หมวดหมู่: บทวิเคราะห์

บล.เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ : บทวิเคราะห์ตลาดหุ้นรายวัน 9-7-2020ASP


MARKET TALK

กลยุทธ์การลงทุน

ความกังวลถึงโอกาสที่จะทำ Lockdown รอบที่ 2 ในหลายพื้นที่ รวมถึงการปรับลดประมาณการกำไรบริษัทจดทะเบียนอีกครั้งซึ่งถือเป็นรอบที่ 5 ของปี 2563 น่าจะสร้างแรงกดดันให้ SET มีโอกาสปรับฐาน วันนี้แนะนำปรับพอร์ต โดยการเพิ่ม STGT เข้ามา 10% ลด CPALL และ BTSGIF ลงอย่างละ 5% ส่วน Top Pick เลือก DCC และ STGT

Lockdown รอบ 2 กับการปรับลดประมาณการกำไรรอบที่ 5

จำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 ทั่วโลกที่ปรับตัวขึ้นมาสูงกว่า 2 แสนราย/วัน สร้างความกังวลว่าจะนำมาซึ่งการทำ lockdown รอบ 2 ในหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ สำหรับผลประกอบการ 2Q63 ของบริษัทจดทะเบียน ฝ่ายวิจัยประเมินว่าน่าจะเห็นการหดตัว YoY แต่ก็มีโอกาสทรงตัวที่บริเวณ 1 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับงวด 1Q63 ที่ผ่านมา ซึ่งสภาวะการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการที่จะปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2563 ลงมาอีกครั้ง ในอัตราที่มากกว่า 10% จากฐานเดิมที่คาดว่าจะมีกำไร 6.8 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 5 นับจากต้นปี 2563 ที่ผ่านมา ภาพดังการปรับลดประมาณการดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ามุมมองเรื่องการหดตัวของกำไรอันเนื่องมาจากผลกระทบจาก Covid-19 และเศรษฐกิจ อยู่ในระดับที่สูงว่าที่นักวิเคราะห์คาดหมายไว้ อย่างไรก็ตามยังมีบริษัทจดทะเบียนบางแห่งที่มีผลประกอบการ 2Q63 เติบโตสวนตลาดเช่น STA, STGT, DCC, TASCO, AP รวมถึงกลุ่มโรงกลั่น-ปิโตรเคมี วันนี้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการ และ Fair Value ของ STGT ขึ้น และนำเข้าพอร์ตด้วยน้ำหนัก 10% (มาจากการปรับลด CPALL และ BTSGIF ลงอย่างละ 5%) Top Pick เลือก DCC, STGT

หลายประเทศทั่วโลกที่กลับมา Lockdown ประเทศและบางเมืองอีกครั้ง

ที่มา: ASPS รวบรวมจนถึง 8 ก.ค. 2563

การกลับมาทำ Lockdown ในหลายพื้นที่ สร้างความกังวลต่อ เศรษฐกิจ และ ตลาดหุ้น

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากล่าสุด จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ทั่วโลก ล่าสุด เพิ่มขึ้นอีก 207,769 ราย ซึ่งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ย 7 วันย้อนหลังที่วันละ 1.97 แสนราย สะท้อนจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และบางประเทศเกิดการระบาดรอบที่ 2 (2nd wave) โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากสหรัฐ, บราซิล, อินเดีย, รัสเซีย, เปรู เป็นต้น (ดังรูป)

ความกังวลไวรัส COVID-19 ข้างต้น และ 2nd wave ข้างต้น ส่งผลให้หลายประเทศดำเนินการปิดประเทศ (Lockdown) ประเทศอีกครั้ง อาทิ เซอเบีย, คาซัคสถาน และหลายประเทศอาจจะเลือกปิดแค่บางเมืองหรือบางรัฐ อาทิ อังกฤษ สเปน ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ เตรียมจะ Lockdown ฯลฯ เพื่อจำกัดการระบาด (ดังตาราง) ซึ่งกระทบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ASPS ประเมินว่าการกลับมา Lockdown จะสร้างแรงกดดันต่อตลาดหุ้นโลกมากกว่าประเด็นจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นสูง เนื่องจากการ Lockdown กระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลให้ประมาณการ GDP โลกของ IMF ที่คาด GDP จะหดตัว -4.9%yoy มี Downside เพิ่มเติม เนื่องจากยังไม่ได้รวมผลกระทบของการกลับมา Lockdown ซึ่งอาจจะกลับมากดดัน

ต่างประเทศในวันนี้ ให้น้ำหนักการหาเสียงเลือกตั้งของนาย Joe Biden ผู้สมัครท้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนสำคัญจากพรรค Democratic โดยให้น้ำหนักไปที่นโยบายเศรษฐกิจ เนื่อจาก Biden มีมุมมองที่ต่างจากทรัมป์ในหลายด้าน เช่น เน้นพัฒนาประกันสุขภาพแก่ประชาขชน (คาดคล้าย Obama Care), สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และรถยนต์ไฟฟ้า, เน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น

