หมวดหมู่: บทวิเคราะห์

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 15-7-2020ASP


MARKET TALK

กลยุทธ์การลงทุน

แม้เห็นตรงกันว่า 2Q63 จะเป็นจุดต่ำสุดของเศรษฐกิจ แต่หลังจากนั้นยังเห็นต่าง ในมุมของ ธปท. ต้องสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะแก่การฟื้นตัว ทั้งในเรื่องดอกเบี้ยที่ยังต้องอยู่ต่ำไปอีกนาน รวมถึงมาตรการเสริมอื่นๆ พอร์ตจำลองได้ Stop profit / Cut Loss หุ้น SEAFCO และ BBL จัดสรรเงินเข้า CPF, SPVI และ INTUCH พร้อมเลือกเป็น Top Pick

ดอกเบี้ยคงไม่ลงไปที่ 0% แต่ยังอยู่ในฐานที่ต่ำไปอีกนาน

การมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีความเชื่อประการหนึ่งที่เห็นตรงกัน คือเห็นว่า 2Q63 จะเป็นจุดที่ตกต่ำสุดของเศรษฐกิจ แต่มุมมองหลังจากนั้นยังมีความแตกต่าง ทั้งนี้ในส่วนของผู้กำหนดนโยบายอย่าง ธปท.ยังต้องเดินหน้าเร่งออกมาตรการเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นตัวมากที่สุด โดยในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่อง แต่ไม่น่าจะถึงขั้นที่ดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% ขณะเดียวกันก็ต้องมีมาตรการเสริมเพื่อช่วยลูกหนี้สถาบันการเงินให้สามารถผ่านช่วงที่ยากลำบากไปให้ได้ โดยอาจมีการปรับลดเงินนำส่งกองทุนฟื้นฟูลงอีกรอบหนึ่ง เพื่อเปิดทางให้สถาบันการเงินสามารถอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับลูกค้าได้เพิ่มขึ้น สำหรับสถานการณ์ Covid-19 ภาพรวมทั่วโลกยังถือว่าน่าเป็นห่วง แต่ขณะเดียวกันก็มีข่าวพัฒนาการเชิงบวกเรื่อง วัคซีนออกมาต่อเนื่องช่วยกระตุ้น Sentiment การลงทุนในตลาดหุ้น ซึ่งในวันนี้ก็น่าจะเห็นการดีดตัวกลับของ SET Index จากข่าวนี้เช่นกัน พอร์ตจำลองวานนี้ได้ Stop Profit และ Cut Loss หุ้น SEAFCO และ BBL ได้เงินสดกลับมา 20% แนะนำให้จัดสรรเงินเข้า CPF 10%, SPVI 5% และ INTUCH 5% พร้อมเลือกทั้ง 3 บริษัทเป็น Top Pick

คาด SET Index ดีดตัวขึ้นตามกระแสตลาดหุ้นต่างประเทศ

ตลอดสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นทั่วโลกเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันโดยแกว่งตัวผันผวนสูง   คือ ต้นอาทิตย์ปรับฐานแรงจากความกังวล ประเด็น Covid-19 2ND wave ที่ยังเพิ่มขึ้นหลายประเทศคือฯลฯ   แต่เมื่อวานนี้ตลาดหุ้นพลิกกลับมาบวกแรงอีกครั้ง อาทิ Dow jones+2.1%, S&P500 และ Nasdaq +1.3% ทั้งพัฒนาการ Vaccine, นางลาเอล เบรนาร์ด ประธาน Fed สนับสนุนให้ Fed ซื้อสินทรัพย์มากขึ้น ฯลฯ ทั้งนี้หากดูตลาดหุ้นสหรัฐเมื่อวานนี้หุ้นกลุ่มที่ปรับขึ้น หลักๆ คือ

