หมวดหมู่: มติ ครม.

GOV7


การขอปรับโครงสร้างกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (กองทุนย่อยกองที่ 1)

      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโดยยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2557 [เรื่อง การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (SMEs Private Equity Trust Fund)] และคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีดังล่าว ยกเว้นกองทุนย่อยกองที่ 1 ที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ได้จัดตั้งแล้ว ให้ดำเนินการต่อไป โดยปรับปรุงโครงสร้างและหลักการกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (กองทุนย่อยกองที่ 1) ให้ลงทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs)/ วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)  ที่มีศักยภาพสูงหรือที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือให้บริการ หรืออยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ต้องเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้ โดยร่วมลงทุนได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อรายและร่วมลงทุนแต่ละรายไม่เกินร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนของกิจการ  และให้มีคณะกรรมการพิจารณานโยบายการลงทุนทำหน้าที่กำหนดกรอบนโยบายการลงทุนและกำกับดูแลการลงทุนของกองทุน

สาระสำคัญของเรื่อง

  1.       เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (16 ธันวาคม 2557) เห็นชอบการจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (SMEs Private Equity Trust Fund) ซึ่งมีลักษณะเป็นกองทุนเปิดประเภททรัสต์ และเป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ขนาดของกองทุน 10,000-25,000 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนการร่วมลงทุนจากภาครัฐ ร้อยละ 10-50 ส่วนที่เหลือเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนไทยเข้าร่วมลงทุน โดยจะแบ่งการลงทุนเป็นกองทุนย่อย และเรียกระดมทุนครั้งละไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ต่อกองทุนย่อย และกองทุนย่อยแต่ละกองทุนจะมีนโยบายในการลงทุนตามแต่ละประเทท/กลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพในการเติบโตทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นหลัก และมีคณะกรรมการกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs

      ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังเป็นผู้กำหนดนโยบายการบริหารงานของกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs โดยแหล่งเงินลงทุนในส่วนของภาครัฐ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ในฐานะภาครัฐเป็นผู้ลงทุนเริ่มแรกเป็นจำนวน 500 ล้านบาท ซึ่งต่อมา ธพว. ได้จัดตั้งกองทุนย่อยกองที่ 1 วงเงิน 500 ล้านบาท (ธพว. 490 ล้านบาท และบริษัท ไทยเอชแคปปิตอล 10 ล้านบาท) เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 มีจำนวนกิจการที่ผ่านการอนุมัติร่วมลงทุนแล้ว จำนวน 8 กิจการ วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 98 ล้านบาท และมีกิจการที่ได้ร่วมลงทุนแล้ว 2 กิจการ วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 39 ล้านบาท

  1.        จากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่ปลายปี 2558 ธพว. พบว่า หลักการการจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs ที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น มีข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานของ ธพว. ดังนี้ 1) การกำหนดวงเงินลงทุนหรือสัดส่วนการลงทุนสำหรับ SMEs แต่ละรายขาดความยืดหยุ่นและไม่เป็นไปตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้บางกิจการที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าหรือน้อยกว่าที่กำหนด หรือกรณีที่มีผู้ถือหุ้นไม่เป็นไปตามสัดส่วนการลงทุนที่ได้กำหนดไว้ จะไม่สามารถเข้าร่วมลงทุนได้
  2.        2) ผู้จัดการทรัพย์สินหรือ/ผู้จัดการทรัสต์จะคัดเลือกเฉพาะกิจการที่ได้ผลตอบแทนดีหรือคัดเลือกตามที่ผู้จัดการทรัสต์สนใจ  กิจการที่ดีแต่ไม่อยู่ในความสนใจจึงไม่ถูกคัดเลือกมานำเสนอ 3) การบริหารจัดการกองทุนขาดความคล่องตัวในการบริหารจัดการกองทุน นอกจากนี้  หากพิจารณาถึงผลการดำเนินงานของกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs  (กองทุนย่อยที่ 1) วงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบันมีการร่วมลงทุนในกิจการ SMEs เพียง 2 กิจการ รวมเป็นวงเงินทั้งสิ้น 39 ล้านบาท อีกทั้ง หากเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนย่อยกองที่ 1 กับกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs อื่น ซึ่งจัดตั้งโดยสถาบันการเงินอื่นๆ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) จะเห็นได้ว่าหลักการลงทุนมีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับเป้าหมายมากกว่า จึงมี SMEs ที่ได้เข้าร่วมลงทุนค่อนข้างมาก
  3.       ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานของ ธพว. และเพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมีโอกาสได้รับการสนับสนุนการลงทุนเพิ่มขึ้น ในครั้งนี้ กระทรวงการคลังจึงขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีโดยยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2557  [เรื่อง การจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (SMEs Private Equity Trust Fund) และคณะกรรมการที่แต่งตั้งตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ยกเว้นกองทุนย่อยกองที่ 1 ที่ ธพว. ได้จัดตั้งแล้ว วงเงิน 500 ล้านบาท ให้ดำเนินการต่อไป  โดยปรับปรุงโครงสร้างและหลักการกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs (กองทุนย่อยกองที่ 1) ให้มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุน  และรูปแบบกองทุนให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับการร่วมลงทุนในปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย  (คณะกรรมการฯ) ได้มีมติเห็นชอบปรับโครงสร้างกองทุนย่อยกองที่ 1 ดังกล่าวแล้ว  ในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 25/2562 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2562 โดยสรุปการปรับปรุงโครงสร้างและหลักการกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs  (กองทุนย่อยกองที่ 1) ได้ ดังนี้