รัฐบาล เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งโครงสร้างพื้นฐาน กระตุ้นฐานราก

เศรษฐกิจไทยปี 2563 ได้รับผลกระทบ Covid-19 ASPS ประเมิน GDP Growth 2563 จะพลิกกลับมาหดตัว 8.4%yoy (ประมาณการณ์รวมครอบคลุมประเด็นลบไว้ระดับนึง อาทิ ส่งออกคาด -13.7%, ลงทุนเอกชน -10% การบริโภคคาด -3.5%ฯลฯ) และปี 2564 คาด GDP จะขยายตัว 4.1%

อย่างไรก็ตามประเมินว่าตลาดหุ้นไทยงวด 3Q63   ยังต้องเผชิญกับความจริง คือ ตัวเลขเศรษฐกิจงวด 2Q63 จะออกมาหดตัวแรงมาก/น้อยเพียงใด?? โดยสภาพัฒน์จะรายงานวันที่ 17 ส.ค.2563   ASPS คาด GDP 2Q63 จะหดตัว 15%yoy และเป็นไตรมาสที่เป็นจุดต่ำสุดของปี แต่หากออกมาหดตัวมากกว่าคาด เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น     ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้สูง เนื่องจาก ตัวแปรสำคัญคือ การบริโภคครัวเรือน (48% GDP ) จะหดตัวแรงมาก ผลจากการ Lockdown เม.ย.-พ.ค. ) สะท้อนผ่านผู้ว่างงานในระบบเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะบริการ และภาคท่องเที่ยว ผลจากการปิดน่านฟ้า ห้ามนักท่องเที่ยวต่างชิต เข้าไทยตั้งแต่ เม.ย.- มิ.ย. (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ล่าสุด ประเมินรายได้ท่องเที่ยวทั้งปี 2563 ลดลงแรง 79%yoy เหลือเพียง 3.96 แสนล้านบาท จากปี 2562 ที่สูงถึง 1.9 ล้านล้านบาท) หรือลงทุนเอกชน ชะลอลงชัดเจน สะท้อนผ่านยอดขอ BOI 5M2563 หดตัว 10%yoy

สอดคล้องกับเมื่อวานนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยเผยรายงานการประชุม กนง. ที่ประชุมในรอบ 24 มิ.ย.2563 หลังจากได้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% และปรับลด GDP ปี 2563 เป็นหดตัว 8.1%จาก หดตัว 5.3% โดยใจความสำคัญคือ 1.) ความกังวลบริษัทเอกชนมีแนวโน้มเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ และกระแสการทยอยถูกปรับลด Credit Rating ในอนาคต 2.) กนง. กังวล Oversupply ส่วนเกินของภาคการผลิตแต่ละอุตสาหกรรมในประเทศ แนะนำรัฐเร่งออกมาตรการรองรับ และออกมาตรการกระตุ้นโครงสร้างพื้นฐาน (CK, STEC, SEAFGO) และ โครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับระบบ Gigital ( INSET)

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยที่ชะลอ โดยตลอดไตรมาส 3Q63 ASPS หวังพึ่งจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยเฉพาะการบริโภคผ่าน พรก. 1 ล้านล้านบาท (ดังตาราง) ซึ่งมีการเบิกจ่ายไปราว 12.3%ของวงเงินทั้งหมด

จากที่ ASPS รวบรวมข้อมูล จะเห็นได้ว่ามาตรการของรัฐบาลยังทยอยออกมาต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อวานนี้

  • •   งบฟื้นฟูเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท (ในตาราง) ล่าสุด ครม.อนุมัติมาตรากรวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เน้นไปที่เศรษฐกิจฐานราก และการกระตุ้นการบริโภค อาทิ โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มทฤษฎีใหม่ 9,805 ล้านบาท,

โครงการพัฒนาพื้นที่ โคก หนอง นา โมเดล 4,787 ล้านบาท, โครงการพัฒนาธุรกิจรดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน 169 ล้านบาท, โครงการพื้นที่ท่องเที่ยวปลอดภัย 15 ล้านบาท เป็นต้น

   งบเยียวยาประชน วงเงิน 5.5 แสนล้านบาท มีโครงการที่เบิกจ่ายไปแล้วก่อนหน้า คือ มาตรการ จ่ายเงิน 5,000 บาท แก่ประชาชน (เราไม่ทิ้งกัน), เยียวยาเกษตรกร และกลุ่มเปราะบาง, เพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการ เป็นต้น

โดยรวมเชื่อว่าเม็ดเงินต่างๆน่าจะเร่งทยอยออกมาในช่วง เดือน ก.ค.-ก.ย. และเป็นปัจจัยหนุนการบริโภคต่อไป