กลุ่มพลังงาน ปรับขึ้นมากสุด โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ยังทรงตัวยืนเหนือ 40 เหรียญฯ วันนี้ ASPS ให้น้ำหนัก ผลสรุปการประชุม OPEC+ เวลาราว 1-2 ทุ่ม ตามเวลาไทย (รัสเซียและซาอุฯ) จะตัดสินว่าจะขยายระยะเวลาการตัดลดการผลิต 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งจะสิ้นสุด เดือน ก.ค.2563 หรือไม่ หากไม่ต่อตามข้อตกลงเดิม คือ เดือน ส.ค.-ธ.ค.63 OPEC+ จะตัดลดการผลิตลดลงเหลือ 7.7 ล้านบาร์เรล/วัน : จะส่งผลให้ Supply น้ำมันเข้ามาในระบบ 2 ล้านบาร์เรล/วัน หรือเพิ่มขึ้นราว 2%ของ Supply ทั่วโลก คาดเป็น Sentiment เชิงลบต่อราคาน้ำมันและหุ้นพลังงาน ในทางตรงกันข้ามหากต่อ จะบวกต่อราคาน้ำมัน PTTEP(FV@B>100) PTT (FV@B>42) , กลุ่มTech อาทิ Apple + 1.6%, Microsoft +0.6% กลุ่ม Bank สหรัฐเริ่มทยอยรายงานงบในวันนี้ JPMorgan, Citigroup, Well Fargo   ส่วนธนาคารพาณิชย์ไทย จะเริ่มรายงานงบวันศุกร์นี้ และจันทร์ 20 ก.ค.อ่านรายละเอียดแนวโน้มใน Paragraph ถัดไป

โดยรวมสรุป ASPS คาดว่าวันนี้ SET Index มีโอกาสดีดตัวขึ้นตามกระแสตลาดหุ้นต่างประเทศเช่นกัน โดยประเด็นที่ต้องติดตาม คือ ผลสรุปการประชุม OPEC+ การประกาศตัวเลข GDP Growth ของจีน งวด 2Q63 Consensus คาดจะพลิกกลับมาขยายตัว 2.5%yoyจาก งวด 1Q63 ที่ 6.8%yoy และสถานาการณ์ Covid-19 ในไทย หลังรัฐบาลเริ่มเข้มงวดการให้ต่างชาติ เข้าประเทศมากขึ้น

คงน้ำหนักน้อยกว่าตลาด สำหรับกลุ่ม ธ.พ.

ธปท. ส่งสัญญาณไม่ต่อมาตรการพักชำระหนี้สำหรับลูกค้า SME ซึ่งจะสิ้นสุดลง 30 ก.ย. 63 หลังลูกหนี้บางส่วนสามารถกลับมาชำระหนี้ รวมถึงช่วงที่ผ่านมา ธปท. ให้ ธ.พ. เร่งปรับโครงสร้างหนี้ ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ หลังเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว เพื่อลดปัญหา NPL ในอนาคต โดยปัจจุบันมีลูกหนี้เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ (loan payment holiday) ทั้งสิ้นราว 6.8 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น ลูกหนี้รายย่อย 3.77 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 56%) ตามด้วย SME ประมาณ 2.21 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 20%) และลูกหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ ราว 0.77 ล้านล้านบาท (สัดส่วน 11%)