โครงสร้าง               หลักการกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2557      

หลักการกองทุนร่วมลงทุนในกิจการ SMEs ที่ปรับปรุงใหม่

การบริหารจัดการกองทุน 

       โดยคณะกรรมการบริหารกองทุน ประกอบด้วย 2 คณะ ได้แก่ 1) คณะกรรมการพิจารณานโยบายการลงทุน (Investment Committee) ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก SMEs

2) คณะกรรมการผู้ให้คำปรึกษาวิสาหกิจร่วมทุน (Advisory Committee) สำหรับแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมหรือประเภทกิจการที่เกี่ยวข้อง     

     โดยคณะกรรมการพิจารณานโยบายการลงทุน (Investment Committee) ทำหน้าที่กำหนดกรอบนโยบายลงทุนและกำกับดูแลการลงทุนของกองทรัสต์

     กิจการเป้าหมายและวงเงินลงทุนสำหรับ SMEs แต่ละราย 1) SMEs ระยะเริ่มต้น (Seed & Start-Up Stage) เงินลงทุนแรกเริ่มไม่ควรเกิน 5 ล้านบาทต่อรายหรือมีสัดส่วนการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 แต่ไม่เกินร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน

2) SMEs ขนาดเล็กและขนาดกลาง (Second & Third Stage) เงินลงทุนแรกเริ่มไม่ควรเกิน 30 ล้านบาทต่อรายหรือมีสัดส่วนการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 แต่ไม่เกินร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียน  

1) ลงทุนใน SMEs หรือ Startup ที่มีศักยภาพสูงหรือใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิตหรือให้บริการหรืออยู่ในกลุ่มธุรกิจที่มีประโยชน์ต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ และต้องเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตได้

2) ร่วมลงทุนได้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อราย

คุณสมบัติและหน้าที่ของผู้จัดการทรัพย์สิน (Asset Manager)          

1) เป็นนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย

2) มีส่วนร่วมลงทุนใน SMEs ที่ดูแล อย่างน้อยร้อยละ 5

3) มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ด้านการเงินและการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ รวมถึงความรู้ความเข้าใจในการบริหารธุรกิจ และกำกับให้ SMEs ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ

4) ช่วยดูแลควบคุมการนำเงินร่วมลงทุนที่ SMEs ได้รับไปใช้อย่างถูกต้อง ตามวัตถุประสงค์การลงทุน

5) กำกับดูแล SMEs ในการบริหารจัดการธุรกิจและระบบควบคุมภายในให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีทั่วไป

6) ช่วยจัดหาแหล่งเงินทุนในรูปแบบเงินทุนหรือเงินกู้เพิ่มเติมให้แก่กิจการตามความเหมาะสม       

1) เป็นนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย

2) มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ด้านการเงิน หรือการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจในการบริหารธุรกิจและสามารถกำกับให้ SMEs ดำเนินธุรกิจ ด้วยความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ

3) ดูแลควบคุมการนำเงินร่วมลงทุนที่ SMEs ได้รับไปใช้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์การลงทุน

4) กำกับดูแล SMEs ในการบริหารจัดการธุรกิจและระบบควบคุมภายใน ให้เป็นไปตามมาตรฐานบัญชีทั่วไป

สัดส่วนการร่วมลงทุน       ร่วมลงทุนแต่ละรายไม่เกินร้อยละ 49 ของทุน

จดทะเบียนของกิจการ     ร่วมลงทุนแต่ละรายไม่เกินร้อยละ 49 ของทุนจดทะเบียนของกิจการ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี)  24 มีนาคม 2563

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!