ยังคงมุมมองระมัดระวังต่อ AAV และยังให้ Switch

วานนี้ราคาหุ้น Air Asia Berhad ผู้ถือหุ้นร่วมกับ AAV ในสายการบินไทย แอร์ เอเชีย (AAV ถือหุ้น 55% และ Air Asia Berhad ถือหุ้น 45%) ปรับตัวลดลงอย่างมีนัยฯราว 10% เหตุหลักมาจากผู้ตรวจสอบบัญชี (EY) ระบุในรายงานผู้สอบบัญชีในส่วน เหตุการณ์ที่เน้นโดยตั้งข้อสังเกตถึงผลประกอบการและฐานะการเงิน และเหตุการณ์ COVID-19 ที่อาจกระทบอย่างมีนัยฯ โดยสรุปมี 2 ส่วน คือ

1)   มูลค่าหนี้สินหมุนเวียนสิ้นปี 2562 ที่สูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนราว 430 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยยังไม่รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหา COVID-19 ในปี 2563 ซึ่งคาดว่าปัญหาดังกล่าวยังน่าจะบริหารจัดการได้ดังเช่นหลายสายการบินมีการใช้นโยบายรักษาสภาพคล่อง เช่น การขอยืดจ่ายหนี้สินและลดค่าใช้จ่ายต่างๆ นอกจากนี้ ปัจจุบันสถานการณ์ท่องเที่ยวยังเริ่มฟื้นตัวเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม

2)   อีกส่วนที่ EY ตั้งข้อสังเกต คือ ผลขาดทุนในปี 2562 ที่ 283 ล้านริงกิต โดยยังไม่รวมถึงผลกระทบ COVID-19 ซึ่งจากการตรวจสอบงบการเงินของฝ่ายวิจัยเพิ่มเติม เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่คาดว่าอาจจะต้องบริหารจัดการ คือ ฐานทุนที่สิ้นปี 2562 คงเหลือ 2.9 พันล้านริงกิต ที่อาจจะไม่เพียงพอรองรับผลขาดทุนช่วง Lockdown 1H63

ประเด็นข้างต้น แม้ EY ระบุในงบการเงินงวด 1Q63 ของ AAV เช่นกัน แต่ในส่วนของ AAV ฝ่ายวิจัยกังวลน้อยกว่า Air Asia Berhad โดยเฉพาะในเรื่องฐานทุน AAV ยังมีเหลือราว 2.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่ายังพอรองรับขาดทุนช่วงวิกฤติได้ อย่างไรก็ตาม ปัญหาในส่วน Air Asia Berhad น่าจะสะท้อนภาพรวมความมั่นคงกลุ่มที่ลดลง และยังต้องติดตามแนวทางการบริหารปัญหาต่างๆ อีกระยะ โดยรวมเชื่อว่าเป็นลบและอาจเป็นความเสี่ยงเพิ่มเติมต่อ AAV เนื่องจากการที่บริษัทลูกแห่งเดียว คือ สายการบินไทย แอร์เอเชีย ปัจจุบันใช้ประโยชน์จากการที่อยู่ในเครือของ Air Asia Berhad โดยเฉพาะการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน เพื่อบริหารต้นทุน ซึ่งเป็นจุดเด่นหลักที่ใช้ในการแข่งขันในปัจจุบัน ประกอบกับ ราคาหุ้นที่ตอบรับความคาดหวังเชิงบวกต่อโอกาสฟื้นตัวระยะถัดไปจนเกินมูลค่าพื้นฐานไปแล้ว ยังคงแนะนำ Switch

Demand ถุงมือยางพุ่ง...ท่ามกลางการระบาดของ COVID-19

การประชุมนักวิเคราะห์ STGT วานนี้ เป็นไปในเชิงบวก จากความต้องการใช้ถุงมือยางที่เติบโตมาก จากการระบาดของ COVID-19 จนปัจจุบัน STGT มีคำสั่งซื้อถุงมือยางเต็มจนถึงงวด 3Q64 แล้ว ทำให้ STGT และผู้ประกอบการถุงมือยางในมาเลเซียล้วนปรับเพิ่มราคาขายถุงมือยางขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยถึง 5-10% ต่อเดือน จากงวด 1Q63 ขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบน้ำยางข้นยังทรงตัวต่ำ ทำให้ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2563-64 ขึ้น 42.3% และ 42.1% จากเดิม สะท้อนการปรับราคาขายถุงมือยางเฉลี่ยปี 2563-64 ขึ้น 10.3% จากเดิม โดยภายหลังปรับเพิ่มประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2563-64 จะเพิ่มขึ้นถึง 558.8% yoy และ 7.4% yoy จากแนวโน้มปริมาณขายถุงมือยางปี 2563-64 เพิ่มขึ้นถึง 40.8% yoy และ 7.1% yoy ขณะที่คาดราคาขายถุงมือยางเฉลี่ยปี 2563 จะเพิ่มขึ้นถึง 26.3% yoy และทรงตัวสูงต่อเนื่องในปี 2564 นอกจากนี้ ยังคาดกำไรสุทธิงวด 2Q63 จะเติบโตชัดเจนทั้ง QoQ และ YoY จากการปรับเพิ่มราคาขายถุงมือยาง และแนวโน้มปริมาณขายถุงมือยางเพิ่มขึ้นจากงวด 1Q63