หากพิจารณาเฉพาะสัดส่วนลูกหนี้ SME ราว 2.21 ล้านล้านบาท ที่เดิมก่อน COVID-19 เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงก่อนหน้านี้ ทำให้ช่วงหลังหมดมาตรการพักชำระหนี้ คาดมีบางส่วนยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ แม้มีการปรับโครงสร้างหนี้แล้ว โดยทุกๆ 10% ของลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ ไหลตกชั้นเป็น NPL บนสมมติฐานค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ECL) ที่ 50% จะส่งผลให้กลุ่มฯ มีค่าใช้จ่าย ECL สำหรับลูกหนี้ SME ที่เข้าร่วมมาตรการ ประมาณ 1 แสนล้านบาท เทียบกับสมมติฐาน ECL กลุ่มฯ ในปี 2563 ราว 1.6 แสนล้านบาท และคาดสัดส่วน NPL กลุ่มฯ นับเฉพาะผลจากลูกหนี้ SME ที่เข้าร่วมมาตรการอยู่ที่ 4.7% เทียบกับ 3.4% ณ สิ้นงวด 1Q63 (ทุก 10% ที่เป็น NPL ภายใต้ฐานสินเชื่อคงเดิม จะทำให้สัดส่วน NPL เพิ่มราว 1.5%) ทั้งนี้ เนื่องจากแต่ละธนาคารยังไม่มีการเปิดเผยจำนวนมูลหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการ ซึ่งจะได้ความชัดเจนมากขึ้น หลังประชุมนักวิเคราะห์ ภายในสัปดาห์หน้า    

นอกจากนี้ ธปท. มีแผนพิจารณาการลด (เลื่อน) เงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟู (FIDF) จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 0.23% ของฐานเงินฝาก (จนถึงสิ้นปี 2564 ก่อนจะกลับสู่อัตราปกติที่ 0.46% ของฐานเงินฝากในปี 2565) ฝ่ายวิจัยประเมินหากเกิดขึ้นจริง เชื่อว่า ธ.พ. ต้องมีการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงตาม เหมือนที่เคยเกิดขึ้นช่วง เม.ย. 63 (ธ.พ. ปรับลดอัตราดอกเบี้ย M- Rate ลง 40 bps) จึงไม่ได้มองเป็นบวกต่อรายได้มากนัก อย่างไรก็ดีปัจจัยดังกล่าวช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้ ซึ่งจะช่วยเรื่องคุณภาพสินทรัพย์ของกลุ่มฯ ในทางอ้อม                    

คงน้ำหนัก น้อยกว่าตลาด แนะนำติดตามงบ 2Q63 ที่จะเริ่มประกาศตั้งแต่ 17 ก.ค. 63 (TISCO) และอีก 9 ธนาคาร ในวันที่ 20 (KBANK, TMB) – 21 ก.ค. 63   โดยให้น้ำหนักไปที่ ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมถึงมูลหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ สำหรับกลุ่มฯ ยังชอบ BBL(FV@B>154) จากฐานสินเชื่อรายใหญ่กว่า 41% ของพอร์ต น่าจะรับแรงปะทะจากสภาวะเศรษฐกิจได้มากกว่าลูกหนี้ SME และ บุคคล

ดอกเบี้ยยังอยู่ในโซนต่ำ ไปอีกนาน กระตุ้นให้นักลงทุน Search for yield

ฝ่ายวิจัย ASPS เข้าร่วมประชุมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า มีประเด็นสำคัญต่อทิศทางการลงทุน 2 ประเด็น คือ

ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย : เน้นย้ำว่ายังไม่ได้ปิดโอกาสสำหรับการลดอัตราดอกเบี้ยอีกในอนาคต โดยระบุว่าพร้อมใช้เครื่องมือต่างๆอย่างเหมาะสม หลักๆ ศึกษา 1.) Yield Curve Control ประเทศที่มีการใช้ปัจจุบันคือ ญี่ปุ่น และ Fed กำลังศึกษา 2.) การปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ลงอีกจากปัจจุบัน 0.23% (ธปท. ปีนี้ปรับลด FIDF ลงจาก 0.46%)   สอดคล้องกับ ASPS ที่คาดดอกเบี้ยนโยบายยังมีโอกาสปรับลงได้อีก 1 ครั้ง ราว 0.25% ลงเหลือ 0.25% ในการประชุมที่เหลืออีก 4 ครั้งของปี 2563 เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Net Interest Rate) ของไทยยังอยู่สูงที่ 2.07% (คำนวณจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน 0.5% ลบด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ -1.57%) และ ธปท. น่าจะเก็บโอกาสลดดอกเบี้ยไว้สำหรับกรณีจำเป็น และที่สำคัญคือ ธปท. ยอมรับว่าเป็นไปได้ยากที่อัตราดอกเบี้ยจะลดลงจนเหลือ 0%

