หมวดหมู่: เศรษฐกิจทั่วไป

1.AAA A AA15


หน่วยงานภาครัฐเร่งเดินหน้าพัฒนาการบริการ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ

      สำนักงาน ก.พ.ร. จัดการประชุม เรื่อง การยกระดับประสิทธิภาพภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ เพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้ให้แก่ผู้ประกอบการภาคเอกชนทราบถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาการยกระดับประสิทธิภาพภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ซึ่งจะมีผลต่อการจัดอันดับความยาก-ง่ายในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ของประเทศไทย ตามรายงานของธนาคารโลก

         นางสาวอ้อนฟ้า เวชชาชีวะ รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ได้กล่าวว่า ภาครัฐได้มุ่งมั่นปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจของประเทศไทยให้เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ โดยใช้รายงานผลการจัดอันดับความยาก-ง่าย ในการประกอบธุรกิจที่ของธนาคารโลก หรือ Doing Business เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิรูปบริการภาครัฐ ซึ่งที่ผ่านมาอันดับของประเทศไทยปรับดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยในปีล่าสุด Doing Business 2020 ไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 6 อันดับจากอันดับที่ 27 เป็นอันดับที่ 21 จาก 190 ประเทศทั่วโลก ได้ 80.10 คะแนน สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ติดอันดับ TOP 10 ของโลก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย ในอันดับที่ 3 และด้านการขอใช้ไฟฟ้า ที่รักษาอันดับที่ 6 ของโลกได้ อีกทั้งมีการปฏิรูปการบริการภาครัฐในด้านการขออนุญาตก่อสร้าง

         นอกจากนี้ ยังมีมาตรการต่างๆ เพื่อให้การติดต่อราชการสะดวกขึ้น ทั้งการไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ทางราชการออกให้จากประชาชน การออกเอกสารหลักฐานของทางราชการผ่านระบบดิจิทัล และยังมีระบบขออนุมัติ อนุญาต แบบออนไลน์ ที่เรียกว่า Biz Portal สำหรับหาข้อมูลและยื่นคำขอให้แก่ประชาชน ผู้ประกอบการ โดยไม่ต้องแนบเอกสารนิติบุคคล และขออนุญาตพร้อมกันได้หลายใบอนุญาตในครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม การพัฒนาการบริการภาครัฐตาม Doing Business สิ่งสำคัญคือ ประชาชนที่ประโยชน์ได้รับ ภาครัฐจึงต้องร่วมมือกันในการสื่อสารสร้างความเข้าใจให้ประชาชนทราบถึงการพัฒนา ไม่ใช่เพื่อให้คะแนนประเมินดีขึ้น แต่เพื่อให้ภาครัฐตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับบริการได้ดีขึ้น ประชาชนทำมาหากินได้ง่ายขึ้น

         จากนั้น ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาการยกระดับประสิทธิภาพภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจในด้านต่างๆ ดังนี้