แนะนำซื้อ ประเมิน Fair Value ปี 2563 ของ STGT ใหม่เท่ากับ 90 บาท (เดิม 45 บาท) อิงวิธี DCF (WACC 6.8%) ราคาหุ้นปัจจุบันมี Valuation ที่น่าสนใจมาก มีค่า PER ปี 2563 ที่ 23 เท่า และ PBV ปี 2563 ที่ 5 เท่า ซึ่งมี Valuation น่าสนใจกว่าหุ้นที่ผลิตถุงมือยางในมาเลเซียมาก ที่ปัจจุบันซื้อขายที่ค่า PER เฉลี่ยราว 35 เท่า ทั้งที่ ผู้ประกอบการถุงมือยางจากมาเลเซียส่วนใหญ่ใช้ EPS กลางปี 2564 มาคำนวณ PER (เพราะปิดปีบัญชีกลางปี 2564) ซึ่งได้ผลบวกจากการปรับเพิ่มราคาขายเต็มปี แต่ก็ยังซื้อขายที่ค่า PER สูงกว่า STGT มาก

แนะลงทุนหุ้นกำไร 2Q63 โตเด่นสวนตลาด DCC, STGT

หนึ่งความเสี่ยงหลักที่ตลาดหุ้นจะต้องเผชิญในช่วงต่อจากนี้ คือ การปรับประมาณการไรบริษัทจดทะเบียนลง สะท้อนได้จาก 2 ส่วน ดังนี้

  1. ทาง Consensus ยังคงทยอยปรับประมาณการกำไรลงมาเรื่อยๆ จนล่าสุดอยู่ที่ 64.5 บาท/หุ้น อยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับที่ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินในช่วงก่อนหน้าที่ 64 บาท/หุ้น
  2. ส่วนมุมมองของฝ่ายวิจัย ASPS มีโอกาสที่จะปรับประมาณการกำไรปี 2563 อีกเป็นครั้งที่ 5 จากเดิมที่ประเมิน 6.88 แสนล้านบาท เนื่องจากหากพิจารณาภาพรวมกำไรบริษัทจดทะเบียนครึ่งปีแรก พบว่า กำไรงวด 1Q63 อยู่ที่ 1.06 แสนล้านบาท ขณะที่กำไรงวด 2Q63 อาจจะทรงตัว QoQ แต่ลดลง YoY (รายละเอียดตามบทวิเคราะห์ Invest+) หนุนช่วงครึ่งปีแรกบริษัทจดทะเบียนทำกำไรได้ราว 2 แสนล้านบาท (30% ของประมาณการปี 2563) แสดงว่าในช่วงที่เหลือของปี บริษัทจดทะเบียนจะต้องทำกำไรเกินกว่า 70% ของประมาณการ ราว 4.88 แสนล้านบาท ซึ่งต่อให้บริษัทจดทะเบียนทำกำไรตามภาวะปกติในช่วงที่เหลือของปีได้ไตรมาสละ 2 แสนล้านบาท ยังมี Downside จากประมาณการเหลืออีก 8.8 หมื่นล้านบาท กดดันให้ EPS63F มีโอกาสลดลงเหลือไม่ถึง 60 บาท/หุ้น

แม้ภาพรวมกำไรบริษัทจดทะเบียนจะไม่สดใส แต่ยังมีหุ้นอีกหลายบริษัทที่มีแนวโน้มกำไรเติบโตทั้ง QoQ และ YoY โดยเบื้องต้นฝ่ายวิจัยทำการคัดเลือกออกมี 15 บริษัทดังนี้

กลยุทธ์การลงทุนเน้น Selective Buy หุ้นที่มีแนวโน้มกำไรงวด 2Q63 เติบโตโดดเด่นทั้ง QoQ และ YoY หนุนให้กำไรทั้งปี 63 เติบโตสวนทางกับภาพรวมตลาด เลือก DCC , STGT เป็น Top Pick

RESEARCH DIVISION

บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส

เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านตลาดทุน และทางเทคนิค

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132

ภราดร เตียรณปราโมทย์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365

ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636

วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร

นักวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานด้านหลักทรัพย์

เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 110506

ภวัต ภัทราพงศ์

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!