และ -8% ตามลำดับ และปรับคำแนะนำลงเป็น "ขาย" (เดิม "ถือ")

                กลุ่มสื่อ น้ำหนักลงทุน "น้อยกว่าตลาดฯ" ภาพรวมผลการดำเนินงานของกลุ่มฯใน 1Q63 อ่อนแอ และคาดว่าผลการดำเนินงานใน 2Q63 จะยังชะลอตัวลงต่อเนื่อง หลังจากยอดใช้จ่ายงบโฆษณาในเดือน เม.ย. (ไม่รวมสื่อดิจิตอล) ลดลงแรงทั้ง YoY และ MoM และด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจที่หดตัวแรง ฝ่ายวิจัยฯคาดผลการดำเนินงานโดยรวมของกลุ่มฯจะฟื้นในปี 2564 คงน้ำหนักลงทุน "น้อยกว่าตลาดฯ"

                RATCH* แนะนำ "ซื้อ" เป้าพื้นฐาน 76 บาท จากการประชุมนักวิเคราะห์ มุมมองเป็นกลาง ผู้บริหารวางเป้ากำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่ม 700- 800 MW ในปี 2563 (คาดส่วนใหญ่มาจากการซื้อกิจการในต่างประเทศ) และมี Upside จากการเปิดนำเข้าก๊าซ LNG (โครงการหินกอง)อย่างไรก็ดีผลการดำเนินงาน 2Q63 คาดจะชะลอตัวลง YoY, QoQ จากการปิดซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้า ยังคงแนะนำ "ซื้อ" คาด Dividend yield ปี นี้ +3.8%

Strategic SET daily

May 25, 2020                        Market strategy                    Thailand

1 อดิศักดิ์ คำมูล

2 66.2658.8888 ต่อ 8843

3 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

จิตวิทยาตลาดวันนี้: --- นัยรับ 1299 จุด

วันนี้ หากดัชนี SET ดีดขึ้นหรือปิดเหนือรับ 1299 จุดได้นั้น อาจสะสมแรงผลักขึ้นในกรอบ 1299-1331 จุด แต่หากวันนี้ ดัชนี SET ลดลงปิดต่ำกว่านัยรับ 1299 จุดนั้น อาจทรงราคาลงในกรอบ 1299-1281 จุด

แนวรับวันนี้:       1299/1285               แนวต้านวันนี้:         1312/1322

Ratch Group

(RATCH.BK/RATCH TB

คงเป้าเพิ่มกำลังการผลิตใหม่อีก 700-800MWe ในปี 2563

Event

ประชุมนักวิเคราะห์

lmpact

ตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิตใหม่อีก 700-800MWe ในปี 2563 จากการทำดีล M&A ในต่างประเทศ

ผู้บริหารตั้งเป้าจะเพิ่มกำลังการผลิต equity MW อีก 700-800MWe จากปัจจุบันที่ 8.7GWe (รวมโครงการขนาด 1.6GWe ที่อยู่ใน pipeline แล้ว) โดย RATCH ได้เข้าไปซื้อโครงการ SPPs ใหม่ในประเทศไปบ้างแล้ว (61MWe) ในขณะที่กำลังการผลิตใหม่ที่เหลือจะมาจากการเข้าซื้อโครงการในต่างประเทศเป็นหลัก ซึ่งกำลังการผลิตใหม่ดังกล่าวจะไปชดเชยกำลังการผลิตที่จะหมดอายุลง (PPA ของ TECO จะหมดอายุในเดือนกรกฎาคม 2563)

มี upside จากใบอนุญาต LNG shipper ของโรงไฟฟ้า IPP หินกอง (HKP)

ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy payment หรือ EP) ของโรงไฟฟ้า IPP ทุกแห่งจะครอบคลุมต้นทุนค่าพลังงาน และ O&M (ทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร) ซึ่งต้นทุนค่าพลังงานนี้จะถูกส่งผ่านไปตามโครงสร้าง ซึ่ง กฟผ. จะจ่ายให้กับ IPP ตามราคาก๊าซเฉลี่ยของ PTT (average pooled gas price) ทั้งนี้ โรงไฟฟ้า IPP หินกองเพิ่งจะได้รับอนุมัติใบอนุญาต LNG shipper (1.4MTA) จาก กกพ. ซึ่งโควต้าส่วนนี้ถือว่าครอบคลุมปริมาณก๊าซทั้งหมดที่โรงไฟฟ้าจะต้องใช้ในรอบปีแล้ว ปัจจุบัน HKP ยังไม่ได้ทำสัญญาจัดหาก๊าซกับ PTT ดังนั้น จึงไม่มี upside จากโครงสร้าง PPA แต่โดยรวมแล้วอัตราค่าไฟฟ้าจะลดลงจาก EP แต่อย่างไรก็ตาม เรามองว่ายังมี upside อยู่บ้างจากการนำเข้า LNG (margin อยู่ระดับสองหลักต่ำ ๆ จากโครงสร้างราคาแบบ cost plus) ในโครงการมาบตาพุดเฟส 3