  • ด้านการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง โดยสำนักงานศาลยุติธรรม นำระบบการยื่นฟ้องและส่งคำคู่ความ (e-Filing) มาใช้ส่งผลให้ทนายความและประชาชนสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาศาล รวมทั้งมีการใช้กฎหมายไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ทำให้การไกล่เกลี่ยสามารถขอให้ศาลบังคับได้ ตลอดจนมีการให้บริการข้อมูล และเอกสารคดีออนไลน์ผ่านระบบบริการข้อมูลคดีศาลยุติธรรม (Case Information Online Service :CIOS) มีการกำหนดระยะเวลาปฏิบัติงานธุรการศาลชั้นต้น และมีการจัดพิมพ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นภายใน 10 วันทำการ
  • ด้านการเริ่มต้นธุรกิจและด้านการได้รับสินเชื่อ โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ที่ลดระยะเวลาในการจองชื่อนิติบุคคลเพียง 0.5 วัน โดยนำระบบ AI เข้ามาช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการตรวจสอบและแจ้งผลการอนุมัติการจองชื่อ พัฒนาระบบ e-Registration ที่ใช้งานง่ายมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง รวมขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการขึ้นทะเบียนประกันสังคม ให้สามารถดำเนินการได้ภายในขั้นตอนเดียว อีกทั้งด้านการได้รับสินเชื่อ ได้จัดทำระบบค้นหาข้อมูลหลักประกัน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการตรวจค้นข้อมูลการจดทะเบียนทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้
  • ด้านการขออนุญาตก่อสร้าง โดย กรุงเทพมหานคร ที่ชี้แจงว่าการขออนุญาตก่อสร้างไม่จำเป็นต้องมีการทดสอบคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมปฐพีของดิน (Soil test) ก่อน หากผู้ประกอบการอยากทราบข้อมูล กรมโยธาธิการและผังเมืองมีข้อมูลเหล่านี้ให้บริการทางเว็บไซต์ นอกจากนี้ในงานออกแบบและคำนวณอาคารว่าควบคุมการก่อสร้างต้องดำเนินการโดยวิศวกรต้องมีประสบการณ์ทำงาน อีกทั้งยังลดระยะเวลาออกใบรับรองการก่อสร้างอาคารขนาดเล็กให้แล้วเสร็จใน 15 วัน
  • ด้านการขอใช้ไฟฟ้า โดย การไฟฟ้านครหลวง ที่ได้มีการปรับปรุง MEASY Application เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ขอใช้ไฟฟ้าให้ตรวจสอบค่าไฟฟ้า ชำระค่าไฟฟ้า ประวัติการใช้ไฟฟ้า แจ้งเตือนค่าไฟฟ้า ประกาศดับไฟ และแจ้งไฟฟ้าขัดข้อง รวมทั้งสามารถ Upload Electronic File ที่มีขนาดใหญ่ เช่น แผนผังอาคาร และแผนผังระบบไฟฟ้าเพื่อลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ใช้ไฟฟ้า รวมทั้งการขอผ่อนชำระเงินค้ำประกัน (Security Deposit) และการเพิ่มจำนวนตัวแทนรับชำระค่าบริการการขอใช้ไฟฟ้า ตลอดจนเพิ่มจำนวนผู้ติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในเพื่ออำนวยความสะดวกในการขอใช้ไฟฟ้า
  • ด้านการขอจดทะเบียนทรัพย์สิน โดย กรมที่ดิน ได้ลดระยะเวลา ลดขั้นตอนการจดทะเบียนทรัพย์สินด้วยการยกเลิกการขอสำเนาเอกสาร โดยดำเนินการทุกสำนักงานที่ดินทั่วประเทศ รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลสถิติคดีพิพาทที่ดำเนินการในศาลยุติธรรมและศาลปกครอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 – 2562 และเชื่อมโยงข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Zoning Layer) และผังเมืองในพื้นที่ทั่วประเทศไทย ผ่าน LandsMaps Application และเปิดบริการระบบการคำนวณภาษีอากร ได้แก่ ค่าธรรมเนียม และภาษีอากร
  • ด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ดำเนินการเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนแยกประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ออกจากกัน และจัดทำรายงานผลการจัดอันดับด้านการคุ้มครองผู้ลงทุนเสียงข้างน้อย ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และข้อสรุปในรายละเอียด โดยแจ้งหน่วยงานต่าง ๆ และผู้ตอบแบบสอบถามของธนาคารโลก พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูลในเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.ล.ต.