มาตรการพักชำระหนี้ เผยว่า จะไม่ต่ออายุมาตรการพักชำระหนี้ ในส่วนของ smes ที่จะครบกำหนด ต.ค.63 (ไม่เกี่ยวกับการมาตรการพักชำระหนี้ บุคคล) อ่านรายละเอียดใน Paragragh ถัดไป

ฝ่ายวิจัยคาดว่า กนง. มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีก 1 ครั้งในช่วงที่เหลือของปี เหลือ 0.25% และน่าจะคงไว้อีกระยะหนึ่ง ถือว่าส่งผลดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจากนักลงทุนมีโอกาส Search For Yield หรือโยกย้ายเงินมาลงทุนในตลาดหุ้นเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ล่าสุดตลาดหุ้นไทยมี Market Earning Yield Gap. อยู่ที่ระดับ 4.27% ภายใต้ EPS63F ที่ 64 บาท/หุ้น และ Bond Yield 1 ปี ที่ระดับเดียวกับอัตตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% ตามกลไกหากมีการลดดอกเบี้ยลงอีก 1 ครั้ง หรือ 0.25% จะส่งผลให้ Market Earning Yield Gap. กว้างขึ้นเป็น 4.52% สูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 4.25% และสูงในระดับ Percentile ที่ 77 ซึ่งถือเป็นระดับที่จูงให้นักลงทุนย้ายเม็ดเงินจากตลาดตราสารหนี้มาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น

อย่างไรก็ตามระดับ Market Earning Yield Gap. ดังกล่าวยังมีความเสี่ยงที่จะลดลงอีกหากมีการปรับประมาณการกำไรลงในช่วงที่เหลือของปี ดังนั้นการจัดพอร์ตจำเป็นต้องพิถีพิถันในการเลือกหุ้น แนะนำผสมผสานระหว่างหุ้นปันผลสูงเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 4- 5% ต่อปี ชอบ INTUCH, SCCC, DCC กับหุ้นเติบโตเด่นช่วง 2H63 ชอบ STA, STGT, SPVI และ CPF

ส่วน Toppick ในวันนี้เลือก INTUCH, SPVI และ CP มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

SPVI(FV @ 3.06) ราคาหุ้นปรับตัวลงมา 12% ช่วง 4 วันทำการ น่าจะสะท้อนประเด็นความกังวล Lockdown ห้างใน จ.ระยอง โดยปัจจุบัน SPVI มีสาขาในระยอง รวม 5 แห่ง จากทั้งหมด 48 แห่ง ไปมากแล้ว แต่สถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่มีการ Lockdown และประเมินว่าน่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย และกรณีเลวร้ายจริงๆ หากมีการปิดสาขาในจังหวัดระยอง เชื่อว่าไม่เกิน 1 เดือน ซึ่งทุกๆ 1 เดือน คาดว่าจะกระทบรายได้ปี 2563 ราว 1% และกำไรราว 4% ทำให้ภาพรวมความเสี่ยงต่อประมาณการยังจำกัดมาก อีกทั้งยังไม่รวมผลชดเชยจากอานิสงส์ที่ SPVI มีโอกาสได้จากกระแส WFH, LFH ในสาขาอื่นๆ ที่เหลืออีก 43 แห่ง โดยรวมฝ่ายวิจัยจึงยังคงประมาณการกำไรปีนี้ คาดว่าช่วง 2H63 เติบโต QoQ แล ในปี 2564 คาดเติบโตถึง 30.7% ขณะที่ราคาปัจจุบันยังน่าสนใจ และ Undervalue กลุ่มฯ สะท้อนจาก PER’63 ที่เพียง 15.8 เท่า เทียบกลุ่ม (JMART, COM7) ที่เฉลี่ย 30.4 เท่า จึงยังมองเป็นโอกาสเข้าซื้อสะสม