ผลประกอบการจากธุรกิจหลักใน 2Q63 น่าจะลดลงทั้ง YoY และ QoQ

เราคาดว่าผลประกอบการจากธุรกิจหลักใน 2Q63 จะลดลงทั้ง YoY และ QoQ เนื่องจาก i) มีการขยับกำหนดการทำ major overhaul โรงไฟฟ้า IPP หงสา (unit 3) 52 วัน จาก 3Q63 มาเป็น 2Q63 แทน ii) มีกำหนดการทำ major overhaul โครงการ RG (unit 3) 52 วัน

Valuation & Action

เรายังคงคำแนะนำซื้อ และให้ราคาเป้าหมาย DCF ปี 2563 ที่ 76.00 เรามองว่าผลการดำเนินงานของ RATCH จะยังคงแข็งแกร่งแม้ในภาวะที่ COVID-19 ระบาด เนื่องจากกำลังการผลิต equity MW ส่วนใหญ่มาจากโครงการ IPP เราคิดว่าราคาหุ้นในปัจจุบันให้อัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจที่ 3.8% สำหรับปี 2563 และ 4.1% สำหรับปี 2564

Risks

ความล่าช้าในการจัดสรรกำลังการผลิตใหม่ การเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ของทางการ โรงไฟฟ้าหยุดผลิตไฟฟ้า และความล่าช้าในการก่อสร้างโครงการใหม่

Krung Thai Bank

(KTB.BK/KTB TB)*

การสำรองหนี้ของ THAI กดดัน กำไรของธนาคาร

Event

ประชุมนักวิเคราะห์ 1Q63

Lmpact

กำลังพิจารณาเลื่อนแผนลงทุน

หลังจากที่ KTB ระงับแผนลงทุน 2 หมื่นล้านบาทเพื่อพัฒนาช่องทางดิจิตอลไปตั้งแต่ปี 2562 ผู้บริหารของ KTB บอกว่าธนาคารกำลังทบทวนแผน CAPEX และกำลังพิจารณาเลื่อนแผนการลงทุนออกไปก่อน โดยเฉพาะแผนที่ต้องใช้เงินลงทุนก้อนใหญ่เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป และเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการลงทุน เรามองว่าสาเหตุของการเลื่อนแผนลงทุนอาจจะเพื่อเป็นการบริหารจัดการผลประกอบการในช่วงที่ต้องมีการตั้งสำรองสูง

การกันสำรองสินเชื่อของ THAI จะเป็นความเสี่ยงต่อผลประกอบการ

KTB ปฏิเสธที่จะเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของ Thai Airways (THAI) ในแง่ของยอดสินเชื่อ ประเภทของหลักทรัพย์ค้ำประกัน และการรับประกันสินเชื่อ ทั้งนี้ เนื่องจาก THAI กำลังอยู่ระหว่างการยื่นล้มละลาย ถูกปรับลดอันดับเครดิต (credit rating) และเปลี่ยนสถานภาพเป็นบริษัทที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจ ดังนั้น ตามมาตรฐานบัญชี THAI จึงถูกนับเป็น NPL และธนาคารจะต้องกันสำรองเต็มจำนวน ทั้งนี้ ผู้บริหารบอกเพียงว่าธนาคารกำลังติดตามกรณีของ THAI อย่างใกล้ชิด และมีการกันสำรองไปบางส่วนแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากมีข้อมูลจำกัด เราจึงมองว่าการกันสำรองกรณีของ THAI ทำให้มีความเสี่ยงที่ KTB ต้องกันสำรองในจำนวนที่สูงเหมือนกับที่เคยต้องกันสำรองกรณีของ EARTH เมื่อปี 2560 ซั่งทำให้ ค่าใช้จ่ายสำรอง (credit cost) เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 200bps …และจะทำให้ค่าใช้จ่ายสำรองฯ(credit cost) เพิ่มเป็น 200bps (จาก 150bps)