  • ด้านการชำระภาษี โดย กรมสรรพากร และสำนักงานประกันสังคม ที่กรมสรรพากรได้ลดระยะเวลาด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถจัดทำเเละนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เเละใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ผ่านช่องทางการ Upload, Service Provider เเละ Host to Host รวมทั้งลดระยะเวลาด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยการปรับปรุงเเบบ ภ.ง.ด. 50 ให้กรอกได้ง่ายขึ้น และลดระยะเวลาภาษีเงินได้นิติบุคคล เเละภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการยื่นแบบภาษีออนไลน์ (e-Filing) ในส่วนการชำระเงินสมทบ สำนักงานประกันสังคมได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ขยายระยะเวลาการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ e-Payment ออกไปอีก 7 วัน รวมทั้งให้บริการรับชำระเงินสมทบผ่าน e-Payment โดยมีธนาคาร หน่วยบริการร่วมให้บริการ และรับชำระเงินกองทุนเงินทดแทนผ่าน e-Payment ร่วมกับธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  • ด้านการค้าระหว่างประเทศ โดย กรมศุลกากร ได้ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการในการนำสินค้าเข้าด้วยกระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ผู้ประกอบการสามารถรับสินค้าได้ทันที รวมทั้งพัฒนาระบบรับชำระผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) โดยพิมพ์ใบเสร็จรับชำระเงินได้ด้วยตนเองผ่านระบบ e-Tracking ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ มีช่องทางในการชำระเงินที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ Internet Banking Mobile Banking ATM เคาน์เตอร์ธนาคาร และการยกเลิกสำเนาใบขนสินค้าในการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า–ส่งออก
  •       ไม่เรียกและไม่รับสำเนาใบขนสินค้าที่มีอยู่ในระบบ e-Customs จากผู้ประกอบการ ผู้มาติดต่อ ส่งผลให้สามารถลดสำเนาใบขนสินค้า (กระดาษ) ที่ต้องพิมพ์ ปีละประมาณ 60 ล้านแผ่น และลดค่าใช้จ่ายกระดาษได้ไม่น้อยกว่าปีละประมาณ 30 ล้านบาท ตลอดจนมีมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพแฟ้มบริหารความเสี่ยงเพื่อลดอัตราการเปิดตรวจ การเพิ่มเครื่องเอกซเรย์แบบขับผ่าน สำหรับการตรวจสอบตู้คอนเทนเนอร์สินค้าด้วย รถสามารถขับผ่านอุโมงค์โดยไม่ต้องหยุด ช่วยลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการ
  • ด้านการแก้ปัญหาการล้มละลาย โดย กรมบังคับคดี ที่ได้พิจารณาเสนอร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อถ่ายโอนอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้แก่ภาคเอกชน โดยมีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของกรมบังคับคดีเป็นผู้กำกับดูแล ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กระบวนการบังคับคดีล้มละลายมากยิ่งขึ้น และขยายการเชื่อมโยงข้อมูลการล้มละลายกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรวบรวมทรัพย์สิน และข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ และตรวจสอบยืนยันข้อมูลบุคคลล้มละลาย ความสามารถในการทำนิติกรรมของลูกค้า และลูกหนี้

      นอกจากนี้ ยังมีการชี้แจงด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดย กรมทางหลวง ซึ่งใน  2021 จะมีการประเมินด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งจะพิจารณาจากกระบวนการทำสัญญากับภาครัฐ รวมถึงระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญากับภาครัฐ โดยใช้กระบวนการซ่อมบำรุงผิวทางเป็นสมมติฐานการประเมิน

     จากนั้น คุณเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้กล่าวว่า ธนาคารโลกมีบทบาทเป็นผู้ประสานระหว่างภาครัฐและเอกชนผ่านการสื่อสารสร้างความเข้าใจในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ โดยให้ความสำคัญกับการที่ภาครัฐรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน ภาคเอกชนก็ให้ความร่วมมือและสร้างความเข้าใจกับภาครัฐ ในส่วนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการอย่าง e-Filing และ e-Service มีส่วนสำคัญที่ทำให้อันดับและคะแนนดีขึ้น และการจัดงานในวันนี้เป็นการเริ่มต้นที่ดีในการสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐและเอกชน

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!