CPF(FV @ 40.00) ฝ่ายวิจัยเห็นสัญญาณบวกจากราคาสุกรและไก่ไทยที่ฟื้นตัวชัดเจน จนราคาสุกรหน้าฟาร์มล่าสุดอยู่ที่ 78 บาท/กก. ปรับเพิ่มขึ้นถึง 39% ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา และราคาไก่เป็นล่าสุดอยู่ที่ 35 บาท/กก. ปรับเพิ่มขึ้นถึง 25% ในช่วงเวลาเดียวกัน จากกำลังการบริโภคเนื้อสัตว์ในประเทศดีขึ้น หลังการเปิดเมือง และปัญหาสุกรขาดแคลนในภูมิภาคเอเชีย ทำให้ผู้เลี้ยงสุกรไทยมีการขายสุกรตามชายแดนไทย-กัมพูชาถึง 3 พันตัว/วัน หรือราว 5% ของผลผลิตสุกร/วันของไทย ขณะที่ราคาสุกรในเวียดนามยังยืนสูงต่อเนื่องที่ระดับ 8.5 หมื่นดอง/กก. (120 บาท/กก.) ส่งผลบวกโดยตรงต่อ CPF ที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจสุกรในเวียดนามราว 8% ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ยังทรงตัวต่ำ ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลือง หนุนแนวโน้มกำไรสุทธิงวด 3Q63 ฟื้นตัวชัดเจน ทั้ง QoQ และ YoY

ทั้งนี้ คาดกำไรสุทธิปี 2563-64 จะเพิ่มขึ้น 16.8% yoy และ 4.7% yoy จากธุรกิจสุกรในไทยและเวียดนามเติบโตชัดเจน โดยคาดกำไรสุทธิงวด 2Q63 จะเพิ่มขึ้น 2.8% qoq และ 53.0% yoy แม้คาดกำไรปกติงวด 2Q63 จะลดลง 33.6% qoq (แต่เพิ่มขึ้น 5.7% yoy) จากราคาสุกรและไก่ไทยปรับลดลง ผลกระทบจากการปิดเมืองในช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. 63 แต่ตลาดได้รับรู้ประเด็นดังกล่าวไปแล้ว ขณะที่สัญญาณบวกจากธุรกิจหลักในงวด 2H63 จะฟื้นตัวชัดเจน จึงแนะนำซื้อ CPF กำหนด Fair value ปี 2563 เท่ากับ 40 บาท  

INTUCH(FV @ 70.00) หนึ่งในหุ้น Defensive ที่ได้แรงหนุนจากที่ ธปท.ขอให้ธนาคารพาณิชย์งดการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ซึ่งปันผลถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของกลุ่มธ.พ. ดังนั้น คาดเห็นเม็ดเงินโยกย้ายมาสู่หุ้นปันผลสูงอย่าง INTUCH มากขึ้น อีกทั้งภาพระยะยาวที่ยังดูมั่นคงตามบริษัทลูกอย่าง ADVANC (ถือหุ้น 40.45%) เกี่ยวกับคลื่น 5G ในอนาคต และได้ประโยชน์จากธุรกิจของ THCOM ที่แนวโน้มการเปลี่ยนธุรกิจดาวเทียมจากสัมปทาน มาอยู่บนระบบใบอนุญาตยาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งดีต่อ THCOM ในระยะยาว หากพิจาณาทางด้าน Valuation ถือว่าเด่น โดยคาดหวัง Dividend Yield เกือบ 4%ต่อปี และมีค่า PER 20F เพียง 17 เท่า ขณะที่ค่าเฉลี่ยกลุ่มสูงถึง 23 เท่า

RESEARCH DIVISION

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!