เนื่องจาก THAI เป็นรัฐวิสาหกิจ เราจึงคาดว่าเงินกู้ส่วนใหญ่จะมาจากธนาคารรัฐสองแห่ง (ออมสินและ KTB) ทั้งนี้ เพื่อสะท้อนความเสี่ยงในการที่ KTB ต้องกันสำรองเพิ่ม เราจึงปรับสมมมติฐาน credit cost ของ KTB เป็น 200bps (จากเดิมที่ 150bps) ในปี 2563 แต่คงสมมติฐานปี 2564 เอาไว้ที่ 140bps เท่าเดิม

ปรับลดประมาณการกำไรปี 2563/64 ลง 41%/8% ปรับลดราคาเป้าหมายปี 2563F ลงเหลือ 12 บาท และปรบลดคำแนะนำจากถือเป็นขาย

สาเหตุหลักของการปรับประมาณการของเราก็เพื่อสะท้อนสมมติฐาน credit cost ที่เพิ่มขึ้นเป็น 200bps (จากเดิมที่ 150bps) ในปี 2563 ในขณะที่การระงับแผนลงทุนจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นแค่ 2% ในปี 2563 ส่งผลให้สัดส่วนต้นทุน/รายได้ทรงตัวอยู่ที่ 48% ทั้งนี้ เมื่อใช้ P/E ที่ 13.5x ทำให้เราได้ราคาเป้าหมายปี 2563F ที่ 12 บาท (ลดลงจากเดิมที่ 17 บาท) เราจึงปรับลดคำแนะนำจากถือเป็นขาย

Risks

NPL เพิ่มขึ้นทำให้ต้องกันสำรองเพิ่ม ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้

Economic

การส่งออกเพิ่มขึ้น 2.1% YoY ในเดือนเมษายน

Event

กระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการส่งออกเดือนเมษายน 2563 เพิ่มขึ้น 2.1% YoY เป็น 1.8948 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลง 17.1% YoY เป็น 1.6485 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 2.462 พันล้านดอลลาร์ฯ

มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่น จีน และสหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.8% YoY, 9.0% YoY และ 34.6% YoY ตามลำดับ ส่งออกไปฮ่องกง และไต้หวันเพิ่มขึ้น 38.2% YoY และ 4.1% YoY ในขณะที่มูลค่าการส่งออกไป EU ASEAN อินเดีย และเกาหลีใต้ ลดลง 28.7% YoY, 7.4% YoY, 61.1%YoY และ 20.2% YoY ตามลำดับ แต่หากไม่รวมน้ำมัน ทองคำ และอุปกรณ์ทางการทหาร มูลค่าการส่งออกลดลง 7.5% YoY

Figure 1: Exports to be hit by COVID-19 pandemic in 2Q20

US$ mn

Source: Ministry of Commcerce; KGI Research

Impact

                การส่งออกรวมถือว่าดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ แต่อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะภาคการผลิต ภาคการผลิตเพื่อส่งออกถดถอยลง

                มูลค่าการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน โดยเป็นการส่งออกไปยังสหรัฐฯ สิงคโปร์ ฮ่องกง แอฟริกา และจีน การระบาดเชื้อ COVID-19 ไปทั่วโลกเป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกอาหารของไทย

                การส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบสามเดือนตั้งแต่ที่ COVID-19 เริ่มระบาด เรามองว่าการส่งออกไปจีน (รวมฮ่องกง) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจีนใกล้จะกลับสู่ระดับปกติแล้วแม้ว่า GDP ใน 2Q63 อาจจะยังลดลงอยู่ แต่ดีกว่าใน 1Q63 ที่ GDP หดตัวถึง 6.8% YoY

                มูลค่าการส่งออกทองคำแท่งเพิ่มขึ้น 1,103% YoY เป็น 2.493 พันล้านดอลลาร์ฯ เนื่องจากราคาทองขยับเพิ่มขึ้นจาก 1,588 ดอลลาร์ฯ เมื่อต้นเดือนเป็น 1,750 ดอลลาร์ฯ ในกลางเดือนเมษายน คาดว่ามูลค่าการส่งออกทองคำแท่งจะเพิ่มขึ้นอีกในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากราคาทองยังคงขยับขึ้นต่ออีกจาก 1,680 ดอลลาร์ฯ ช่วงต้นเดือน เป็น 1,750ดอลลาร์ฯ ในช่วงครึ่งหลังของเดือน

                ทางด้านการนำเข้า สินค้ากลุ่มหลักยังคงลดลงอย่างมากทุกกลุ่ม มูลค่าการนำเข้าเชื้อเพลิง สินค้าทุน วัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง การบริโภค และยานยนต์ ลดลง 26.8% YoY, 14.4% YoY, 13.2% YoY, 21.4% YoY และ 21.1% YoY ซึ่งหมายความว่ายอดการผลิตเพื่อส่งออกของไทยในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนจะลดลงอย่างมาก ดังนั้น มูลค่าการส่งออก (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนอาจจะลดลงในอัตราใกล้เคียงกับมูลค่าการส่งออก (ไม่รวมทองคำ) ในเดือนเมษายน

Bank Sector

งบดุลเดือนเมษายน 2563: ดูดีกว่าเดือนที่แล้ว

Event

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจจากงบดุลธนาคารเดือนเมษายน 2563

lmpact

อุปสงค์สินเชื่อฟื้นตัวขึ้น

เนื่องจากตลาดพันธบัตร ผันผวนในเดือนมีนาคม 2563 และมีแรงเทขายหุ้นกู้ภาคเอกชนออกมาอย่างหนัก ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ไม่สามารถ re-finance หุ้นกู้ได้เหมือนในภาวะปกติ ดังนั้นจึงทำให้อุปสงค์สินเชื่อเร่งตัวขึ้นในเดือนเมษายน 2563 โดยสินเชื่อขยายตัว 2% MoM, +3.5% YTD และ +4.2% YoY โดยสินเชื่อของ KTB เพิ่มขึ้นสูงที่สุดที่ +6% MoM และ +8% YTD ซึ่งเราคิดว่าอาจจะสะท้อนถึงอุปสงค์สินเชื่อจากรัฐวิสาหกิจและภาครัฐในช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกติเนื่องจากมีการใช้มาตรการ lockdown และเป็นช่วงที่สถานการณ์โรคระบาดหนักสุดในเดือนเมษายน 2563 ทั้งนี้ สินเชื่อของ SCB ขยายตัว 2% MoM ในขณะที่สินเชื่อของ KBANK และ BBL ขยายตัว 1% MoM เท่ากัน แต่อย่างไรก็ตาม สินเชื่อของ TMB หดตัว 2% MoM และ -1% YTD ในขณะที่ของ TISCO หดตัว 2% MoM และ -4% YTD

เงินฝากโตมากกว่าสินเชื่อ

เนื่องจากมีการไถ่ถอนกองทุนตราสารหนี้ และรับทราบถึงความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง   นักลงทุนจึงนำสภาพคล่องมาใส่ในบัญชีเงินฝากธนาคาร ส่งผลให้ฐานเงินฝากพุ่งสูงขึ้นอย่างมากต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง (มีนาคม-เมษายน) และเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าอัตราการขยายตัวของสินเชื่อ โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ฐานเงินฝากของ BBL เพิ่มขึ้น 3% MoM และ10% YTD ในขณะที่ของ KBANK เพิ่มขึ้น 2% MoM และ +9% YTD ส่วนของ KTB เพิ่มขึ้น 1% MoM และ +10% YTD แต่อย่างไรก็ตาม ฐานเงินฝากที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของ TMB ก็สะท้อนถึงนโยบายของธนาคารที่จะเพิ่มเงินฝากเพื่อมาทดแทนเงินฝากของ Tbank

KBANK และ BBL เพิ่มสถานะการลงทุน

ในภาวะที่ตลาดพันธบัตรผันผวน และมีการไถ่ถอนพันธบัตรจำนวนมาก BBL และ KBANK ได้เพิ่มสถานการลงทุนในตราสารหนี้ ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ลดสถานะการลงทุนลง โดยเฉพาะ KTB ที่ -16% MoM และ -23% YTD กับ SCB ที่ -5% MoM และ -31% YTD

BBL พลิกจากที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนก้อนใหญ่มาเป็นกำไร

เนื่องจากตลาดทุนวิ่งขึ้นมาแรง ดังนั้น สถานะการลงทุนของ BBL จึงพลิกจากที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนก้อนใหญ่มาเป็นกำไรประมาณ 2 พันล้านบาทในเดือนเมษายน ในขณะที่ KBANK มีกำไรจากการลงทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เรามองว่าสถานการณ์ลงทุนที่พลิกมาเป็นกำไรจะช่วยลดแรงกดดันเกี่ยวกับสถานะเงินทุนของ BBL ลง

Risks

NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้น >40% หุ้นกู้ภาคเอกชน default และเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง GDP ->0.5.

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!